อุปกรณ์วัดรังสีภายหลังอุบัติภัยที่ญี่ปุ่น

อุปกรณ์วัดรังสีภายหลังอุบัติภัยที่ญี่ปุ่น

RDTX pro เครื่องวัดรังสีแบบมือถือสำหรับใช้กับ iPod และ iPhone

RDTX pro จะทำให้ผู้ใช้สามารถวัดระดับรังสีด้วย iPod หรือ iPhone และทำให้สามารถรักษาสวัสดิภาพของตนเองได้ เครื่องวัดเป็นแบบ Solid-state ทำให้มีความเสถียรในการวัดรังสีแกมมา ในการใช้งานไม่จำเป็นต้องปรับเทียบ ใช้งานง่าย น้ำหนักเบาและมีขนาดเล็ก แบตเตอรี 1 ก้อน สามารถใช้งานได้นาน 96 ชั่วโมง แต่ไม่จำเป็นต้องใช้แบตเตอรีถ้านำไปติดตั้งร่วมกับ iPhone หรือ iPod หน้าจอแสดงผลที่อ่านระดับรังสีได้ง่าย ว่ารังสีอยู่ในระดับที่ปลอดภัย มีค่าสูงขึ้น หรืออันตราย ถ้าต้องรายละเอียดมากขึ้น หน้าจอแบบดิจิตอลจะแสดงรายละเอียดของการวัดรังสี ส่งผลการวัดให้เพื่อนในกลุ่ม หรือเชื่อมต่อเพื่อให้ควบคุมและป้องกันได้ทั่วโลก RDTX pro สามารถใช้แบบเครื่องเดี่ยวสำหรับเป็นเครื่องเตือนระดับรังสีสำหรับเราและครอบครัว โดยไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อกับ iPod หรือ iPhone ก็ได้

จอแสดงผลแบบมิเตอร์

  • ใช้งานง่าย แสดงระดับรังสีได้ชัดเจน
  • มีแถบสีเขียวเพื่อแสดงว่าปลอดภัย
  • สีเหลืองแสดงว่ามีระดับรังสีสูงกว่าปกติ
  • สีแดงแสดงว่ารังสีอยู่ในระดับอันตราย

จอแสดงผลแบบดิจิตอล

  • แสดงรายละเอียดผลการวัด
  • แสดงจำนวนค่านับวัดรังสีต่อนาที (CPM)
  • ตั้งเวลาวัดได้ – ตั้งค่านับวัดได้
  • แสดงปริมาณรังสีในหน่วยไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง (uSV/h)
  • แสดงค่าเฉลี่ยของปริมาณรังสีตั้งแต่เริ่ม reset

การเชื่อมต่อเพื่อแบ่งปันข้อมูล

  • สามารถวางตำแหน่งที่ทำการวัดบนแผนที่เพื่อรายงานระดับรังสี
  • สามารถแบ่งปันข้อมูลโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ (social media) เช่น Twitter, Facebook
  • ให้ผลการวัดปริมาณรังสีที่แม่นยำ ทำให้ผู้ใช้ได้รับความปลอดภัย

คุณสมบัติของเครื่องวัด

  • วัดปริมาณรังสีได้ตั้งแต่ 0.01 uSV/hr – 10,000 uSv/Hr
  • วัดรังสีแกมมาพลังงาน 60 keV ขึ้นไป
  • ความเที่ยงตรง +/- 5% (เทียบกับต้นกำเนิดรังสี Cs=137)
  • การใช้ไฟ : ใช้แบตเตอรี 1.5V AA หรือ iPhone (ไม่จำเป็นต้องใช้แบตเตอรีเมื่อต่อกับ iPhone)
  • อายุการใช้งานแบตเตอรี 96 ชั่วโมง

Aircounter เครื่องวัดรังสีขนาดเล็กของญี่ปุ่น

อุบัติเหตุทางนิวเคลียร์ที่ฟุกุชิมายังไม่จบลง และเครื่องวัดรังสีส่วนใหญ่ก็มีราคาสูงและมีจำหน่ายเฉพาะในร้านบางแห่งเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ S.T. Corp ซึ่งเป็นบริษัทด้านเคมีภัณฑ์ของญี่ปุ่นจึงมีแนวคิดที่จะนำ Aircounter ออกวางตลาด

อุปกรณ์ชิ้นนี้พัฒนาขึ้นโดย Tokyo Metropolitan University ซึ่งเป็นเครื่องวัดรังสีแบบมือถือที่มีราคาถูกลง ดูดีขึ้น และใช้งานได้ง่ายกว่าเครื่องงัดรังสีส่วนใหญ่

บริษัท S.T. ใช้ช่องทางจำหน่ายที่มีอยู่เดิมของบริษัท เช่น ร้านขายยาและตัวแทนจำหน่าย เพื่อให้เข้าถึงผู้ซื้อได้ง่าย (ธุรกิจหลักของบริษัทคือการจำหน่ายน้ำยาดับกลิ่น) โดยจะเริ่มวางจำหน่ายวันที่ 20 ตุลาคม ซึ่งคาดว่า Aircounter จะขายได้ประมาณ $190 โดยมีราคาถูกกว่าเครื่องวัดรังสีทั่วไป ประมาณ 50%

อุปกรณ์ชิ้นนี้สามารถวัดระดับรังสีได้ระหว่าง 0.05 ถึง 9.99 ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง (microsieverts per hour) ที่ความสูงจากพื้น 1 เมตร (กระบวนการวัดจะใช้เวลาประมาณ 10 นาที) โดยมีขนาด 82?62?34 mm (จอ LCD มีขนาด 40mm?25mm) มีน้ำหนัก 105g ใช้ถ่าน AAA ซึ่งจะใช้ได้นาน ประมาณ 1 เดือน เมื่อใช้งานวันละชั่วโมง

บริษัท S.T. คาดว่าถึงสิ้นปีจะจำหน่าย Aircounters ในญี่ปุ่นได้ประมาณ 50,000 เครื่อง

นักวิจัยญี่ปุ่นพัฒนาพลาสติกวัดรังสีราคาถูก

นักวิจัยได้พัฒนาพลาสติกที่ไวต่อรังสีและคุณสมบัติในการเรืองแสงของพลาสติกมาใช้ในการวัดรังสี การค้นพบนี้จะทำให้สามารถลดต้นทุน และทำให้สามารถทำเครื่องวัดรังสีราคาถูกที่ใช้ได้สำหรับทุกคน

นักวิจัยญี่ปุ่นได้ผลิตวัสดุวัดรังสีราคาถูก ทำจากพลาสติกเรซินแบบเดียวกับขวดบรรจุน้ำดื่ม เพื่อรองรับกับความต้องการอุปกรณ์วัดรังสีที่เพิ่มมากขึ้นของญี่ปุ่น ภายหลังจากเกิดแผ่นดินไหวและสึนามิ ทำให้เกิดการสูญเสียทางนิวเคลียร์มากที่สุดในรอบ 25 ปี

ที่วัดรังสีแบบนี้ผลิตโดย Hidehito Nakamura ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จากมหาวิทยาลัยเกียวโต ร่วมกับบริษัท Teijin Chemicals Ltd ทำให้ที่วัดรังสีแบบนี้มีราคาถูกลง 90% Toru Ishii ผู้จัดการฝ่ายขายของบริษัท Teijin กล่าวว่า “เราตั้งเป้าจะผลิตออกมาภายในปลายเดือนกันยายน เพื่อตอบสนองต่อความต้องการอุปกรณ์วัดรังสีที่เพิ่มขึ้น ภายหลังจากแผ่นดินไหวเมื่อเดือนมีนาคม” Nakamura ได้ประดิษฐ์ “Scintirex,” ซึ่งเป็นพลาสติกเรซินที่เรืองแสงเมื่อได้รับรังสี เรซินจึงทำหน้าที่ตรวจรับรังสีในการวัดรังสี

Dr. Hidehito Nakamura กับ Dr. Sentaro Takahashi จากสถาบันเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ของมหาวิทยาลัยเกียวโต Dr. Yoshiyuki Shirakawa จาก National Institute of Radiological Sciences และ Mr. Hisayoshi Shimizu จาก Teijin Chemicals ประสบความสำเร็จในการพัฒนาพลาสติกที่ไวต่อรังสี โดยใช้เครื่องหมายการค้าว่า “Scintirex” ซึ่งมีราคาต่ำกว่าเครื่องวัดรังสีประมาณ 10 เท่า อุปกรณ์ชิ้นใหม่นี้ดีกว่าพลาสติกเรืองแสง (plastic scintillator) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในเครื่องวัดรังสี ที่มีการใช้ทั่วไปในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

วัสดุชนิดใหม่นี้ คาดว่าจะลดต้นทุนลงไปมาก ซึ่งจะเป็นการรองรับความต้องการอุปกรณ์วัดรังสีประจำตัวบุคคลที่เพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งความต้องการเครื่องวัดรังสีแบบพกพาสำหรับทางพาณิชย์และสำหรับทางการ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของบริษัท Teijin คาดว่าส่วนตรวจรับรังสี จะพร้อมสำหรับส่งให้กับหน่วยงานของรัฐและบริษัท ในต้นเดือนกันยายน ด้วยราคาประมาณ 10,000 เยน ($130) ซึ่งต่ำกว่าวัสดุที่ใช้ในปัจจุบันประมาณ 10 เท่า

“Scintirex” ทำจากพลาสติก PET แบบเดียวกับขวดบรรจุน้ำดื่ม เพื่อให้มีความแข็งแรง ยืดหยุ่นและมีราคาถูก โดยผสมกับพลาสติกเรืองแสง (Plastic Scintillators) ซึ่งปัจจุบันญี่ปุ่นนำเข้ามาจาก Saint-Gobain ประเทศฝรั่งเศสเป็นส่วนใหญ่

พลาสติกเรซินชนิดใหม่ที่นักวิจัยพัฒนาขึ้นนี้ จะเปล่งแสงออกมาเมื่อได้รับรังสี โดยเรซินจะเป็นตัวตรวจจับในเครื่องวัด ทำให้แสดงปริมารรังสีออกมาได้ พลาสติกแบบใหม่นี้พัฒนามาจากขวดพลาสติกแบบเพท (PET) โดยรวมคุณสมบัติด้านความแข็งแรง ความยืดหยุ่นและราคาถูกของพลาสติกแบบ PET เข้ากับพลาสติกเรืองแสงที่ไวต่อรังสี ซึ่งปัจจุบันญี่ปุ่นนำเข้าจาก Saint-Gobainของประเทศฝรั่งเศส

มหาวิทยาลัยเกียวโตได้รายงานว่า ตัววัดรังสีนี้จะเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่มีส่วนสำคัญ ในการสนับสนุนต่อการบริหารจัดการด้านรังสี ในอุตสาหกรรมของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และการจัดการปนเปื้อนสารรังสีในพื้นที่ห่างไกล รวมทั้งการบริหารจัดการด้านรังสี ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั่วโลก นักวิจัยคาดว่าตัววัดรังสีนี้จะไม่ได้มีการใช้ฌพาะในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ แต่จะมีการใช้ในหน่วยงานด้านรังสี (รมถึงโรงพยาบาล) อีกประมาณ 6,000 แห่ง “เราคาดว่าวัสดุชนิดนี้ จะให้คำตอบกับความต้องการอุปกรณ์วัดรังสีคุณภาพดี ราคาถูกและสามารถใช้ได้กับบุคลลทั่วไป” ผลงานนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารออนไลน์ Euro Physics Letters(EPL) ฉบับวันที่ 29 June 2011

ผลิตภัณฑ์นี้จะเริ่มทดลองใช้โดยหน่วยงานของรัฐและบริษัทเอกชน โดยทำการทดลองระหว่างเดือนกันยายนและตุลาคม หลังจากนั้นจึงจะนำออกวางตลาดสำหรับบุคคลทั่วไป

อุปกรณ์วัดรังสีในอาหารชนิดใหม่อยู่ในแผ่นกระดาษที่ใช้ทำกล่องสามารถวัดได้ใน 12 วินาที

เป็นเวลากว่า 5 เดือนแล้ว หลังจากที่เกิดแผ่นดินไหวละสึนามิที่ญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม ประชาชนยังคงมีความกลัวรังสีตกค้างในอาหาร บริษัท Fuji Electric ในโตเกียวได้พัฒนาอุปกรณ์ตรวจวัดรังสีในอาหาร เช่น ปลา เนื้อ ผลไม้ และผัก ในเวลาแค่ 12 วินาที บริษัทกล่าวว่า ระบบโดยทั่วไปจะใช้เวลาหลายสิบนาที ระบบนี้ไม่จำเป็นต้องตัดอาหารเป็นชิ้น แต่เป็นอุปกรณ์ที่สามารถวัดกล่องที่บรรจุอาหารได้ 200 ชิ้น ในเวลา 60 นาที โดยไม่จำเป็นต้องตัดหรือเปิดกล่องออกมา อุปกรณ์นี้มีขนาดกว้าง360mm?ยาว865mm?สูง1350mm มีน้ำหนัก 150 กิโลกรัม บริษัท Fuji Electric คาดว่าจะมียอดขายในปีนี้ประมาณ 500 เครื่อง โดยเริ่มวางจำหน่ายในเดือนกันยายนด้วยราคา $56,000

คุณสมบัติ

หัววัด NaI (Tl) scintillator
ขีดจำกัดการวัด
Detection limit (1)
134Cs + 137Cs เนื้อ (11.7kg) ประมาณ 140Bq/kg (ความแม่นยำประมาณ 50Bq/kg)
ข้าว (30kg) ประมาณ 90Bq/kg (ความแม่นยำประมาณ 35Bq/kg)
ใบพืช (10kg) ประมาณ 250Bq/kg (ความแม่นยำประมาณ 100Bq/kg)
เวลาในการวัด เวลาวัดที่แม่นยำ 120 วินาที / การวัดตัวอย่างทั่วไป 12 วินาที (2)
ขนาดของตัวอย่าง กว้าง 50cm x ยาว 100cm x สูงไม่เกิน 50cm
ขนาดของภาชนะ กว้าง 360mm x ยาว 865mm x สูง 1350mm
มวล น้ำหนักประมาณ 150kg
(1) ขีดจำกัดของการวัดขึ้นกับรูปร่างของตัวอย่างด้วย
(2) เวลาวัดที่แม่นยำในการวัดตัวอย่างเนื้อ 150 วินาที
รวบรวมจาก
  • http://www.scosche.com/consumer-tech/product/2254
  • http://techcrunch.com/2011/07/26/aircounter-japan-gets-mini-radiation-detector/
  • http://www.reuters.com/article/2011/08/18/us-japan-radiation-detector-idUSTRE77H17A20110818
  • http://www.fujielectric.co.jp/about/news/11080102/index.html
  • http://www.homelandsecuritynewswire.com/cheap-radiation-detector-made-pet-resin-developed
ข่าวสารเพิ่มเติม