หรือนิวเคลียร์จะเป็นคำตอบ?

หรือนิวเคลียร์จะเป็นคำตอบ?

นายกรัฐมนตรี Tony Blair ได้เรียกประชุม เพื่อให้มีการอภิปรายแบบ “open-minded” ในเรื่องของอนาคตพลังงานนิวเคลียร์ของอังกฤษ ซึ่ง Alex Kirby ผู้สื่อข่าวของ BBC ด้านพลังงานปรมาณู ได้รายงานว่า
Sizewell B, เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ใหม่ที่สุดของอังกฤษ สร้างในปี 1980
พลังงานนิวเคลียร์ดูคล้ายจะเป็นคำตอบ ทั้งในเรื่องความต้องการพลังงานและบางทีจะรวมถึง เรื่องการเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศโลก
พลังงานนิวเคลียร์ สามารถให้พลังงานออกมาได้อย่างต่อเนื่อง โดยไม่ได้รับผลกระทบ จากความผันผวนของราคาน้ำมัน
พลังงานนิวเคลียร์เป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ที่สุดที่เรามี หากจะใช้แหล่งพลังงานที่ไม่มีมลภาวะ นอกเหนือจากพลังงานหมุนเวียน
แต่ยังคงมีความไม่ไว้วางใจ หลายคนจึงกล่าวว่า มันไม่สามารถที่จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งของหนทาง ที่ใช้ป้องกันภัยพิบัติจากภาวะโลกร้อนได้
พลังงานนิวเคลียร์มักจะได้รับการเสนออยู่เสมอ และกำลังถูกจัดอันดับให้สูงขึ้น จากคนที่ไม่ชอบเทคโนโลยี แต่เชื่อว่านี่อาจเป็นสิ่งที่จำเป็น
เขาชี้ให้เห็นว่า เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) อันเป็นก๊าซที่ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก ซึ่งเกิดจากกิจกรรมของคนเรา
แรงกดดันด้านพลังงานของอังกฤษ
การผลิตก๊าซขึ้นมาใช้เองของอังกฤษเริ่มลดลง ขณะที่น้ำมันกับก๊าซมีราคาสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว รัฐบาลมีเป้าหมายที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงให้ได้ 20% ของปี 1990 ภายในปี 2010 อังกฤษใช้พลังงานนิวเคลียร์ 20% ของการผลิตไฟฟ้า และจะมีการปิดตัวโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 1 แห่ง ในปี 2023 โดยยังไม่มีแผนที่จะสร้างเพิ่มขึ้น

 

พวกเขากล่าวว่า พลังงานนิวเคลียร์มีความปลอดภัย การเกิดเพลิงไหม้ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Windscale ของอังกฤษในปี 1957 โรงไฟฟ้า Three Mile Island ของสหรัฐ ในปี 1979 และโรงไฟฟ้า Chernobyl ในยูเครน มีผู้เสียชีวิตน้อยกว่า อุตสาหกรรมน้ำมันและถ่านหิน อย่างเทียบกันไม่ได้
ในเวลาที่ผ่านมา มีเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบใหม่ ที่มีความปลอดภัยสูงกว่าเมื่อ 20 หรือ 30 ปีที่แล้วมาก ทำให้ลดความเสี่ยงที่มีน้อยอยู่แล้วลงไปอีก
ผู้สนับสนุนกล่าวว่า ราคายูเรเนียมจะยังคงที่ไปอีกหลายสิบปี หมายความว่า ต่อไปนี้พลังงานนิวเคลียร์จะเริ่มมีราคาถูกลงเรื่อยๆ เมื่อเทียบกับพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล
พวกเขาได้ชี้แจงว่า ระบบของพลังงานนิวเคลียร์รุ่นใหม่ มีความประหยัดกว่ารุ่นเก่า จึงให้ผลตอบแทนต่อการลงทุนที่ดี
แต่อีกฝ่ายได้โต้แย้งว่า ถ้าพลังงานนิวเคลียร์เป็นคำตอบได้จริงๆ เรายังคงมีคำถามอยู่อีก
ความหวาดกลัวการก่อการร้าย
พวกเขาโต้แย้งว่า มันหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่จะเชื่อมโยงพลังงานปรมาณูฯ ที่ใช้ทางการทหารกับทางพลเรือน ถ้าเราบอกว่าเราต้องการพลังงานนิวเคลียร์ เพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ อีกหลายประเทศอย่างเช่น อิหร่านและเกาหลีเหนือ ก็สามารถทำได้เช่นกัน ไม่มีเส้นกั้นระหว่างการใช้ผลิตไฟฟ้าและการผลิตระเบิด

พนักงานกำลังจัดเรียงแท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์เข้าด้วยกัน
นิวเคลียร์: กลับเข้าสู่วาระ
ในการกล่าวสุนทรพจน์ ในการประชุมพรรคของปี 2005 นายกรัฐมนตรี Tony Blair ได้ให้คำมั่นว่า จะมีการพิจารณาทบทวนด้านพลังงานในปี 2006 เขากล่าวว่า มีความจำเป็นต้องมีการประเมินในทุกทางเลือก รวมทั้งการใช้พลังงานนิวเคลียร์ด้านพลเรือน Alan Johnson รัฐมนตรีการค้า กล่าวว่า การสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งใหม่ ต้องตัดสินใจในเร็ววันนี้ มีการก่อตั้ง The Nuclear Decommissioning Authority (NDA) เมื่อเดือนเมษายน 2005 ให้รับผิดชอบเรื่องการถอนใบอนุญาตทั้งหมดของอังกฤษ และมีการแต่งตั้ง The Committee on Radioactive Waste Management (CoRWM) ให้ทำหน้าที่เสนอแนะเกี่ยวกับการจัดการกากรังสี โดยมีกำหนดให้ส่งรายงานในปี 2006

ฝ่ายคัดค้านกล่าวว่า พลังงานนิวเคลียร์ มีความประหยัด เมื่อวิเคราะห์แต่เพียงบางด้านเท่านั้น ยังมีปัจจัยด้านต้นทุนการก่อสร้าง การประกันภัย การจัดการกากรังสี และกระบวนการถอนการใช้งาน ซึ่งต้องลงทุนอีกมหาศาล
ฝ่ายตรงข้ามได้ถามขึ้นอีกว่า “จะเกิดอะไรขึ้นกับกากรังสี? มีคำตอบเพียงแต่ว่า เราจะเก็บกากของสารกัมมันตรังสีส่วนใหญ่ เอาไว้ในที่ปลอดภัยเป็นพันปี จนกว่ามันจะสลายลงในระดับที่ปลอดภัย”
แน่นอนที่ว่า พลังงานนิวเคลียร์สามารถป้อนพลังงาน ให้กับระบบไฟฟ้ารวมได้ แต่มันจะไม่มีผลโดยตรงต่อการลดปริมาณ CO2 จากการคมนาคมขนส่ง นอกเสียจากจะเข้าสู่ระบบการใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจน
ผมเคยได้ยิน ท่านลอร์ด Chris Patten เลขาธิการสิ่งแวดล้อมของอังกฤษ กล่าวกับผู้ฟัง โดยให้คำจำกัดความของปัญหานี้ว่า “พลังงานนิวเคลียร์น่ะหรือ? สำหรับประชาชนส่วนใหญ่มันคือปีศาจชั่วร้าย”แม้ว่าการออกแบบและการก่อสร้างจะกินเวลานาน แต่น่าจะเป็นเรื่องดี ที่เราจะได้เห็นโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ ถ้าจะมีการเริ่มต้นตั้งแต่วันนี้

พวกเราเกือบทั้งหมด มีความวิตกในบางสิ่งบางอย่าง ที่เราเห็นว่ามันไม่ใช่เรื่องปกติ และมีความหวาดกลัวมากกว่าสิ่งที่เราทำอยู่ประจำ
เรากลัวการเสียชีวิตจากเครื่องบินตก แต่เราก็ยังขับรถไปบนถนนที่อันตราย เพื่อไปขึ้นเครื่องบิน
เรากลัวการเสียชีวิตจากกัมมันตภาพรังสี แต่ก็ไม่ยี่หระต่อความเสี่ยง ในการตายอย่างทุกข์ทรมานจากผลของการสูบบุหรี่ ความอ้วน และแอลกอฮอล์
ความไม่เชื่อถือต่อพลังงานนิวเคลียร์ของพวกเรา ส่วนหนึ่งอาจจะไม่มีเหตุผล แต่เป็นเรื่องของความรู้สึกความต้องการพลังงาน

การระงับการใช้เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ทางพลเรือน ไม่สามารถกำจัดความเสี่ยงในการเกิดสงครามนิวเคลียร์ เพียงแต่ทำให้ลดลงได้
เท่าที่ผ่านมาในอดีต อุตสาหกรรมนิวเคลียร์ (อย่างน้อยก็ในอังกฤษ) ก็่มีการทำงานเปิดเผยอย่างแท้จริง
 

นักเคลื่อนไหวจาก Greenpeace ปีนขึ้นไปบนโดมของเครื่องปฏิกรณ์ฯ ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ที่ Borssele ฮอลแลนด์
กลุ่มคนด้านสิ่งแวดล้อมหลายกลุ่ม ยังคงต่อต้านพลังงานนิวเคลียร์อย่างแข็งขัน
เรื่องพลังงานนิวเคลียร์นี้ เหมือนเป็นภาพจากกระจก 2 ด้าน โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ของอังกฤษ ผลิตพลังงานให้กับระบบไฟฟ้า 20% ของประเทศ และในปี 2023 โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั้งหมดจะถึงอายุต้องปิดตัวลง ถ้ายังมีอัตราความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น คาดว่า ปี 2030 ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ปล่อยออกสู่บรรยากาศ จะเพิ่มสูงขึ้นอีก 62% ของปัจจุบันในกลางศตวรรษนี้ เราอาจจะเข้าสู่ ยุคของการผลิตพลังงานด้วยนิวเคลียร์ฟิวชัน ซึ่งจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีไปอีกระดับ
จากจุดนี้ เราเข้าใจในความน่ากลัวของการหลอมละลายของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ แต่ยังมีพวกเราน้อยมาก ที่หวาดกลัวต่อภาวะโลกร้อนที่เราจะต้องในวันข้างหน้า
ถอดความจาก Analysis: Is nuclear power the answer?
เวบไซต์ news.bbc.co.uk, Monday, 17 October 2005,
ข่าวสารเพิ่มเติม