วันสำคัญในเดือนมิถุนายน

วันสำคัญในเดือนมิถุนายน
5 มิ.ย. วันสิ่งแวดล้อมโลก
9 มิ.ย. วันอานันทมหิดล
21 มิ.ย. วันดำรงราชานุภาพ
26 มิ.ย. วันสุนทรภู่, วันต่อต้านยาเสพติดโลก

วันนี้ในอดีต

1 มิ.ย. รังสี 3K radiation
ในปี 1965 A. Penzias และ R. Wilson ได้ตรวจพบรังสีจากอวกาศ ซึ่งเป็น primordial background radiation ที่อุณหภูมิ 3 องศาเคลวินโดยใช้เสาอากาศ (horn reflector antenna) ที่ใช้สำหรับวัดคลื่นวิทยุดาราศาสตร์ ทำให้บอกได้ว่า เหตุการณ์ Big Bang ซึ่งเป็นการะเบิดครั้งใหญ่ ของมวลสารอุณหภูมิและความหนาแน่นสูง และเป็นจุดกำเนิดของเอกภพมีอายุ 15-20 พันล้านปีมาแล้ว รังสีพลังงานสูงที่เกิดขึ้น เมื่อเอกภพยังมีอายุน้อย ได้ถูกดูดกลืนและลดลง เมื่อเอกภพเย็นตัวลงและขยายตัวออก มีการรังสีไมโครเวฟ (microwave background radiation) จากอวกาศเป้นครั้งแรกโดย Penzias และ Wilson ซึ่งเชื่อว่า เป็นรังสีที่หลงเหลืออยู่จากยุคแรกของเอกภพ เมื่อตอนที่มีอายุเพียง 1 ล้านปี ความสม่ำเสมอในการกระจายของรังสีไมโครเวฟ แสดงว่า หลังจากช่วงล้านปีแรกเป็นต้นมา เอกภาพมีการกระจายอย่างราบเรียบ
ไตตาเนียม
ในปี 1951 มีการเปิดโรงงานผลิตไตตาเนียม (titanium) ที่เมือง Henderson มลรัฐเนวาดา ซึ่งเป็นโรงงานผลิตเต็มรูปโรงงานแรกในสหรัฐอเมริกา มีการแปรรูปแร่ไตตาเนียมไปเป็นเกร็ดไตตาเนียม ซึ่งจะหลอมต่อไป เป็นแท่งโลหะไตตาเนียม
2 มิ.ย. ตีพิมพ์หนังสือ Publishing “Principia”
ในปี 1686 มีการตีพิมพ์หนังสือ Principia ของนิวตัน (Newton) ที่กรุงลอนดอน โดยราชสมาคมแห่งประเทศอังกฤษ ซึ่งมีบันทึกจากการประชุมว่า นักดาราศาสตร์ Edmund Halley ได้ให้ความเห็นว่า นิวตันควรออกค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ผลงานด้วยตนเอง
8 มิ.ย. เนปจูเนียม (Neptunium)
ในปี 1940 Edwin M. McMillan และ Philip H. Abelson ซึ่งปฏิบัติการงานอยู่ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียแห่งเบิรกเลย์ (University of California at Berkeley) ได้ประกาศการค้นพบธาตุที่ 93 เนปจูเนียม (Neptunium) ใช้สัญลักษณ์ Np McMillan ได้ค้นพบเนปจูเนียม จากการสลายตัวให้รังสีบีต้าของยูเรเนียม-239 (uranium-239) ในขณะที่กำลังศึกษาปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชัน พวกเขาสามารถพิสูจน์ได้ว่ามันมีคุณสมบัติทางเคมี และคุณสมบัติทางนิวเคลียร์ที่เฉพาะ และเป็นธาตุใหม่ และมีการพิสูจน์อีกครั้ง โดยการสกัดออกมาในรูปของโลหะ ในเดือนตุลาคม ปี 1944 ได้รับการตั้งชื่อเนปจูเนียม (neptunium) ตามชื่อดาวเนปจูน (Neptune) ดาวเคราะห์ดวงที่อยู่ถัดจากยูเรนัส นับเป็นธาตุแรกที่หนักกว่ายูเรเนียม ซึ่งเรียกว่าธาตุ transuranium การค้นพบครั้งนี้ทำให้ McMillan ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี ในปี 1951
14 มิ.ย. เรือดำน้ำปรมาณูนอติลุส (Atomic submarine Nautilus)
ในปี 1952 มีการทำพิธีวางกระดูกงูเรือดำน้ำปรมาณูลำแรกของสหรัฐ ชื่อนอติลุส โดยประธานาธิบดีทรูแมน (Harry S. Trumann) ซึ่งสร้างโดยบริษัท Electric Boat Company ในเครือของ General Dynamics Corp. อยู่ในเมือง Groton มลรัฐคอนเนคติกัต ภายใต้การดูแลของ Captain Hyman George Rickover เรือดำน้ำใช้พลังงานไอน้ำในการหมุนใบเรือ จากเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู แบบระบายความร้อนด้วยน้ำ ซึ่งถูกปล่อยลงน้ำตอนต้นปี 1954 และเริ่มปฏิบัติการในปลายปีเดียวกัน มีการทดสอบพลังงานนิวเคลียร์ เมื่อวันที่ 17 มกราคม 1955 และเสร็จสมบูรณ์ เมื่อวันที่ 22 เมษายน 1955
17 มิ.ย. ระเบิดไฮโดรเจนของจีน (Chinese H-bomb)
ในปี 1967 จีนได้ทดลองระเบิดไฮโดรเจนลูกแรก ซึ่งเป็นการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ครั้งที่ 6 ของจีน และเป็นการทดลองในแบบที่มีการระเบิดเข้าด้านใน (Teller-Ulam) เต็มรูปแบบเป็นครั้งแรก ตัวระเบิดประกอบด้วยยูเรเนียม-235 (U-235) ลิเทียม-6 ดิวทีไรด์ (lithium-6 deuteride) และยูเรเนียม-238 (U-238) มีการจุดระเบิดที่ความสูง 2960 เมตร เหนือ Lop Nur Test Ground หลังจากที่ปล่อยจากเครื่องบิน มีความแรงระเบิด 3.3 เมกกะตัน (megatons) การทดลองนี้เกิดขึ้นภายหลังจากการทดลองระเบิดปรมาณูครั้งแรกของจีน เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 1964 เพียง 32 เดือน ถือเป็นการทิ้งช่วงห่างของการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ที่สั้นที่สุด จีนทดลองระเบิดปรมาณูครั้งแรก โดยใช้ปฏิกิริยาฟิชชันของยูเรเนียม-235 (U-235) อย่างเดียว เนื่องจากยังไม่มีพลูโตเนียม ระเบิดมีชื่อว่า “596” มีน้ำหนัก 1550 กิโลกรัม มีแรงระเบิด 22 กิโลตัน
20 มิ.ย. ความร้อนจากพลังงานนิวเคลียร์ (Nuclear-powered heating)
ในปี 2002 มีการลงนามความร่วมมือ ในการก่อตั้งโรงงานแยกเกลือออกจากน้ำทะเล โดยใช้ความร้อนจากเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู ที่อ่าวของเมือง Yingkou ประเทศจีน ซึ่งออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำในประเทศจีน เครื่องปฏิกรณ์แบบน้ำลึกนี้ออกแบบโดยนักวิทยาศาสตร์จีน ให้มีการเผาไหม้เชื้อเพลิงที่ความดันปกติ ด้วยกำลัง 200 เมกกะวัตต์ ในช่วงแรกมีการลงทุน 35 ล้านหยวน (4 ล้านเหรียญสหรัฐ) ในการทำระบบความร้อนในฤดูหนาวสำหรับอาคารขนาด 5 ล้านตารางเมตร ระบบสามารถแยกน้ำจากน้ำทะเลได้ 3,000 ตันต่อวัน ได้โดยไม่ต้องใช้ความร้อน และสามารถเพิ่มขึ้นได้ถึง 80,000 ตันต่อวัน ทำให้เทียบได้กับ การใช้เครื่องปฏิกรณ์ฯ แทนที่การเผาไหม้ถ่านหิน 130,000 ตันต่อปี ซึ่งช่วยลดมลฑิษจากการปล่อยกาซ
ฝุ่นกัมมันตรังสีจากเชอร์โนบิลเหนืออังกฤษ (Chernobyl fall-out over UK)
ในปี 1986 การตกของฝุ่นกัมมันตรังสีจากเชอร์โนบิล ทำให้มีการห้ามการเชือดหรือเคลื่อนย้ายแกะที่เมือง Cumbria สกอตแลนด์ การตกของฝุ่นกัมมันตรังสีจากอุบัติเหตุที่เชอร์โนบิลในอังกฤษ มีค่าสูงสุดเมื่อเมฆกัมมันตรังสี ปะทะกับฝนตกหนักที่ Cumbria ตอนเหนือของเวลส์ ส่วนหนึ่งของสกอตแลนด์ และตอนเหนือของไอร์แลนด์ กัมมันตภาพรังสีของ 137Cs ในพืชผัก ในพื้นที่หนึ่งทางด้านตะวันตอของเมือง Cumbria มีค่าเพิ่มขึ้นจาก 40 เป็น 10,000 Bq kg–1 จากการศึกษาอุบัติเหตุที่เชอร์โนบิล แสดงให้เห็นว่า มีการเคลื่อนย้ายของนิวไคลด์กัมมันตรังสี ไปยังผลิตภัณฑ์จากแพะและแกะมากกว่าในโค มีการกำหนดไม่ให้เนื้อแกะ ที่มีกัมมันตภาพรังสีสูงกว่า 1,000 Bq kg-1 เข้าสู่ตลาด
แผลไหม้จากรังสีเอกซ์ (X-ray burns)
ในปี 1918 Dr. Eugene W. Caldwell ผู้เชี่ยวชาญด้านรังสีเอกซ์ เสียชีวิตที่กรุงนิวยอร์ก เนื่องจากได้รับบาดเจ็บสาหัสขณะทำการวิจัยเรื่องรังสีเอกซ์ ทำให้เกิดบาดแผลไหม้ด้วยรังสีเอกซ์ Dr. Caldwell เป็นผู้อำนวยการศูนย์รังสีเอกซ์ของโรงพยาบาล New York City’s Bellevue Hospital โดยหนังสือที่ Dr. Caldwell เขียน ชื่อ The Practical Application of Roentgen Rays in Therapeutics ได้รับการยอมรับให้เป็นตำราเรียนทางด้านนี้
22 มิ.ย. กาลิเลโอ (Galileo Galilei)
ในปี 1633 กาลิเลโอ ถูกบังคับโดยฝ่ายศาสนา ให้เลิก สาปแช่ง และแสดงความเกลียดชัง ต่อแนวความคิด ที่เชื่อว่าดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล (Copernican heliocentric) “ข้าพเจ้า กาลิเลโอ … สาบานว่า ข้าพเจ้ามีความเชื่อตลอดมา และจะเชื่อต่อไปต่อพระเจ้า และจะเชื่อต่อสิ่งที่ได้รับจากการสั่งสอน และการเทศน์โดย .. . โบสถ์ ข้าพเจ้า ต้องละทิ้งทัศนคติที่ผิดทั้งหมดที่ว่า ดวงอาทิตย์ไม่เคลื่อนที่ และเป็นศูนย์กลางจักรวาล และทัศนคติที่ว่า โลกไม่ได้เป็นศูนย์กลางของจักรวาล และมีการเคลื่อนที่ …” เขาถูกลงโทษ ให้ถูกจำอยู่ในสำนักของโป๊ป โดยไม่มีกำหนดระยะเวลา ระหว่างนั้นต้องสวดมนต์เพื่อสำนักนึกผิดเจ็ดครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 3 ปี วันต่อมาโป๊ปจึงได้ตัดสินให้กักบริเวณให้เขาอยู่แต่ในบ้าน
25 มิ.ย. Ph.D. ของคูรี (Ph.D. for Curie)
ในปี 1903 มารี คูรี (Marie Curie) ได้เดินทางไปสอบปริญญาเอก และในปีเดียวกันก็ได้รับรางวัลโนเบลจากผลงานวิจัย
27 มิ.ย. พลังงานปรมาณู (Atomic power)
ในปี 1954 สถานีไฟฟ้าพลังงานปรมาณู สถานีแรกของโลก ที่เมือง Obninsk สหภาพโซเวียต ได้เริ่มผลิตและจ่ายกระแสไฟฟ้า
28 มิ.ย. เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู (Atomic reactor)
ในปี 1956 เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูที่สร้างขึ้นมาสำหรับงานวิจัยเครื่องแรกได้เริ่มเดินเครื่อง ที่ชิคาโก มลรัฐอิลลินอย
29 มิ.ย. ออปเปนไฮเมอร์ (Oppenheimer)
ในปี 1954 คณะกรรมการพลังงานปรมาณู ได้ลงมติด้วยเสียง 4 ต่อ 1 ยับยั้งการกลับเข้ารับตำแหน่งของ (Dr. J. Robert Oppenheimer) พ.ร.บ.พลังงานปรมาณู (Atomic Energy Act) ปี 1946 กำหนดให้พิจารณาเกี่ยวกับ คุณลักษณะ สังคม และความซื่อสัตย์ ของแต่ละคนที่จะทำงานกับคณะกรรมการ การมีข้อเสียหายในคุณสมบัติ หรือมีสังคมที่มีลักษณะอันตราย โดยเฉพาะการมีความสนใจต่อระบบของต่างประเทศ นอกเหนือจากสหรัฐอเมริกา จึงถือว่าขาดคุณสมบัติ คณะกรรมการเห็นว่าสังคมและบุคคลที่ออปเปนไฮเมอร์รู้จักเป็นคอมมิวนิสต์
30 มิ.ย. เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู (Atomic reactor)
ในปี 1963 การประกาศว่า เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูฯ เครื่องแรกในสหรัฐ ที่ใช้พลูโตเนียมเป็นเชื้อเพลิง ในการผลิตไฟฟ้า ได้เริ่มติดตั้งในเครื่องปฏิกรณ์สำหรับการทดลอง ที่ห้องปฏิบัติการ Argonne National Laboratory ใกล้กับ Idaho Falls มลรัฐไอดาโฮ
ระเบิดปรมาณู (Atomic bomb)
ในปี 1946 ระเบิดปรมาณูลูกแรกของสหรัฐ ชื่อ “Able” ได้ถูกทิ้งลงจากเครื่องบิน B-29 Superfortress ชื่อว่า Dave’s Dream ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการ Crossroads โดยทิ้งลงเหนือกลุ่มเรือที่ใช้เป็นเป้า 73 ลำ บริเวณหมู่เกาะบิกินี (Bikini Lagoon) ในมหาสมุทรแปซิฟิก มีการระเบิดที่ความสูง 520 ฟุต แรงระเบิด ทำให้เรือขนส่ง Gilliam และ Carlisle จมลง โดยเรืออีก 18 ลำ ได้รับความเสียหาย
ข่าวสารเพิ่มเติม