1905 : ปีทองของไอน์สไตน์ ปีทองของฟิสิกส์

ค.ศ. 1905 : ปีทองของไอน์สไตน์
ปีทองของฟิสิกส์

ระหว่างปี ค.ศ. 1902-1909 ไอน์สไตน์ทำงานอยู่ที่สำนักงานจดสิทธิบัตร (Patent Office) ที่กรุงเบิร์น (Bern) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ขณะเดียวกันได้ทำงานวิจัยทาง Theoretical Physics ส่งผลงานไปลงตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ของเยอรมัน ชื่อ Zeitschrift der Physik อย่างสม่ำเสมอ

ค.ศ.1905 ได้รับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยซูริค สวิตเซอร์แลนด์ โดยทำวิทยานิพนธ์เรื่อง “On a New Determination of Molecular Dimensions” และได้เขียนกิตติกรรมประกาศ ยกย่องคุณความดี ให้กับครอบครัวของ Grossmann โดย Grossmann (พ่อ) เป็นผู้ช่วยเหลือให้ทำงานในสำนักงานจดสิทธิบัตร และ Marcel Grossmann (ลูก) เป็นเพื่อนนักศึกษาที่ใกล้ชิดกันมากที่สุด ค.ศ. 1905 ไอน์สไตน์มีผลงานตีพิมพ์ที่สำคัญอยู่ 3 เรื่อง ดังนี้

ผลงานตีพิมพ์เรื่องที่ 1
The Quantum Law of Emission and Absorption of Light” หรือที่เรียกกันว่าทฤษฎี โฟตอน (Photon Theory) เป็นการอธิบายสนับสนุนสมมติฐานควอนตัมของ Max Planck เกี่ยวกับพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า ที่ถูกส่งออกมาจากวัตถุ ในปริมาณที่แน่นอน และแปรผันตรงกับความถี่ของคลื่น นำสู่สมการ

E = hv
โดย
E เป็นพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า (J)
h เป็นค่าคงที่ของพลังค์ (Planck’s constant = 6.626 x 10-34 J s)
v เป็นความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (s-1)
ผลงานนี้คือเรื่อง Photoelectric Effect ทำให้ ไอน์สไตน์ ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์
ผลงานตีพิมพ์เรื่องที่ 2
On the Electrodynamics of Moving Bodies” หรือที่รู้จักกันอย่างดีในชื่อของ ทฤษฎีสัมพันธภาพพิเศษ (The Special Theory of Relativity) เป็นการรวมกลศาสตร์ดั้งเดิมเข้ากับ electrodynamics ของ Clark Maxwell โดยกล่าวถึงการเคลื่อนที่ของสิ่งต่างๆ ในมิติของเวลา, สถานที่ และทิศทาง ต่อมาได้กล่าวถึงมวลสารที่สามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานได้ และพลังงานก็สามารถเปลี่ยนเป็นมวลสารได้ หรือมวลสารกับพลังงาน คือ สิ่งเดียวกัน (mass and energy equivalent) ดังสมการที่ลือชื่อคือ
E = mc2
เมื่อ
E เป็น พลังงาน
m คือ มวลที่มีหน่วยเป็นกรัม
c คือ ความเร็วของแสง มีหน่วยเป็นเซนติเมตรต่อวินาที
ผลงานตีพิมพ์เรื่องที่ 3
เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับกลศาสตร์เชิงสถิติ (Statistical Mechanics) จากการอธิบายเพิ่มเติมผลงานของ Ludwig Bolzmann และ Josiah Gibbs
ข่าวสารเพิ่มเติม