ระเบิดกัมมันตรังสี “Dirty Bomb”
หลังจากเหตุการณ์เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 กลุ่มผู้ก่อการร้าย Al-Qaeda ได้ถูกติดตามความเคลื่อนไหว จากทางการสหรัฐอเมริกาอย่างเข้มงวด ทำให้ยากต่อการนำอาวุธนิวเคลียร์ อาวุธเคมี และอาวุธเชื้อโรค มาใช้ในการก่อการร้ายในสหรัฐอเมริกา ได้ ดังนั้นทางกลุ่ม Al-Qaeda พยายามหาวิธี ที่จะนำอาวุธแบบใหม่ ที่ยากต่อการตรวจจับ มาใช้ปฏิบัติการ โดยเมื่อต้นเดือนมิถุนายน 2545 ทางการสหรัฐอเมริกา ได้จับกุมตัวนาย Abdullah al Muhajir หนึ่งในสมาชิกกลุ่ม Al-Qaeda ในข้อหาเตรียมการวางแผน ที่จะก่อการร้ายในสหรัฐฯ ด้วยการใช้วัสดุอุปกรณ์กัมมันตรังสี (Radiological Device) หรือ “dirty bomb” ติดกับระเบิดธรรมดา
อนึ่ง ระเบิดกัมมันตรังสีหรือ dirty bomb เป็นอาวุธที่ไม่เคยถูกนำมาใช้ มีรายงานเพียงว่ารัฐบาลประเทศอิรักเท่านั้น ที่ได้ทำการทดลองอาวุธดังกล่าว เพื่อการวางกำลังในสนามรบ สาเหตุที่ไม่มีการนำมาใช้ทางทหาร เนื่องจากมีอำนาจการทำลายต่ำ อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ก่อการร้ายแล้ว อาวุธดังกล่าว เป็นอาวุธที่มีคุณค่าในการสร้างความหวั่นวิตก ให้กับประชาชนในวงกว้างได้
ความแตกต่างระหว่างอาวุธนิวเคลียร์ เคมี และชีวะ กับอาวุธกัมมันตรังสี อาวุธนิวเคลียร์ ต้องอาศัยแร่ยูเรเนียมและพลูโตเนียม อาวุธเคมีก็สามารถผลิตได้ จากปุ๋ยหรือยากำจัดแมลง หรือสารทำลายระบบปราสาท ซึ่งจะต้องอาศัยความรู้ ความชำนาญในการผลิต อาวุธเชื้อโรค สามารถทำลายคร่าชีวิตผู้คนได้ ถึงแม้จะมีปริมาณเพียงเล็กน้อยก็ตาม แต่ก็มีความยากลำบาก ในการที่จะปล่อยเชื้อออกไป ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังเช่นจดหมายที่ปนเปื้อนด้วยเชื้อแอนแทร็ก ที่ส่งไปทางไปรษณีย์ของสหรัฐ เมื่อปี 2544 แต่มีการรายงานผลว่า มีผู้ได้รับเคราะห์เพียง 18 ราย ในจำนวนนี้เสียชีวิตเพียง 7 รายเท่านั้น
ส่วนทางด้านระเบิดกัมมันตรังสีนั้น ในทางเทคนิค ไม่ใช่อาวุธที่มีอนุภาพ ในการทำลายล้างแต่ประการใด ความเสี่ยงของผู้ที่อยู่ในระยะใกล้ จะมาจากวัตถุระเบิดตามแบบ (conventional weapons) ที่ใช้ มากกว่าจะเป็นการแพร่กระจาก ของวัสดุกัมมันตรังสี และผลกระทบระยะยาว ของผู้ที่ได้รับสารกัมมันตรังสี ยังใข้อมูลที่แน่ชัด นาย Abel Gonzalez ผู้อำนวยการองค์การปรมาณูสากล (IAEA) กล่าวว่า ผลกระทบในระยะยาว ต่อสุขภาพของการได้รับรังสีอย่างรุนแรง ยังไม่เป็นที่ยืนยันแน่ชัด ถึงแม้อุปกรณ์เซ็นเซอร์จะตรวจจับการแพร่รังสีได้ เพียงเล็กน้อยก็ตาม แต่จะทำให้ประชาชน เกิดความหวาดกลัว เกี่ยวกับการแพร่รังสี
ดร. สมพร จองคำ ผู้อำนวยการกองฟิสิกส์ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ กล่าวถึง dirty bomb ว่าเป็นระเบิดธรรมดา ที่มีการยัดไส้ส่วนผสมสารกัมมันตรังสี อาทิ โคบอลท์-60 หรือซีเซียม-137 โดยอานุภาพการทำลายล้างไม่รุนแรง แต่จะสร้างความตื่นตระหนก ให้กับประชาชนในพื้นที่บริเวณนั้นมากกว่า เนื่องจากหลังเกิดระเบิดขึ้นในรัศมี 1-2 กิโลเมตร จะมีการปล่อยสารกัมมันตรังสี ที่เป็นส่วนผสมภายใน ไปปนเปื้อนในบริเวณต่าง ๆ ซึ่งการกวาดชะล้างไม่ใช่เรื่องง่ายนัก รวมทั้งน้ำและอาหาร ในบริเวณนั้นก็ไม่สามารถนำมาบริโภคได้
วัสดุที่จะนำมาใช้ผลิต dirty bomb เป็นประเภทของเสียคุณภาพต่ำ (low-grade waste) จากโรงงานไฟฟ้า และอุปกรณ์เล็กๆ ที่มีวัสดุกัมมัมตรังสี เช่น cesium-137 ที่ใช้ในการรักษาโรค มะเร็ง สารโคบอลท์-60 หรือ americum สารเหล่านี้สามารถนำไปใช้งานได้ ทั้งในวงการอุตสาหกรรม วงการแพทย์ และการค้นคว้าวิจัยในมหาวิทยาลัย และมีอยู่กระจัดกระจายทั่วโลก การควบคุมอุปกรณ์ดังกล่าว มีน้อยมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกอุปกรณ์อยู่ในสภาพที่ไม่ได้มีการใช้ประโยชน์
ในแต่ละปีเฉพาะประเทศสหรัฐฯ มีการพบว่า อุปกรณ์ประเภทมีการสูญหาย ถูกขโมย และถูกทิ้งขว้างจำนวนมาก นอกจากนั้น รัฐบาลของประเทศต่าง ๆ ก็ไม่ได้มีการบันทึกรายการ ของอุปกรณ์ที่ถูกทิ้งไว้ ตัวอย่างที่เกิดขึ้นในประเทศบราซิล เมื่อปี 2530 มีผู้ตัดกระบอกที่บรรจุสารผง cesium โดยรู้เท่าไม่ถึงการ ที่ได้ถูกขโมยมาจากคลินิกแพทย์ ซึ่งส่งผลทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 28 คนจากการไหม้ของสารกัมมันตรังสี
นายเฮนรี่ เคลลี่ ประธานสหสัมพันธ์ นักวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐฯ และนายริชาร์ด มีเสิร์ฟ ประธานคณะกรรมการ กำกับตรวจสอบวัตถุนิวเคลียร์กล่าวว่า dirty bomb สามารถสร้างความตื่นตระหนก แก่ประประชาชนมาก โดยยกตัวอย่างว่า หากใช้วัตถุระเบิดขนาดใหญ่ 4000 ปอนด์ กับสารกัมมันตรังสี ที่หาซื้อได้ง่ายในหลาย ๆ ประเทศ ไปวางระเบิดที่ลานจอดรถในกรุงวอชิงตัน แรงระเบิดอาจทำลายชีวิตผู้คน ได้นับหลายพันคน พร้อมกับแพร่กัมมันตรังสี ออกไปอย่างอ่อน ๆ ซึ่งไม่ทำให้ผู้คนต้องเสียชีวิต เหมือนระเบิดนิวเคลียร์ตัวจริง หรือแม้กระทั่งก่อให้เกิดโรคมะเร็ง ในระยะยาว แต่กว่าจะชำระล้าง จนกระทั่งผู้คนหายตื่นกลัว และกลับมาประกอบอาชีพกันใหม่ อาจต้องใช้เวลานานนับเดือน กว่าที่ผู้คนจะเริ่งยอมรับ หรือหากเกิดการระเบิด ในโรงงานที่มีการใช้พลังงาน จากก้อนโคบอลท์ ที่นิวยอร์ก กัมมันตรังสีจากแร่โคบอลท์ก้อนน้น อาจแผ่กว้างไปถึง 380 ตารางไมล์หรือ 1000 ตารางกิโลเมตร โอกาสที่ชาวนิวยอร์ก จะเป็นโรคมะเร็ง ก็มีโอกาสเพียง 1 ใน 100 เท่านั้น
สำหรับความเคลื่อนไหว ของกองทัพสหรัฐฯ สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า กองทัพสหรัฐฯ กำลังกักตุนกัมมันตรังสีอย่างเงียบ ๆ และกำลังวางแผน เพื่อส่งมอบยาเหล่านั้น ให้แก่กำลังพลในกองทัพสหรัฐฯ หากกองทัพสหรัฐฯ ได้รับผลพวงกัมมันตรังสี จากการถูกโจมตี หรืออุบัติเหตุ ตัวยาดังกล่าวได้แก่ ยาเม็ดโปตัสเซียมไอโอไดด์