บทความ: ฟุกุชิมะแผนการทิ้งน้ำกัมมันตภาพรังสี

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับแผนการจัดการและผลกระทบเนื่องจากการทิ้งน้ำปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีที่บำบัดแล้วจากโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิ ของบริษัทโตเกียวอิเล็กทริกเพาเวอร์ (TEPCO) ลงทะเล ซึ่งรัฐบาลญี่ปุ่นประกาศยืนยันเมื่อวันที่ ๑๓ เมษายน ค.ศ. ๒๐๒๑ ว่ามีแผนจะปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีกว่า ๑ ล้านตันที่ผ่านการบำบัดแล้วจากโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะไดอิชิ ลงสู่ทะเล ท่ามกลางความวิตกกังวลจากประเทศเพื่อนบ้านและกระแสคัดค้านอย่างรุนแรงจากชุมชนชาวประมงในท้องถิ่น การระบายน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีที่บำบัดแล้วนี้อาจเริ่มต้นในอีกหลายปีข้างหน้า และต้องใช้เวลานานนับสิบๆ ปีกว่าจะแล้วเสร็จ แต่ก็เรียกเสียงวิจารณ์ดังกระหึ่มจากทั้งในและนอกประเทศ รัฐบาลญี่ปุ่นอ้างว่าการปล่อยน้ำเหล่านี้ออกสู่ธรรมชาติมีความปลอดภัย เนื่องจากผ่านการบำบัดและขจัดสารกัมมันตรังสีออกเกือบหมด และเมื่อลงสู่มหาสมุทรก็จะยิ่งเจือจางลงไปอีก ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) โดย นายราฟาเอล มาริอาโน กรอสซี ผู้อำนวยการใหญ่ ได้ประกาศรับรองการปล่อยน้ำออกจากโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะไดอิชิ พร้อมยืนยันว่าโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แห่งอื่นๆ ในโลกก็มีกระบวนการกำจัดน้ำเสียที่ไม่แตกต่างกัน นายกรัฐมนตรี โยชิฮิเดะ ซูงะ แห่งญี่ปุ่นกล่าวต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีว่าการปล่อยน้ำออกจากโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะ“เป็นภารกิจที่หลีกเลี่ยงไม่ได้” และต้องใช้เวลาอีกหลายสิบปีกว่าจะปิดโรงไฟฟ้าแห่งนี้ลงอย่างถาวร โดยการปล่อยน้ำปนเปื้อนที่บำบัดแล้วจากโรงไฟฟ้าจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ “มั่นใจว่ามีความปลอดภัย” และต้องทำควบคู่ไปกับมาตรการ “ปกป้องชื่อเสียงของประเทศ”

ฟุกุชิมะ_ การระบายน้ำปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีที่บำบัดแล้วลงสู่ทะเล

ข่าวสารเพิ่มเติม