พลังงานนิวเคลียร์ในศตวรรษที่ 21

การประชุมรัฐมนตรีนานาชาติ
เรื่อง “พลังงานนิวเคลียร์สำหรับศตวรรษ ที่ 21”

วันที่ 21 และ 22 มีนาคม 2005 Iณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
แถลงการณ์ครั้งสุดท้าย

ในการประชุมนานาชาติ เรื่อง พลังงานนิวเคลียร์สำหรับศตวรรษ ที่ 21 ที่จัดขึ้น ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ 21 และ 22 มีนาคม 2005 สำหรับรัฐมนตรี เจ้าหน้าที่รัฐระดับสูง และผู้เชี่ยวชาญจาก 74 ประเทศ และองค์กรระหว่างประเทศ 10 องค์กรเข้าร่วมประชุม การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นโดย ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency, IAEA) ร่วมกับ องค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization of Economic and development, OECD) และสำนักงานพลังงานนิวเคลียร์ (Nuclear Energy Agency, NEA) ภายใต้ OECD โดยมีรัฐบาลฝรั่งเศสเป็นเจ้าภาพ การจัดประชุมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะหารือกัน เกี่ยวกับอนาคต ของนโยบายด้านพลังงานนิวเคลียร์ โดยเฉพาะการตรวจสอบและการวิเคราะห์ ถึงศักยภาพของพลังงานนิวเคลียร์ ในการรองรับต่อความต้องการพลังงานในศตวรรษนี้ โดยให้ความสนใจต่อประเด็นที่สังคมกำลังกังวล และสิ่งที่สังคมคาดหวัง

ในระหว่างการประชุม มีการแสดงทัศนะและการปรึกษาหารือกันอย่างลึกซึ้ง โดยมีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวางในหมู่สมาชิก ซึ่งมีประเด็นโดยสรุป ดังนี้

  • แต่ละประเทศมีอิสระในการกำหนดนโยบายพลังงานของตนเอง โดยให้มีความสอดคล้องกับข้อตกลงนี้
  • การมีพลังงานและสามารถใช้พลังงานได้ เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาของมนุษยชาติ
  • การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมของโลก การลดมลภาวะของอากาศ และการลดความเสี่ยง ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศ เป็นสิ่งรัฐบาลของทุกประเทศ ต้องให้ความสำคัญอย่างจริงจัง
  • ในศตวรรษที่ 21 จะมีความต้องการแหล่งพลังงานที่หลากหลาย ในการทำให้เกิดเสถียรภาพของพลังงาน และทรัพยากรในการผลิตไฟฟ้าในทุกพื้นที่ของโลก จึงต้องมีความพยายาม ในการพัฒนาการใช้พลังงาน ให้มีประสิทธิภาพ ขณะที่ลดมลภาวะของอากาศ และการปล่อยกาซเรือนกระจก
มีการแสดงมุมมองที่แตกต่างกันอย่างหลาหลาย ในเบื้องต้น ผู้เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่ มีความเห็นร่วมกันว่า พลังงานนิวเคลียร์เป็นพลังงานหลักในการตอบสนองความต้องการพลังงาน และการรักษาเสถียรภาพในการพัฒนาของโลกในศตวรรษที่ 21 ประเทศส่วนใหญ่ ทั้งในกลุ่มประเทศพัฒนา และประเทศกำลังพัฒนา ได้มีความเห็นร่วมกัน ดังนี้
  • พลังงานนิวเคลียร์ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางอากาศ หรือปล่อยกาซเรือนกระจก
  • พลังงานนิวเคลียร์ เป็นเทคโนโลยีที่พิสูจน์แล้วว่า ภายใต้สถานการณ์ต่างๆ สามารถผลิตไฟฟ้าด้วยระดับราคาที่สามารถแข่งขันได้ เมื่อเปรียบเทียบกับการผลิตไฟฟ้า โดยใช้แหล่งพลังงานชนิดอื่น ซึ่งสามารถสนับสนุนการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ทั้งในระดับบุคคล บริษัท หรือระดับประเทศ
  • พลังงานนิวเคลียร์มีส่วนสนับสนุนต่อระบบความปลอดภัย ในการให้บริการ และรักษาเสถียรภาพราคาของพลังงาน ช่วยทำให้ลดการแกว่งตัวของราคาเชื้อเพลิงฟอสซิล
  • พลังงานนิวเคลียร์สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ โดยการนำไปใช้ผลิตน้ำดื่มและไฮโดรเจน
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมมีความเห็นว่า การส่งเสริมพลังงานนิวเคลียร์ ควรอยู่ภายใต้เงื่อนไขและข้อกำหนด ดังต่อไปนี้
  • รัฐจะต้องทำการป้องกันการแพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ โดยร่วมเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการสันติภาพ และความปลอดภัยนานาชาติ เพื่อร่วมกันในการใช้พลังงานนิวเคลียร์ และเทคโนโลยีนิวเคลียร์อย่างสันติ ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ รัฐจะยินยอมตามข้อผูกพัน และข้อตกลงตาม IAEA safeguards และวัตถุประสงค์ในการไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ และกำหนดกฎเกณฑ์ในการป้องกัน และควบคุมการส่งออกวัสดุนิวเคลียร์ อุปกรณ์ และเทคโนโลยี โดยมีกฎหมายควบคุมในแต่ละเรื่อง ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ในการไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ระหว่างประเทศ และระเบียบที่เกี่ยวข้อง พยายามเฝ้าระวังวัสดุนิวเคลียร์ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ที่สามารถใช้เผยแพร่อาวุธนิวเคลียร์ (เช่น enrichment, reprocessing) อย่างรอบคอบ เพื่อไม่ให้มีการส่งออกไปยังรัฐที่ต้องการนำไปใช้ผลิตอาวุธนิวเคลียร์
  • เพื่อรักษาความปลอดภัยนิวเคลียร์ (nuclear safety) ให้อยู่ในระดับสูงสุด ทุกรัฐจะต้องมี หรือมีการพัฒนาโครงการพลังงานนิวเคลียร์ ที่ให้ความสำคัญกับความเป็นปลอดภัยนิวเคลียร์เป็นลำดับแรก โดยให้ความสำคัญกับความร่วมมือนานาชาติ ในการส่งเสริมความปลอดภัยนิวเคลียร์
  • รัฐจะต้องจัดเตรียมสิ่งที่จำเป็น ในการทำให้เกิดความมั่นใจว่า วัสดุนิวเคลียร์และอุปกรณ์เครื่องมือนิวเคลียร์ มีระบบรักษาความปลอดภัยอยู่ในระดับสูงสุด
  • มีระบบจัดการเชื้อเพลิงใช้แล้วและกากนิวเคลียร์อย่างปลอดภัย มีเทคนิคการจัดการตั้งแต่ระดับการวิจัยและพัฒนา ไปจนถึงกากกัมมันตรังสีระดับสูง กากกัมมันตรังสีระดับปานกลางและระดับต่ำ ที่มีอายุยาว ถ้ามีการปฏิบัติอยู่แล้ว ต้องทำให้อยู่ในรูปโครงการของกระบวนการความก้าวหน้าแห่งชาติ (progressive national process) เพื่อแสดงต่อประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง รัฐมีพันธะและความรับผิดชอบ ในการทำให้เกิดความมั่นใจ ต่อการจัดการเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ และต้องทำให้เกิดความเชื่อมั่นว่าการใช้พลังงานนิวเคลียร์ จะไม่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อคนรุ่นต่อไปในอนาคต
  • โครงการวิจัยและพัฒนาระหว่างประเทศในปัจจุบัน มีการพัฒนาระบบนิวเคลียร์ใหม่ๆ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ ความปลอดภัย การจัดการกากกัมมันตรังสี และการไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งสามารถทำให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตอบสนองความต้องการและให้คำตอบที่เกี่ยวข้องแก่สังคม ตามสถานะของแต่ละรัฐ
IAEA มีบทบาทในการพัฒนาและการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในทางสันติ และทำให้เกิดความมั่นใจให้มีในการใช้ทางสันติ โดยให้ความช่วยเหลือรัฐบาลในการรักษาระบบความปลอดภัยให้อยู่ในระดับสูง ให้การสนับสนุนความร่วมมือระดับนานาชาติในการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับพลังงานนิวเคลียร์แก่สาธารณชน โดย OECD / NEA มีบทบาทสำคัญในการวิเคราะห์วัตถุประสงค์ของการใช้พลังงานนิวเคลียร์
ข่าวสารเพิ่มเติม