แหล่งแร่ยูเรเนียม

แหล่งแร่ยูเรเนียม

  • ยูเรเนียมเป็นธาตุโลหะปกติธรรมดาชนิดหนึ่ง พบได้ในหินและน้ำทะเล แต่ความเข้มข้นระดับที่นำมาใช้ทางเศรษฐกิจนั้นจะสูงกว่าปกติ
  • การนำยูเรเนียมมาใช้เพื่อตอบสนองความต้องการพลังงานของโลกนั้น มีความเหมาะสมทั้งในแง่ธรณีวิทยาและเทคโนโลยีที่นำมาใช้
  • ปริมาณสำรองของแหล่งแร่มีมากกว่าที่เราเห็น
ยูเรเนียมเป็นธาตุที่พบได้ทั่วไปบนโลก เป็นโลหะธรรมดา เช่นเดียวกับ ดีบุกหรือสังกะสี เป็นองค์ประกอบของหินส่วนใหญ่และน้ำทะเล ความเข้มข้น (ppm = parts per million) ในแหล่งต่างๆ ได้แก่

แร่เกรดสูงมาก (แคนาดา)  – 20% U, 200,000 ppm U
แร่เกรดสูง – 2% U, 20,000 ppm U
แร่เกรดต่ำ – 0.1% U, 1,000 ppm U
แร่เกรดต่ำมาก (นามิเบีย) – 0.01% U, 100 ppm U
หินแกรนิต 4 – 5 ppm U
หินตะกอน 2 ppm U
บนผิวโลก (เฉลี่ย) 2.8 ppm U
ในน้ำทะเล 0.003 ppm U
สินแร่ คือ แร่หรือโลหะที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ ที่มีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจที่จะสกัดออกมา ซึ่งต้องคำนึงถึงต้นทุนในการสกัดแยกออกมาและราคาตลาด ปัจจุบันน้ำทะเลและหินแกรนิตยังไม่นับเป็นสินแร่ยูเรเนียม แต่มีความเป็นไปได้ถ้าราคาสูงขึ้นมากพอ

การประเมินแหล่งแร่ยูเรเนียม จะต้องทราบปริมาณสินแร่เพื่อให้คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ และการเปรียบเทียบการลงทุนต่อผลตอบแทน รวมทั้งยังขึ้นกับผลการสำรวจก่อนหน้านั้น

การเปลี่ยนแปลงของต้นทุน ราคา หรือข้อมูลผลการสำรวจที่เพิ่มขึ้น ล้วนส่งผลต่อการประเมินทรัพยากรแหล่งแร่ ถ้าราคาของยูเรเนียมสูงกว่าปัจจุบันอีก 10 เท่า น้ำทะเลอาจจะกลายเป็นแหล่งแร่ยูเรเนียมขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพ ดังนั้น การคาดการณ์ถึงอนาคตของแหล่งแร่ทุกชนิด รวมทั้งยูเรเนียม ซึ่งใช้พื้นฐานของต้นทุนและราคาตลาด รวมทั้งข้อมูลความรู้ทางธรณีวิทยา ในปัจจุบัน จึงดูเหมือนจะเป็นวิธีการที่ค่อนข้างโบราณ

เมื่อเวลาเปลี่ยนไป ปัจจัยที่เกี่ยวข้องก็มีการเปลี่ยนแปลง ทำให้แหล่งทรัพยากรที่ทราบข้อมูลแล้ว อาจจะไม่เพียงพอ ถ้าอัตราการใช้เพิ่มสูงมากขึ้น

แหล่งแร่ยูเรเนียม (Uranium availability)

จากการแบ่งคุณภาพของยูเรเนียมในตารางด้านบน เราสามารถแสดงปริมาณของแหล่งแร่ยูเรเนียมจากข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน ได้ดังตารางด้านล่าง ซึ่งจะเห็นว่าประเทศออสเตรเลียนั้นเป็นแหล่งใหญ่ มีสัดส่วนของแหล่งแร่ยูเรเนียม 24% ของโลก ขณะที่คาซัคสถานมี 17% และแคนาดา 9%

แหล่งแร่ยูเรเนียมที่ทราบปริมาณและคุ้มค่าต่อการลงทุน

ประเทศ 

ยูเรเนียม (ตัน)

% ของโลก

ออสเตรเลีย

1,143,000

24%

คาซัคสถาน

816,000

17%

แคนาดา

444,000

9%

สหรัฐอเมริกา

342,000

7%

แอฟริกาใต้

341,000

7%

นามิเบีย

282,000

6%

บราซิล

279,000

6%

ไนเจอร์

225,000

5%

รัสเซีย

172,000

4%

อุซเบกิสถาน

116,000

2%

ยูเครน

90,000

2%

จอร์แดน

79,000

2%

อินเดีย

67,000

1%

จีน

60,000

1%

อื่นๆ

287,000

6%

รวม

4,743,000

Reasonably Assured Resources plus Inferred Resources, to US$ 130/kg U, 1/1/05, from OECD NEA & IAEA, Uranium 2005: Resources, Production and Demand (“Red Book”).

หมายเหตุ: ผลการสำรวจในเดือนสิงหาคม ปี 2007 แหล่งแร่ของยูเรเนียมของออสเตรเลียได้เพิ่มขึ้นเป็น 1,558,000 ตัน ประเทศอื่นๆ ก็มีค่าเพิ่มขึ้นเช่นกัน แต่รานยงานยังไม่ได้รับการตีพิมพ์

 

 

ปัจจุบันมีการใช้ยูเรเนียมประมาณ 66,550 ตันต่อปี (tU/yr) ขณะที่ผลการสำรวจแหล่งแร่ยูเรเนียมอยู่ที่ 4.7 ล้านตัน ซึ่งจะเพียงพอต่อการใช้กับเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบปกติที่ใช้ในปัจจุบันได้ประมาณ 70 ปี ตัวเลขที่ได้นี้ คำนวณด้วยพื้นฐานของแหล่งแร่ยูเรเนียมที่ทราบข้อมูลแล้ว ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลง ถ้ามีการสำรวจเพิ่มขึ้นหรือแร่มีราคาสูงขึ้น

ระหว่างปี 1985 ถึง 2005 มีการสำรวจแหล่งแร่ยูเรเนียมน้อยมาก ดังนั้น ถ้ามีการสำรวจอย่างจริงจัง เราอาจจะได้ข้อมูลของแหล่งแร่ที่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า และถ้าเปรียบเทียบด้วยพื้นฐานเดียวกับแร่โลหะชนิดอื่น ถ้าราคาเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ปริมาณของแหล่งสำรองจะเพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่า

ปัจจุบันมีการใช้ยูเรเนียมประมาณ 66,550 ตันต่อปี (tU/yr) ขณะที่ผลการสำรวจแหล่งแร่ยูเรเนียมอยู่ที่ 4.7 ล้านตัน ซึ่งจะเพียงพอต่อการใช้กับเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบปกติที่ใช้ในปัจจุบันได้ประมาณ 70 ปี ตัวเลขที่ได้นี้ คำนวณด้วยพื้นฐานของแหล่งแร่ยูเรเนียมที่ทราบข้อมูลแล้ว ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลง ถ้ามีการสำรวจเพิ่มขึ้นหรือแร่มีราคาสูงขึ้น

ระหว่างปี 1985 ถึง 2005 มีการสำรวจแหล่งแร่ยูเรเนียมน้อยมาก ดังนั้น ถ้ามีการสำรวจอย่างจริงจัง เราอาจจะได้ข้อมูลของแหล่งแร่ที่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า และถ้าเปรียบเทียบด้วยพื้นฐานเดียวกับแร่โลหะชนิดอื่น ถ้าราคาเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ปริมาณของแหล่งสำรองจะเพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่า

 

ข่าวสารเพิ่มเติม