วันสำคัญในเดือนมกราคม

วันสำคัญในเดือนมกราคม
1 มกราคม วันขึ้นปีใหม่
14 มกราคม วันเด็กแห่งชาติ
13 มกราคม วันการบินแห่งชาติ
16 มกราคม วันโคนมแห่งชาติ
16 มกราคม วันครูแห่งชาติ
25 มกราคม วันกองทัพไทย และวันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกระทำยุทธหัตถี

วันนี้ในอดีต

1 ม.ค. รังสีเอกซ์
ใน1896 Wilhelm Roentgen นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ได้ประกาศการค้นพบรังสีเอกซ์ เขาได้ส่งสำเนาของต้นฉบับ และภาพถ่ายรังสีเอกซ์จำนวนหนึ่ง ไปให้แก่เพื่อนๆ และนักฟิสิกส์ที่มีชื่อเสียงหลายคน รวมทั้ง Lord Kelvin ที่ Glasgow และ Henre Poincare ที่กรุงปารีส สี่วันต่อมา ในวันที่ 5 มกราคม 1896 หนังสือพิมพ์ Die Presse ได้ตีพิมพ์ข่าวนี้ในหน้าแรก โดยมีบทความที่บรรยายถึงการค้นพบ และได้นำเสนอถึงการนำรังสีชนิดใหม่นี้ ไปใช้ในการวินิจฉัยทางการแพทย์ วันต่อมา the London Standard ได้ส่งข่าวนี้ไปยังประเทศอื่นทั่วโลก โดยบรรยายในตอนต้นว่า เป็น แสงที่ใช้ในการถ่ายภาพที่สามารถส่องทะลุไม้ เนื้อหนัง เสื้อผ้า และทุกส่วนของร่างกาย
5 ม.ค. รังสีเอกซ์
ในปี 1896 หนังสือพิมพ์ Wiener Presse ของออสเตรีย ได้ตีพิมพ์เรื่องการค้นพบรังสีชนิดใหม่ โดยนักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ที่ต่อมารู้จักกันในชื่อ รังสีเอกซ์
11 ม.ค. Francium
ในปี 1930 ธาตุฟรานเชียม Fr (francium) ถูกค้นพบ
12 ม.ค. การทดลองนิวเคลียร์
ในปี 1965 เวลา 10:58 น. ได้มีการทดลองจรวดที่ใช้เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ ที่รัฐเนวาดา สหรัฐอเมริกา ทำให้เกิดกลุ่มเมฆกัมมันตรังสีปกคลุมเหนือลอสแองเจลิส
12 ม.ค. การถ่ายภาพด้วยรังสีเอกซ์ครั้งแรก
ในปี 1896 Dr. Henry Louis Smith ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ทางฟิสิกส์และดาราศาสตร์ ของ Davidson College, Davidson, N.C. ได้ถ่ายภาพโดยใช้รังสีเอกซ์เป็นครั้งแรก โดยทำการทดลองยิงลูกปืนไปยังมือของศพ แล้วถ่ายภาพโดยใช้เวลาในการถ่าย 15 นาที แสดงให้เห็นลูกปืนที่อยู่ภายในมือของศพ
16 ม.ค. เฟอร์เมียม (Fermium)
ในปี 1953 มีการทดลองเพื่อวิเคราะห์ชนิดของธาตุ เฟอร์เมียม (fermium, Fm) ซึ่งมีเลขอะตอม 100 เป็นครั้งแรก โดยมีตัวอย่างอยู่ประมาณ 200 อะตอม ด้วยวิธี ion-exchange chromatography ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย Berkeley ซึ่งได้มาจากการสกัดจากตัวอย่างที่เกิดจากการทดลองระเบิดไฮโดรเจน ในปฏิบัติการ “Mike” ซึ่งทำการทดลองที่หมู่เกาะ Eniwetok Atoll ในมหาสมุทรแปซิฟิก การเก็บตัวอย่างใช้เครื่องบินบังคับวิทยุแล่นเข้าไปในเมฆที่เกิดขึ้นจากการระเบิด เรื่องนี้ถูกเก็บเป็นความลับอยู่จนถึงปี 1955 จึงได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Physics Review v.99 ฉบับ 1048 เนื่องจากมีอายุที่สั้นมาก นักวิทยาศาสตร์จึงไม่มั่นใจในน้ำหนักอะตอมที่แน่นอน เฟอร์เมียมถูกค้นพบเป็นธาตุที่ 8 ในกลุ่มธาตุ transuranium ในอนุกรม actinide โดยได้รับการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ Enrico Fermi
17 ม.ค. Synchrotron
ในปี 1949 เป็นครั้งแรกที่มีการปลดปล่อยพลังงานออกจาก synchrotron เครื่องแรกที่ถูกติดตั้งในห้องปฏิบัติการรังสี ของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย Berkeley เครื่อง synchrotron เครื่องนี้ออกแบบโดย Edwin Mattison จากมหาวิทยาลัยเดียวกัน และสร้างโดย the General Electric Research Laboratory at Schnectady กรุงนิวยอร์ก โดย Dr. Herbert C. Pollock และ Willem F. Westendorp ใช้สำหรับเร่งอิเล็กตรอนซึ่งมีประจุลบ โดยใช้แม่เหล็กแบบ betatron ที่มีน้ำหนักประมาณ 8 ตัน
18 ม.ค. จัดแสดงอุปกรณ์ถ่ายภาพด้วยรังสีเอกซ์
ในปี 1896 มีการจัดแสดงอุปกรณ์ถ่ายภาพด้วยรังสีเอกซ์เครื่องแรก ที่ Casino Chambers กรุงนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา โดยเก็บเงินค่าเข้าชม 25 เซนต์
20 ม.ค. รังสีเอกซ์ (X-rays)
ในปี 1896 มีการติดตั้งเครื่องถ่ายภาพด้วยรังสีเอกซ์สำหรับใช้ทางการแพทย์เป็นครั้งแรก ทั้งในสหรัฐอเมริกาและเยอรมัน
21 ม.ค. เรือดำน้ำปรมาณู
ในปี 1954 เรือดำน้ำปรมาณูลำแรกชื่อ U.S.S. Nautilus เริ่มปฏิบัติการที่ Groton รัฐคอนเนคติกัต สหรัฐอเมริกา เรือดำน้ำ Nautilus ใช้ระบบขับเคลื่อนด้วยพลังงานนิวเคลียร์ ซึ่งถือเป็นจุดเด่นในประวัติศาสตร์ ด้านวิศวกรรมการต่อเรือและยานดำน้ำของอเมริกา ทำให้เรือดำน้ำที่ผลิตขึ้นก่อนหน้านั้นกลายเป็นแค่ ยานที่ดำน้ำได้เท่านั้น เพราะเรือดำน้ำนอติลุส ใช้พลังงานนิวเคลียร์ ทำให้สามารถอยู่ใต้น้ำได้หลายเดือน ต่างจากเรือดำน้ำที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล ที่ต้องใช้ออกซิเจนปริมาณมากในการสันดาป จึงต้องลอยตัวขึ้นมาเติมอากาศเป็นระยะๆ ในปี 1958 นอติลุสได้ดำน้ำลอดใต้น้ำแข็งอาร์กติกไปที่ขั้วโลกเหนือ นอติลุสปฏิบัติหน้าที่จนถึงปี 1980 จึงกลับบ้านเก่าที่ Groton
21 ม.ค. แมกนีเซียม
ในปี 1941 เริ่มมีการผลิตแมกนีเซียมในเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรก ในสหรัฐอเมริกา ที่เมือง Freeport รัฐเทกซัส แมกนีเซียมเป็นโลหะที่เบาที่สุด สามารถสกัดได้จากน้ำทะเลด้วยวิธีแยกด้วยไฟฟ้า โดย Herbert H. Dow ได้สกัดโลหะออกจากน้ำทะเลเป็นครั้งแรกในปี 1916 ที่ Midland รัฐมิชิแกน โรงงานแมกนีเซียมของ Dow มีบทบาทสำคัญในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อมีความต้องการใช้โลหะที่มีน้ำหนักเบาสำหรับผลิตเครื่องบิน เนื่องจากกองทัพสหรัฐได้ขยายกำลังการผลิตเครื่องบิน ซึ่งแต่ละลำต้องใช้แมกนีเซียมถึง 2,000 ปอนด์ ในปัจจุบันไม่มีการใช้โลหะผสมหรืออัลลอยด์ของแมกนีเซียมในการผลิตชิ้นส่วนเครื่องยนต์แล้ว บริษัท Dow Chemical Co. ได้ประกาศที่จะปิดโรงงานที่ Freeport เนื่องจากพายุ Gulf Coast ได้ทำความเสียหายอย่างหนักให้กับโรงงงาน
22 ม.ค. ฟิชชันของยูเรเนียม
ในปี 1939 อะตอมของยูเรเนียมแตกออกเป็นครั้งแรกโดยใช้เครื่องเร่งอนุภาคแบบ cyclotron ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย กรุงนิวยอร์ก หลังจากที่โครงการแมนฮัตตันได้ริเริ่มในการทำระเบิดอะตอม ต่อมาโครงการนี้ได้ย้ายไปอยู่ที่มหาวิทยาลัยชิคาโก เพื่อให้รอดพ้นจากโอกาสที่จะถูกเยอรมันมาทิ้งระเบิด ไซโคลตรอนซึ่งใช้ในการทดลองปฏิกิริยาฟิชชันเป็นครั้งแรกออกแบบและสร้างโดย John Dunning ซึ่งต่อมาได้เป็นคณบดีของ Engineering School ในปี 1950-1969 ไซโคลตรอนเครื่องนี้ได้ถูกย้ายไปตั้งแสดงอยู่ที่สถาบันสมิตโซเนียน ในปี 1965 ผู้ที่ประดิษฐ์ไซโคลตรอนเครื่องแรกคือ Ernest Lawrence นักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน
23 ม.ค. รังสีเอกซ์
ในปี1896 Wilhelm Roentgen ได้บรรยายและสาธิตอุปกรณ์รังสีเอกซ์ ต่อสาธาณชนเป็นครั้งแรก ที่เมือง Werzburg ประเทศเยอรมัน
25 ม.ค. นาฬิกาอะตอม
ในปี 1955 นักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยโคลัมเบียได้พัฒนานาฬิกาอะตอม ซึ่งมีความเที่ยงตรงสูง โดยมีความผิดพลาดเพียง 1 วินาทีใน 300 ปี
26 ม.ค. Cyclotron
ในปี 1932 สำนักงานสิทธิบัตรของสหรัฐอเมริกา ได้รับการขอจดสิทธิบัตรเครื่องเร่งอนุภาคไซโคลตรอนของ Ernest Orlando Lawrence ในปี 1939 เขาได้รับรางวัลโนเบลจากผลงานประดิษฐ์ เครื่องยิงอะตอมชิ้นนี้
28 ม.ค. พลังงานอะตอม
ในปี 1958 เริ่มมีการสร้างเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูผลิตไฟฟ้า แบบยูเรเนียม-ทอเรียม ของเอกชนเป็นเครื่องแรก และเป็นครั้งแรกที่มีการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์ฯ ที่เสริมเชื้อเพลิงยูเรเนียม-235 ด้วย ทอเรียม-232 โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Indian Point เครื่องนี้อยู่ที่เมือง Buchanan รัฐนิวยอร์ก ใช้เงินลงทุนไป 100 ล้านเหรียญ เป็นเครื่องปฏิกรณ์แบบใช้น้ำความดันสูง ให้กำลังไฟฟ้า 275,000 กิโลวัตต์ ดำเนินการออกแบบก่อสร้างโดย Babcock and Wilcox Co. ให้กับ Consolidated Edison Co. โรงไฟฟ้า Indian Point 1 ได้รับใบอนุญาตเดินเครื่องเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 1962 และปิดตัวลงเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 1974
28 ม.ค. ไอน์สไตน์ (Einstein)
ในปี 1921 ไอน์สไตน์ได้ทำให้เกิดความตื่นเต้นขึ้นในกรุงเบอร์ลิน เมื่อเขาเสนอว่าสามารถวัดขนาดของจักรวาลได้
29 ม.ค. การรักษาด้วยรังสี
ในปี 1896 Omil H. Grubbe นักวิจัยชาวชิคาโก สหรัฐอเมริกา เป็นคนแรกที่ใช้รังสีเอกซ์ ในการรักษา มะเร็งทรวงอกในกับสตรีอายุ 55 ปี รังสีเอกซ์ได้รับการค้นพบ 1 ปีก่อนหน้านั้นที่ประเทศเยอรมัน Grubbe ได้ทดลองใช้รังสีรักษามะเร็ง หลังจากที่เขาพบว่ามีการไหม้เกิดขึ้นจากรังสีเอกซ์ การทดลองของเขาไม่สามารถรักษามะเร็งให้กับผู้ป่วยรายนั้นได้ แต่หลังจากนั้น ในปลายปี 1890 จากการใช้รังสีเอกซ์รักษามะเร็งหลายชนิด โดยเฉพาะมะเร็งผิวหนัง ไม่เพียงแต่ทำให้ผู้ป่วยดีขึ้น เจ็บปวดน้อยลง และสามารถหายได้ในบางราย ทำให้มีการศึกษาและการใช้รังสีเอกซ์มาอย่างต่อเนื่อง Grubbe ไม่ได้ตีพิมพ์ผลงานของเขา จนกระทั่งหลายปีต่อมา ทำให้หลายคนตั้งข้อสงสัยกับการที่เขาอ้างว่าเป็นคนแรกที่นำรังสีรักษามาใช้
30 ม.ค. ระเบิดไฮโดรเจน (Hydrogen bomb)
ในปี 1950 มีการพัฒนาการทำระเบิดแบบฟิวชันของไฮโดรเจน (H-bomb) ตามคำสั่งของประธานาธิบดีทรูแมน การใช้ชื่อรหัสโครงการว่า “Super” แสดงถึงพลังงานของระเบิดเทอร์โมนิวเคลียร์ ที่สูงมากกว่าระเบิดแบบฟิชชันที่ใช้ตอนปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 มาก
31 ม.ค. ระเบิดไฮโดรเจนของสหรัฐอเมริกา
ในปี 1950 ประธานาธิบดี Harry S. Truman ได้ประกาศโครงการพัฒนาระเบิดไฮโดรเจนอเมริกัน (American hydrogen bomb)
ข่าวสารเพิ่มเติม