อนาคตการวิจัยนิวตรอนในสหรัฐฯ

นาคตการวิจัยนิวตรอนในสหรัฐฯ

การกระเจิงของอนุภาคนิวตรอน (Neutron Scattering) ซึ่งเทคนิคในการศึกษาคุณสมบัติ และลักษณะโครงสร้าง ตามธรรมชาติของวัสดุต่างๆ ในระดับ 3 มิติ เป็นคลื่นลูกใหม่ ในวงการวิจัยทางวัสดุศาสตร์ของโลก บริเวณห้องปฏิบัติการแห่งชาติที่ Oak Ridge มลรัฐเทนเนสซี่ ซึ่งคาดว่า จะเริ่มใช้งานอย่างเป็นทางการในเดือนมิถุนายน 2549

ห้องปฏิบัติการดังกล่าว จะใช้รังสีนิวตรอน ในการศึกษาวัสดุ ซึ่งสามารถจะวิเคราะห์วัสดุหลายประเภท เช่น โลหะ พลาสติก และคริสตัล ในระดับอะตอม จุดประสงค์ของ SNS เพื่ออำนวยความสะดวก ให้นักวิทยาศาสตร์ทางเคมี ฟิสิกส์ ซีววิทยา วัสดุศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ สามารถใช้ในงานวิจัย ด้านโครงสร้าง และไดนามิกของวัสดุในระดับอะตอม

งบประมาณในการก่อสร้างโครงการนี้ โดยกระทรวงพลังงานสหรัฐฯ มีมูลค่ารวม 1.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ จะเป็นจุดดึงดูดนักวิทยาศาสตร์ ทั้งจากทั่วสหรัฐฯ เอง และทั่วโลก คาดว่าจะเป็นตัวช่วยพัฒนาด้านเทคโนโลยี และสภาพเศรษฐกิจของมลรัฐเทนเนสซี่ โดยคาดว่า จะมีทีมนักวิจัยประมาณ 2,000 ทีม ซึ่งแต่ละทีม จะประกอบด้วยอาจารย์มหาวิทยาลัย นักศึกษา และ Post Doctoral เป็นต้น เข้ามาทำงานวิจัยในแต่ละปี

เป็นที่คาดหวังว่า หากเทคโนโลยีก้าวไกลมากขึ้น นักวิทยาศาสตร์จำเป็นต้องหาข้อมูลในวัสดุประเภทที่เป็นแม่เหล็ก และการใช้อุปกรณ์ในการศึกษา การกระเจิงของอนุภาคนิวตรอน เป็นสิ่งจำเป็น เช่นเดียวกับการศึกษาด้านวัสดุที่เก็บกาซไฮโดรเจน เพื่อใช้ในการพัฒนา เชื้อเพลิงไฮโดรเจนใน Fuel Cell ตามแนวนโยบาย Hydrogen Economy ของประธานาธิบดีสหรัฐฯ

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถดูได้จาก www.sns.gov และ www.ornl.gov

( ที่มา : Tenessee Economic Development Guide 2003-2004 (www.tnedg.com)
ข่าวสารเพิ่มเติม