วันสำคัญในเดือนพฤศจิกายน

วันสำคัญในเดือนพฤศจิกายน
12 พฤศจิกายน วันคนพิการแห่งชาติ
14 พฤศจิกายน วันพระบิดาแห่งฝนหลวง
25 พฤศจิกายน วันสดุดีพระมหาธีรราชเจ้า, วันประถมศึกษาแห่งชาติ
26 พฤศจิกายน วันลอยกระทง

วันนี้ในอดีต

1 พ.ย. ระเบิดไฮโดรเจนลูกแรก
ในปี 1952 สหรัฐอเมริกาได้ทำการทดลองระเบิดเทอร์โมนิวเคลียร์ลูกแรก ระเบิดไฮโดรเจนลูกนี้มีชื่อเรียกว่า Mike ทดลองระเบิดที่ Eniwetok Atoll ในมหาสมุทรแปซิฟิก ห่างจากหมู่เกาะฮาวาย ไปทางตะวันตก 3,000 ไมล์ การระเบิดทำให้เกิดลูกควันสีขาวขนาดใหญ่กว่า 3 ไมล์ ทำให้เกิดหลุมลึกใต้ทะเล ขนาดกว้าง 6,240 ฟุต ลึก 164 ฟุต แรงกระแทกทำให้ดินถูกส่งขึ้นไปในอากาศ 8 ล้านตัน ความแรงของระเบิดเทียบ เท่ากับทีเอ็นทีหลายล้านตัน มีความแรงมากกว่าระเบิดที่ทำลายฮิโรชิมาหลายพันเท่า มากกว่าปริมาณรวมของระเบิดที่ใช้ในสงครามโลกครั้งที่สอง ในเวลา 5 นาทีกลุ่มควันรูปดอกเห็ดมีความสูง 135,000 ฟุต (เท่ากับส่วนบนของบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์) แล้วแผ่กว้างออกไป 1,000 ไมล์
1 พ.ย. การรักษาด้วยรังสีเอ๊กซ์ 
ในปี 1901 ดอกเตอร์ J.E. Gillman ได้แถลงถึงการรักษามะเร็งทรวงอกด้วยรังสีเอ๊กซ์เป็นครั้งแรก
4 พ.ย. เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ X-10
ในปี 1943 เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ X-10 ที่ ห้องปฏิบัติการแห่งชาติ Oak Ridge สหรัฐอเมริกา ได้เดินเครื่องจนถึงค่าวิกฤต หรือค่าที่ปฏิกิริยาฟิชชัน สามารถเกิดต่อเนื่องได้เอง X-10 เป็นเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์เครื่องที่สองของโลก ใช้เวลา 9 เดือนในการก่อสร้างแบบเร่งด่วน ปีถัดมาก็สามารถสกัดแยกพลูโตเนียมทีละน้อย ออกจากลูกเชื้อเพลิงใช้แล้วหลายพันลูกจากของเครื่องปฏิกรณ์ฯ
X-10 เป็นเครื่องปฏิกรณ์ฯ สำหรับการทดลองที่มีขนาดใหญ่กว่าและทันสมัยกว่าที่ Fermi’s Chicago pile มีแท่งกราไฟต์ลูกบาศก์ขนาดยาวด้านละ 24 ฟุต มีผนังคอนกรีตหนา 7 ฟุต สำหรับป้องกันรังสี ปลายปี 1944 เครื่องปฏิกรณ์ฯนี้ก็เสร็จสิ้นภารกิจ และหันไปผลิตไอโซโทปรังสี ให้กับทางการแพทย์และการวิจัย
5 พ.ย. มารี คูรี 
ในปี 1906 เวลา 13:30 น. มารี คูรี ได้เริ่มการบรรยาย โดยเป็นสตรีคนแรกที่บรรยายที่ Sorbonne ในครั้งนั้น มารี คูรี ได้อธิบายทฤษฎีของไอออนในแกส และตีพิมพ์และเสนอบทความเรื่องกัมมันตภาพรังสีให้แก่นักศึกษา 120 คน ภายหลังจากการเสียชีวิตโดยอุบัติเหตุของปิแอร์ คูรี สามีของเธอ คูรี ได้รับเชิญให้ดำรงตำแหน่งประธานสาขาฟิสิกส์ที่ Sorbonne ซึ่งเขาเคยดำรงตำแหน่ง ต่อมาได้รับรางวัลโนเบลในเรื่องการค้นพบกัมมันตภาพรังสี ซึ่งมาดามคูรี ได้ทำงานวิจัยต่อเนื่องมาจากที่เคยทำร่วมกับสามีของเธอ
5 พ.ย. มารี คูรี 
ในปี 1891 มารี คูรี ได้สมัครเข้าที่ Sorbonne 2 วันก่อนวันเกิดครบรอบ 24 ปี หลังจบการเรียนมา 5 ปี ขณะเรียนเธอมีเงินไม่พอกับค่าใช้จ่าย จนทำให้เคยเป็นลมในห้องเรียนเนื่องมาจากความหิว แต่เธอก็ยังสามารถจบการศึกษา ได้คะแนนระดับสูงสุดของชั้นเรียน และในวันเดียวกันนี้ ในปี 1906 เธอได้ทำการบรรยายเป็นครั้งแรกที่ Sorbonne ซึ่งเป็นครูฟิสิกส์สตรีคนแรกในโรงเรียนนี้
7 พ.ย. อะตอมเดี่ยว 
ในปี 1908 Prof. Ernest Rutherford ได้ประกาศที่ลอนดอนว่าสามารถแยกอะตอมของวัตถุออกมาเป็นอะตอมเดี่ยวได้
8 พ.ย. รังสีเอ๊กซ์ 
ในปี 1895 Wilhelm Reontgen ได้ค้นพบรังสีเอ๊กซ์ระหว่างที่กำลังทำการทดลอง
9 พ.ย. ธาตุที่ 110 
ในปี 1994 มีการตรวจพบอะตอมแรกของธาตุที่ 110 ที่ Gesellschaft f?r Schwerionenforschung (GSI) ใน Darmstadt ประเทศเยอรมัน โดยกลุ่มนักวิทยาศาสตร์นานาชาติที่มี Peter Armbruster และ Sigurd Hofmann เป็นหัวหน้าทีม ไอโซโทปของธาตุที่ 110 ที่ค้นพบมีมวลอะตอม 269 โดยการเร่งอนุภาคของนิเกิลยิงใส่แผ่นตะกั่วบางๆ ทำให้นิวเคลียสของอะตอมของตะกั่ว รวมกับนิวเคลียสของอะตอมของนิเกิล กลายเป็นนิวเคลียสของธาตุใหม่ หลังจากเสี้ยวของมิลลิวินาที มันจะสลายตัวเป็นธาตุที่เบาลง โดยให้อนุภาคอัลฟา ซึ่งเป็นนิวเคลียสของฮีเลียม ธาตุใหม่นี้มีชื่อว่า ununnilium ใช้สัญลักษณ์ Uun ซึ่งในปี 1980 ธาตุที่ 107 (Bh), 108 (Hs) และ 109 (Mt) ก็ได้รับการค้นพบที่สถาบันเดียวกันนี้
9 พ.ย. โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบฟิวชัน 
ในปี 1991 ที่เมือง Culham ประเทศอังกฤษ มีการผลิตพลังงานออกมาได้จากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันที่สามารถควบคุมได้เป็นครั้งแรก แม้ว่าจะทำได้ในเวลาสั้นๆ เพียงแค่ 2 วินาที โดยให้กำลังไฟฟ้าออกมา 1.7 เมกกะวัตต์ ทำการทดลองโดยทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติ กลุ่ม Joint European Torus (JET) ปฏิกิริยาฟิวชันแตกต่างจากปฏิกิริยาฟิชชันที่ใช้อยู่ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ปัจจุบัน เนื่องจากใช้เชื้อเพลิง เป็นอะตอมของธาตุเบา ที่ทำให้มีพลังงานสูง แล้วรวมตัวกัน ทำให้ไม่มีกากกัมมันตรังสีจากปฏิกิริยา โครงการ JET จัดตั้งขึ้นเพื่อทดลองในการนำพลังงานนิวเคลียร์ฟิวชันมาใช้ สำหรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชิงพาณิชย์ โดยเริ่มก่อสร้างในปี 1978 เริ่มทำการทดลองในปี 1983
10 พ.ย. Super collider 
ในปี 1988 เลขาธิการ Herrington ของ Department of Energy ประเทศสหรัฐอเมริกาประกาศว่า เมือง Ellis County รัฐ Texas จะเป็นที่ตั้งของ atom- smashing super collider มูลค่า 4.4 พันล้านเหรียญ ตั้งแต่โครงการ Manhattan และโครงการอื่นต่อๆ มาได้มีส่วนสนับสนุนการก่อสร้าง เครื่องเร่งอนุภาคขนาดใหญ่ที่สุดในอเมริกาเครื่องนี้ superconducting super collider เครื่องนี้ เป็นเครื่องเร่งอนุภาคขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับงานวิจัยพื้นฐาน ด้านฟิสิกส์พลังงานสูง สำหรับการศึกษาธรรมชาติของวัตถุและพลังงาน การวิจัยที่ super collider นอกจากจะใช้ศึกษากฎพื้นฐานของจักรวาลแล้ว ยังใช้ศึกษาการเกิดขึ้นของเอกภพ ต่อมาการสนับสนุนโครงการนี้ได้ลดลง เนื่องจากงบประมาณ ได้สูงขึ้นกว่าที่ประมาณไว้ สุดท้ายสภาคองเกรสได้ลงมติปิดโครงการไป ในเดือนตุลาคม ปี 1993
10 พ.ย. Charmed quark
ในปี 1974 นักวิทยาศาสตร์อเมริกัน 2 กลุ่ม ได้ประกาศออกมาในเวลาเดียวกัน ถึงการค้นพบ “charmed quark” ซึ่งเป็นอนุภาคย่อยในนิวเคลียสของอะตอม กลุ่มแรก มาจาก MIT ที่ Brookhaven National Laboratory อีกกลุ่ม มาจากชายฝั่งตะวันตก SLAC-Berkeley ที่ Stanford Linear accelerator centre อนุภาคตัวใหม่นี้มีมวล 3095 MeV มีอายุมากกว่าอนุภาคอื่นที่มีมวลใกล้เคียงกันประมาณ 1000 เท่า การประกาศนี้เป็นการจุดประกายให้กับโลกของฟิสิกส์พลังงานสูง ซึ่งทราบกันในกลุ่มนักฟิสิกส์ว่า November revolution สองปีต่อมา ในปี 1976 หัวหน้าทีมของนักวิทยาศาสตร์ทั้งสองกลุ่ม คือ Samuel Ting และ Burton Richter ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์
10 พ.ย. พลังงานปรมาณูในเชิงพาณิชย์
ในปี 1960 มีการใช้เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูแบบกำลังในเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรก โดยเป็นเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูผลิตไฟฟ้าเครื่องที่ 3 ของสหรัฐอเมริกา มีมูลค่า 57 ล้านเหรียญ เป็นของบริษัท Yankee Atomic Electric Company’s ตั้งอยู่ที่เมือง Rowe รัฐ Mass. ใกล้กับ Deerfield River เดินเครื่องจนถึงระดับที่ปฏิกิริยาคงที่ เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1960 เป็นเครื่องปฏิกรณ์แบบระบายความร้อนด้วยน้ำความดันสูง pressurized light-water reactor ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 125,000 กิโลวัตต์ บริษัทที่ให้บริการเกิดจากความร่วมมือกันของ 12 บริษัทใน New England กับบริษัท Westinghouse Corporation โรงไฟฟ้านี้หยุดเดินเครื่องไปเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 1992 หลังจากให้บริการมา 31 ปี และยกเลิกใบอนุญาตไปในปี 1993
11 พ.ย. รังสีคอสมิก
ในปี 1925 Robert A. Millikan ได้ประกาศการค้นพบและตั้งชื่อรังสีคอสมิก ที่เมือง Madison รัฐ Wisconsin
16 พ.ย. ธาตุใหม่
ในปี 1945 มีการค้นพบธาตุใหม่ 3 ธาตุ ได้แก่ อเมริเซียม americium มีเลขอะตอม 95 และคูเรียม curium มีเลขอะตอม 96 อเมริเซียม ได้รับชื่อมาจากอเมริกา (America) ผลิตขึ้นจากพลูโตเนียมบริสุทธิ์อาบด้วยรังสีนิวตรอน ปัญหาในการสกัดแยกอเมริเซียม อยู่ที่การใช้สารตั้งต้นที่มีราคาสูงมาก การแยกสารรังสี ที่เกิดขึ้นจากผลผลิตฟิชชันที่เกิดขึ้นมาจากกระบวนการเดียวกัน อเมริเซียม ได้รับการค้นพบโดย Seaborg, James, Morgan และ Ghiorsoที่ Chicago ประเทศสหรัฐอเมริกา มีการนำอเมริเซียมไปใช้ในการถ่ายภาพด้วยรังสี ใช้ในเครื่องตรวจวัดควัน ในเครื่องเตือนไฟไหม้ ส่วนคูเรียมเป็นธาตุที่เกิดขึ้นในกระบวนการเดียวกัน โดยตั้งชื่อตาม Pierre และ Marie Curie
16 พ.ย. หลอดอิเล็กตรอนอันแรก
ในปี 1904 John Ambrose Fleming ได้ประดิษฐ์หลอดอิเล็กตรอนขึ้นเป็นครั้งแรก โดยทำเป็นหลอดแก้วสุญญากาศ ที่มีลวดคาร์บอน หรือทังสเตนเป็นไส้หลอดอยู่ด้านหนึ่ง และมีแผ่นโลหะอยู่อีกด้านภายในหลอด โดยมีลวดโลหะต่อออกมาภายนอก เมื่อป้อนกระแสไฟฟ้า ไส้หลอดจะสว่างขึ้นมา รวมทั้งมีอิเล็กตรอนเคลื่อนข้ามช่องว่าง ไปยังโลหะอีกด้านได้
17 พ.ย. ระเบิดนิวตรอน
ในปี 1978 ที่มอสโคว์ ประเทศรัสเซีย Brezhnev ได้กล่าวว่าเขาได้ทำการทดลองระเบิดนิวตอรน
17 พ.ย. ระเบิดนิวเคลียร์
ในปี 1976 จีนได้ทดลองระเบิดนิวเคลียร์ที่มีแรงระเบิดสูงที่สุดเท่าที่เคยทดลองมา
17 พ.ย. พลังงานความร้อนจากพลังงานนิวเคลียร์
์ ในปี 1951 มีรายงานจากประเทศอังกฤษว่า ได้มีการพัฒนาระบบให้ความร้อนด้วยพลังงานนิวเคลียร์ขึ้นเป็นครั้งแรก
18 พ.ย. รังสีเอ๊กซ์
ในปี 1950 มีการประดิษฐ์กล้อง fluoro-record reflector ขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งสามารถถ่ายภาพจากรังสีเอ๊กซ์ได้เร็วขึ้น 6 เท่า โดยใช้สำหรับการตรวจวินิจฉัยทางเดินอาหาร ผู้ผลิตได้แก่ Fairchild Camera and Instrument Corp., Jamaica รัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา
25 พ.ย. การวิจัยปรมาณู
ในปี 1960 มีการเดินเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูสำหรับใช้ในงานวิจัยและพัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรกที่ Richland, Wa สหรัฐอเมริกา
26 พ.ย. ไซโคลตรอน
ในปี 1932 Ernest Orlando Lawrence ได้จดสิทธิบัตรของเครื่องไซโคลตรอน และได้รับรางวัลโนเบลสำหรับเครื่องเร่งอนุภาคตัวนี้ในปี 1939
28 พ.ย. พลังงานอะตอม
ในปี 1958 มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าปรมาณูของบริษัทเอกชนเป็นครั้งแรก โดยออกแบบมาให้ใช้เชื้อเพลิง uranium-235 กับthorium-232 ที่ Indian Point nuclear generating station เมือง Buchanan รัฐ New York โดยใช้เงินลงทุน 100 ล้านเหรียญ เป็นเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู แบบใช้น้ำความดันสูง ให้กำลังไฟฟ้า 275,000 กิโลวัตต์ การออกแบบก่อสร้าง ดำเนินการโดยบริษัท Babcock and Wilcox ให้กับบริษัท Consolidated Edison โรงไฟฟ้า Indian Point 1 ได้รับใบอนุญาตในการเดินเครื่องเมื่อ 26 เมษายน 1962 และปิดตัวลงเมื่อ 13 ตุลาคม 1974
29 พ.ย. การทดลองระเบิดปรมาณูใต้ดิน
ในปี 1951 สหรัฐอเมริกาทดลองระเบิดปรมาณูใต้ดินครั้งแรก โดยให้แรงระเบิด 1.2 กิโลตัน โดยฝังไว้ใต้ผิวดินลึก 17 ฟุต ที่ Frenchman Flat บริเวณทะเลสาบแห้งที่มีเนื้อที่ 123 ตารางไมล์ ที่ Nevada Test Site (NTS) โดยมีสมาชิกสภาคองเกรสและเจ้าหน้าที่ทหารร่วมสังเกตการณ์ การระเบิดนี้เป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการ Operation Buster-Jangle การระเบิดทำให้เกิดหลุมกว้าง 800 ฟุต ลึก 100 ฟุต ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐอเมริกา มีการทดลองอาวุธนิวเคลียร์บนเกาะที่อยู่ห่างไกล ในมหาสมุทรแปซิฟิก 5 ครั้ง เพื่อลดงบประมาณและเวลาในการส่งกำลังออกไป จึงหันมาทำการทดลองภายในประเทศ โดยเริ่มจากการทดลองบนอากาศ และการทดลองระเบิดใต้ดินในเวลาต่อมา
30 พ.ย. ระเบิดไฮโดรเจน
ในปี 1950 มีคำสั่งจากประธานาธิบดีทรูแมน ให้ทำการวิจัยและพัฒนาระเบิดไฮโดรเจน (H-bomb) ซึ่งเป็นระเบิดนิวเคลียร์แบบฟิวชัน โดยใช้ชื่อรหัสของโครงการว่า “Super” หมายถึงระเบิดแบบเทอร์โมนิวเคลียร์ ซึ่งให้แรงระเบิดสูงกว่าระเบิดแบบฟิชชันที่ใช้ในสงครามโลกครั้งที่สอง
ข่าวสารเพิ่มเติม