2 ธ.ค.
|
โรงไฟฟ้าพลังงานปรมาณู (Atomic power station) |
|
ในปี1957 สถานีผลิตไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แบบเต็มรูปแบบเครื่องแรกของสหรัฐอเมริกา ได้เริ่มการเดินเครื่อง ที่เมือง Shippingport รัฐ Pennsylvania ซึ่งเป็นเวลา 15 ปี ภายหลังจากที่ ได้ทำการทดลองที่มหาวิทยาลัย Chicago และ 21 วันต่อมา โรงไฟฟ้าได้เดินเครื่องเต็มกำลัง ที่ 60 เมกะวัตต์ เพื่อผลิตไฟฟ้าให้แก่เมือง Pittsburgh บริษัท Duquesne Light Co. ที่เมือง Pittsburgh ทำหน้าที่ก่อสร้างและเดินเครื่องโรงไฟฟ้า Shippingport ซึ่งตั้งอยู่ที่ริมแม่น้ำ Ohio River เครื่องปฏิกรณ์ได้รับการออกแบบโดย Westinghouse Electric Corporation ร่วมกับ Division of Naval Reactors ของ Atomic Energy Commission ประธานาธิบดี Dwight D. Eisenhower ได้ทำพิธีเปิด เมื่อ 26 พ.ค. 1958 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการปรมาณูเพื่อสันติ “Atoms for Peace” โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Shippingport หมดอายุและปิดตัวลงในปี 1982 |
|
ปฏิกิริยานิวเคลียร์ต่อเนื่อง (Atomic chain reaction) |
|
ในปี 1942 มีการสาธิตการเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ต่อเนื่อง ในเมือง Chicago รัฐ Illinois ที่มหาวิทยาลัย Chicago โดย Enrico Fermi และทีมงาน ประสบผลสำเร็จในการทำให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ต่อเนื่องได้เป็นครั้งแรกของโลก ในห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่ ภายใต้สนามฟุตบอลของมหาวิทยาลัย การทดลองได้เริ่มขึ้น เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 1942 ด้วยความพยายามอย่างสูง นักฟิสิกส์และผู้ช่วย ทำงานแข่งกับเวลาในการเรียงแท่งโลหะยูเรเนียม กับยูเรเนียมออกไซด์ที่บรรจุอยู่ในกราไฟต์ จำนวน 57 ชั้น โดยมีโครงสร้างไม้รองรับชั้นของแท่งกราไฟต์ ปฏิกิริยาต่อเนื่องนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการแมนฮัตตัน (Manhattan Project) ซึ่งเป็นโครงการลับในการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ในระหว่างสงคราม ทำให้เริ่มเข้าสู่ยุคใหม่ของนิวเคลียร์ การค้นพบนี้ถือเป็นการนำโลกเข้าสู่การเปลี่ยนแปลง |
8 ธ.ค.
|
ธาตุที่ 111 (Element 111) |
|
ในปี 1994 ประมาณ 1 เดือน หลังจากการประกาศ ถึงการสร้างธาตุที่ 110 ทีมนักวิทยาศาสตร์เยอรมัน นำโดย Peter Armbruster แห่ง Gesellschaft f?r schwerionenforschung (GSI) ที่เมือง Darmstadt ประเทศเยอรมันนี ได้ประกาศการสร้างธาตุที่ 111 ซึ่งในนิวเคลียสประกอบด้วย 111 โปรตอน 161 นิวตรอน ทำให้มีมวล 272 หน่วย ธาตุใหม่นี้ใช้ชื่อว่า unununium ใช้สัญลักษณ์ Uuu ตามระบบการตั้งชื่อธาตุใหม่ ธาตุนี้ถูกสร้างขึ้นเพียง 3 อะตอม จากการเร่งอะตอมของนิเกิล ยิงเข้าใส่ธาตุบิสมัท เมื่อหลอมรวมกันเกิดเป็นธาตุใหม่ที่มีอายุ 1/4000 วินาที ก่อนจะสลายตัวเป็นธาตุที่เล็กลง |
|
ปาฐกถาเรื่องปรมาณูเพื่อสันติ Atoms for Peace Speech |
|
ในปี 1953 ประธานาธิบดี Dwight Eisenhower ได้แสดงปาฐกถาเรื่อง ปรมาณูเพื่อสันติ (“Atoms for Peace”) ก่อนที่จะนำไปสู่เรื่อง the General Assembly of the United Nations โดยเสนอให้ก่อตั้ง International Atomic Energy Agency ให้ทำหน้าที่ในการหาวิธีการนำวัสดุนิวเคลียร์มาใช้ประโยชน์ต่อมนุษยชาติในทางสันติ … การนำพลังงานปรมาณูมาใช้สำหรับความต้องการทางการเกษตร ทางการแพทย์ และการใช้ทางสันติด้านอื่นๆ โดยเฉพาะการใช้ผลิตพลังงานไฟฟ้า ให้กับพื้นที่ที่ขาดแคลนของโลก ซึ่งนำไปสู่การเริ่มต้นใช้พลังงานนิวเคลียร์ในเชิงพาณิชย์ ไม่นานหลังจากนั้น สภาคองเกรส ได้ผ่านกฎหมาย the 1954 Atomic Energy Act ซึ่งเป็นครั้งแรก ของการใช้พลังงานปรมาณูด้วยวัตถุประสงค์ทางสันติ |
10 ธ.ค.
|
รางวัลโนเบล Nobel Prizes |
|
ในปี 1901 มีการตัดสินรางวัลโนเบล Nobel Prizes เป็นครั้งแรก ตามความต้องการของ Alfred Nobel โดยกษัตริย์สวีเดนเป็นผู้มอบรางวัลนี้ |
11 ธ.ค.
|
มารี คูรี ได้รับรางวัลโนเบลครั้งที่ 2 (Marie Curie earns second Nobel Prize) |
|
ในปี 1911 ที่กรุง Stockholm ประเทศสวีเดน มารี คูรี เป็นบุคคลแรกที่ได้รับรางวัลโนเบล 2 ครั้ง โดยในครั้งที่ 2 ได้รับจากผลงานการแยกแร่เรเดียม จากเรเดียมคลอไรด์ด้วยไฟฟ้า โดยเรดียมรวมกับปรอทเป็น amalgam ที่ขั้วลบ เมื่อให้ความร้อนกับ amalgam ในหลอดแก้วที่บรรจุด้วยกาซไนโตรเจนความดันต่ำ ทำให้ปรอทระเหยออกไป เหลือแต่เรเดียมบริสุทธิ์สีขาว รางวัลโนเบลที่ได้รับครั้งที่ 2 นี้ มารี คูรี ได้รับคนเดียวในสาขาเคมี ขณะที่รางวัลโนเบล ครั้งแรกซึ่งได้รับในปี 1903 นั้น ได้รับร่วมกับ สามี คือ ปิแอร์ คูรี (Pierre) กับ Henri Becquerel ในสาขาฟิสิกส์ จากการค้นพบธาตุเรเดียม (radium) และโปโลเนียม (polonium) |
13 ธ.ค.
|
อลูมิเนียม (Aluminium) |
|
ในปี1856 Charles Dickens ได้เขียนบทความเรื่อง Household Words แสดงความเห็นในการที่ Henri Sainte-Claire Deville’s ประสบความสำเร็จในการพัฒนากระบวนการผลิตอลูมิเนียม โดยทำนายว่า “อลูมิเนียมจะทำให้ดีบุกถูกผลักออกไปจากสายตา กระทะที่ทำด้วยทองแดงจะถูกนำไปเก็บ ชามที่ทำด้วยเงินจะไม่มีความหมาย” อลูมิเนียมเป็นธาตุที่มีมากเป็นอันดับสามของโลก โดยมีอยู่ประมาณ ร้อยละ 8 ของธาตุบนเปลือกโลก แต่เพิ่งจะมีการกระบวนการผลิตมาใช้งานได้ ในสมัยของ Dicken เมื่อร้อยกว่าปีมานี้ อลูมิเนียม ถือเป็นโลหะสามัญที่ถูกค้นพบหลังสุดเมื่อไม่นานมานี้ (ปี 1808) |
14 ธ.ค.
|
ดิวทีเรียม (Deuterium) |
|
ในปี 1933 Rutherford ได้เสนอชื่อ diplogen สำหรับธาตุใหม่ที่ถูกค้นพบ ว่าเป็นไอโซโทปที่หนักกว่าของธาตุไฮโดรเจน และเสนอชื่อ diplon สำหรับเรียกนิวเคลียสของไอโซโทปนี้ เขาเสนอความคิดนี้ในการอภิปราย เรื่อง Heavy Hydrogen ที่ Royal Society สำหรับไฮโดรเจนธรรมดา ซึ่งมีอะตอมที่เบาที่สุด นิวเคลียสประกอบด้วยโปรตอนอย่างเดียว เขาได้เสนอชื่อที่สัมพันธ์กันว่า haplogen ในภาษากรีก haploos แปลว่า เดี่ยว diploos แปลว่า คู่
ในปี 1931 Harold Urey ได้ค้นพบอะตอมของไฮโดรเจนหนัก (heavy hydrogen) ซึ่งหนักกว่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไฮโดรเจนปกติ ไฮโดรเจน-2 (hydrogen-2) นี้ ปัจจุบัน เรียกว่า ดิวทีเรียม (deuterium) ตามที่ Urey เสนอ โดยในภาษากรีก แปลว่า deuteros ที่สอง และเรียกนิวเคลียสของไอโซโทปนี้ว่า ดิวทีรอน (deuteron) ซึ่งประกอบด้วย 1 นิวตรอน และ 1 โปรตอน |
|
ควอนตัมฟิสิกส์ (Quantum physics) |
|
ในปี 1900 แมกซ์ แพลงค์ (Max Planck) นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ได้เสนอแนวคิดเรื่องควอนตัมฟิสิกส์ ในการประชุมของสมาคมฟิสิกส์เยอรมัน (German Physics Society) ซึ่งถือเป็นการปฏิวัติความเข้าใจทางด้านฟิสิกส์ของนักวิทยาศาสตร์ แพลงค์ได้แสดงให้เห็นว่า ในทางฟิสิกส์ วัตถุมีสถานะของระดับพลังงานที่แน่นอนเป็นค่าๆ ซึ่งในขณะนั้นไม่เคยมีใครที่คิดเรื่องนี้มาก่อน |
15 ธ.ค.
|
การปิดตัวครั้งสุดท้ายของโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล Chernobyl final shut down |
|
ในปี 2000 โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลในยูเครน ซึ่งประสบชะตากรรมเลวร้าย ก็ต้องปิดตัวลงอย่างถาวร หลังจากที่ เครื่องปฏิกรณ์ เครื่องที่ 3 ซึ่งเดินเครื่องเป็นตัวสุดท้าย ได้ปิดตัวลง 1 สัปดาห์ก่อนหน้า จากปัญหาทางเทคนิค และเป็นเวลา 14 ปี ภายหลังจากที่เครื่องปฏิกรณ์เครื่องหนึ่งได้ระเบิดขึ้น เมื่อ 26 เมษายน 1986 ซึ่งนับเป็นหายนะทางนิวเคลียร์ทางพลเรือนที่เลวร้ายที่สุด โรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล ได้ปิดตัวเครื่องปฏิกรณ์ลงทีละเครื่อง หลังจากการระเบิดในปี 1986 จากอุบัติเหตุไฟไหม้ ทำให้ต้องปิดตัวเครื่องถัดมา ในปี 1991 และเครื่องที่สาม ในปี 1996 โดยเครื่องปฏิกรณ์เครื่องสุดท้าย ได้จ่ายไฟฟ้าให้ประมาณ 5% ของ |
18 ธ.ค.
|
การปิดตัวของสถานีไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งแรก (Nuclear power station retired) |
|
ในปี 1957 สถานีไฟฟ้าพลังงานปรมาณู Shippingport ในรัฐ Pennsylvania ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดใหญ่แ ห่งแรกของโลก ที่ป้อนไฟฟ้าให้กับพื้นที่ Pittsburgh สถานี Shippingport ตั้งอยู่ที่ริมฝั่ง ห่างจาก Ohio River Pittsburgh 25 ไมล์ ประธานาธิบดี Dwight D. Eisenhower เป็นผู้ทำพิธีวางศิลาฤกษ์ ในปี 1954 เมื่อกฎหมาย Atomic Energy Act of 1954 อนุญาตให้เอกชนสามารถผลิตพลังงานนิวเคลียร์ในสหรัฐอเมริกา และได้ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 1958 หนึ่งปีหลังจากที่สหรัฐอเมริกา ทดลองระเบิดนิวเคลียร์ไปแล้ว 77 ลูก และเป็นการเปิดทางเป็นครั้งแรก เพื่อนำไปสู่ความตกลงในการห้ามทดลองอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งประกาศใช้ในปี 1982 และใช้อย่างสมบูรณ์ในปี 1989 |
|
โฟตอน (Photon) |
|
ในปี 1926 G.N. Lewis ได้สร้างคำว่า “photon” ขึ้นมา ในจดหมายที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature โดยเขาเสนอว่า มันอาจเป็นการไม่สมควรที่จะพูดว่า มีสมมติฐานเรื่องอนุภาคของแสง เม็ดของแสง ควอนตัมของแสง หรือชิ้นของแสง ถ้าเราคิดว่ามันเป็นเพียงส่วนหนึ่งของตัวพาพลังงานของรังสี แต่บางขณะก็เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของอะตอม บางครั้งอาจมีความสับสนในการสื่อถึงควอนตัมจริงๆ และต่อไปจะต้องแสดงและแยกให้เห็นชัดเจนระหว่างจำนวนเหล่านี้ในอะตอม และเรียกว่าเลขควอนตัม (quantum number) จึงขอเสนอว่าไม่เพียงแต่แสง แต่เป็นส่วนสำคัญในกระบวนทั้งหมดของรังสี เรียกว่า โฟตอน |
20 ธ.ค.
|
ไฟฟ้านิวเคลียร์ (Nuclear electricity) |
|
ในปี 1951 เวลา 13:50 น. เป็นครั้งแรกที่มีการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานปรมาณู จากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (turbine generator) ของ Experimental Breeder Reactor-1 (EBR-1) เมื่อ Walter Zinn และทีมนักวิทยาศาสตร์ของ Argonne National Laboratory ได้ทำให้ EBR-1 ซึ่งมีแกนขนาดลูกฟุตบอล เข้าสู่ระดับวิกฤต (โดยควบคุมให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ต่อเนื่องได้สม่ำเสมอ) เครื่องปฏิกรณ์เริ่มเดินเครื่อง และเพิ่มกำลังขึ้นทีละน้อยเป็นเวลาหลายชั่วโมง ในวันต่อมา EBR-1 ได้ผลิตไฟฟ้าได้สูงพอที่จะใช้ป้อนให้กับอาคารที่ใช้ทำการทดลองได้ เครื่องปฏิกรณ์นี้ได้ใช้ผลิตพลังงานและใช้ในการทดลอง จนกระทั่งหมดอายุในเดือนธันวาคม ปี 1963 เครื่องปฏิกรณ์ EBR-1 เริ่มก่อสร้างในปี 1949 ตั้งอยู่ระหว่าง Idaho Falls กับ Arco ในรัฐ Idaho ปัจจุบันได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ (Registered National Historic Landmark) |
|
นักฟิสิกส์รางวัลโนเบลคนแรก (First Nobel physicist) |
|
ในปี 1907 นักวิทยาศาสตร์ของสหรัฐ ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์คนแรก คือ Albert Michelson จากผลงาน Michelson Effect |
23 ธ.ค.
|
การผ่านระบบความปลอดภัยของออปเปนไฮเมอร์ถูกระงับ |
|
ในปี 1953 Dr. Robert Oppenheimer ซึ่งเคยเป็นหัวหน้าโครงการแมนฮัตตัน (Manhattan Project) ในการผลิตระเบิดปรมาณู ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้รับแจ้งว่า การผ่านระบบความปลอดภัยของเขาถูกระงับ เนื่องจากมีข้อกล่าวหาเขา ในเรื่องความซื่อสัตย์ต่อประเทศ และความเป็นคอมมิวนิสต์ เขาได้รับโทรเลขลงวันที่ 29 มกราคม 1954 ให้ไปรับฟังข้อกล่าวหา และได้ไปให้การครั้งแรกในวันที่ 4 มีนาคม 1954 หลังจากนั้น 2 สัปดาห์ คณะกรรมการ ซึ่งนำโดย Gordon Gray ได้กล่าวหาเขา ก่อนที่จะพิจารณาในวันที่ 12 เมษายน 1954 และมีผลการตัดสิน 4 ต่อ 1 ในวันที่ 29 มิถุนายน 1954 ห้าม Dr. J. Robert Oppenheimer ไม่ให้เข้าถึงข้อมูลในชั้นความลับ |
26 ธ.ค.
|
เรเดียม (Radium) |
|
ในปี 1898 Marie Sklodowska Curie นักวิทยาศาสตร์สัญชาติโปแลนด์ฝรั่งเศส (Polish-French) ได้ค้นพบธาตุกัมมันตรังสีเรเดียม ขณะที่ทำการทดลองแร่ pitchblende ซึ่งเป็นแร่ยูเรเนียม โดยพบว่าแร่ชนิดนี้มีกัมมันตภาพรังสี สูงกว่ายูเรเนียมบริสุทธิ์ แสดงว่าจะต้องมีธาตุชนิดอื่น ที่มีกัมมันตภาพรังสี สูงกว่ายูเรเนียมปะปนอยู่ ในระหว่างปี 1899 ถึงปี 1902 Marie Curie ได้ทดลองละลาย กรอง และตกผลึก แร่ pitchblende ประมาณ 3 ตัน เพื่อพยายามแยกตัวอย่างแร่ชนิดนี้ ซึ่งได้ออกมา 0.1 กรัม ซึ่งเป็นปริมาณที่เพียงพอในการทดลองทาง spectroscopy เพื่อหาน้ำหนักอะตอมที่แน่นอนของเรเดียม การค้นพบนี้ ประกอบกับการค้นพบธาตุโปโลเนียม (polonium) ทำให้คูรีได้รับรางวัลโนเบลครั้งที่สอง ในปี 1911 |
31 ธ.ค.
|
แบตเตอรีไฟฟ้ากัมมันตรังสี (Radioelectric battery) |
|
ในปี 1951 มีการประกาศถึงการใช้แบตเตอรี ที่แปลงพลังงานจากกัมมันตภาพรังสี เป็นไฟฟ้าเป็นครั้งแรก ผู้ประดิษฐ์ คือ Philip Edwin Ohmart จากเมือง Cincinnati รัฐ Ohio ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งประกอบด้วยขั้วไฟฟ้าที่ต่างกันคู่หนึ่ง ที่บรรจุอยู่ในกาซที่ไอออไนซ์ โดยการฉายด้วยพลังงานนิวเคลียร์ สำหรับเครื่องกำเนิดกระแสไฟฟ้านี้ Ohmart ทำให้เกิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ที่มีประสิทธิภาพ .01% ด้วยเซลล์ที่ทำด้วยแมกนีเซียมไดออกไซด์ (magnesium dioxide) กับตะกั่วไดออกไซด์ (lead-dioxide) ในกาซอาร์กอน (argon) และใช้ Ag110 เป็นต้นกำเนิดรังสี (radioactive source) |