ผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการก่อการร้ายและการจัดการ |
|||
ภายหลังจากเหตุการณ์ก่อการร้าย เมื่อ 11 กันยายน 2544 สังคมชาติเสรี ต้องเผชิญกับภัยการก่อการร้าย ที่ส่งผลภยันตราย ต่อสาธารณสุข สิ่งแวดล้อม และความปลอดภัยของประชาชน อาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างมวลมนุษย์ (Weapon of Mass Destruction – WMDs) ทั้งที่เป็นเชื้อโรค กาซพิษ และนิวเคลียร์ ก่อให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม การก่อการร้ายโดยอาวุธ WMDs จะมุ่งหมายบริเวณที่ประชากรหนาแน่น ตลอดจนแหล่งทรัพยากรสิ่งแวดล้อม สารเคมีจากโรงงานอุตสาหกรรม หรือจากการขนส่งสารเคมี ที่สามารถปนเปื้อนต่อแหล่งน้ำใช้ เช่น อ่างเก็บน้ำ น้ำใต้ดิน หรือการก่อการร้ายโดยปล่อยเชื้อโรค (Biological Agents) ลงสู่แหล่งน้ำใช้ เป็นสิ่งที่ต้องพึงระวัง ในด้านอากาศนั้น การก่อการร้ายโดยการปล่อยกาซ หรือสิ่งที่พัดพาไปทางอากาศได้ จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรง ต่อคุณภาพอากาศ ตลอดจนจะทำลายพืชเกษตรกรรม และสัตว์ป่า เป็นต้น |
|||
สารกัมมันตรังสี หากมีการแผ่กระจายสู่สิ่งแวดล้อม จะปนเปื้อนดิน และตึก อาคารบ้านเรือน ทำให้ไม่สามารถอยู่อาศัย หรือใช้ประโยชน์ได้ จนกว่าจะทำการกำจัดก่อน ในส่วนสารติดไฟ จะก่อให้เกิดไฟป่า ซึ่งจะทำลายป่าไม้ พืชผลทางการเกษตร ตลอดจนอาคารที่อยู่อาศัย
เชื้อโรคที่ก่อให้เกิดโรค เช่น แอนแทรกซ์ จะสามารถทำลายพืชผล สัตว์เลี้ยง ตลอดจนชาวนาชาวสวน หรือเชื้อที่สามารถติดต่อได้ง่าย เช่น เชื้อโรควัวบ้า โรคปากเปื่อย เท้าเปื่อย จะทำให้ผลผลิตเนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์นมเสียหาย |
|||
|
|||
ในการวางแผนจัดการ เพื่อต่อกรกับการก่อการร้ายด้วย WMD นั้น สามารถแบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ระยะแรก ได้แก่ การวิเคราะห์ภัยอันตราย และวางแผน (Hazard Analysis/Planning) โดยทีมด้านสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัย ควรต้องคุ้นเคยกับชนิดของ WMD และรู้ว่า ควรชี้ให้เห็นถึงผลกระทบที่มีต่อมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อมอย่างไร ตลอดจนทำการสำรวจ อาคารหรือแหล่งที่น่าเป็นเป้าหมาย สำหรับการก่อการร้าย และจุดอ่อน จุดแข็งของตนเอง จากนั้น นำผลมาพิจารณา พัฒนาเป็นแผนป้องกันอาคารหรือโรงงาน และการตอบโต้ต่อเหตุการณ์ ในระยะที่สอง ได้แก่ การติดตามตรวจสอบ บริเวณที่ตั้งโรงงาน เพื่อพิจารณาผลกระทบในระยะสั้น และระยะยาวจาก WMD ทั้งนี้ โดยการเก็บตัวอย่างอากาศ น้ำใต้ดิน การทดสอบสารปนเปื้อน และสังเกตสัตว์ และพืชพันธุ์ในชุมชน การควบคุมความปลอดภัย ในการเข้าโรงงาน หรือบริเวณกระบวนการผลิต ที่มีสารพิษ ตลอดจนกำหนดบริเวณควบคุม ในโรงงานที่เกี่ยวกับ สารของเหลวติดไฟได้ สารพิษ หรืออื่นๆ ที่อาจจะมีการนำไปใช้ เป็นสาร WMD และการสร้างเครือข่าย ความร่วมมือ กับหน่วยราชการในพื้นที่ ที่ทำหน้าที่ดับเพลิง และการควบคุมกฎหมาย และการปฏิบัติการฉุกเฉิน ระยะที่สาม ได้แก่ การจัดการวิกฤติกาล (Crisis Management) โดยพัฒนาแผน เมื่อต้องรับกรณีเหตุการณ์ WMD เช่น มีการปล่อยสารเคมี โรงงานอุตสาหกรรมติดไฟ และระเบิด ทั้งนี้ โดยตั้งกรณีร้ายแรง (Worst Case Scenarios) ขึ้น เพื่อสร้างโครงสร้างการสั่งการ (Command Structure) ที่สามารถดำเนินการได้จริงๆ
การฝึกอบรม เครื่องมืออุปกรณ์ และการซ้อมแผนปฏิบัติการฉุกเฉิน สำหรับรับเหตุการณ์ก่อการร้าย เป็นสิ่งจำเป็น เพื่อความเตรียมพร้อมต่อเหตุการณ์จริง ในขั้นสุดท้ายคือ การจัดการผลที่ตามมา (Consequence Management) ได้แก่ การเตรียมตัว เพื่อดูแลสถานการณ์ภายหลังเกิดเหตุ ซึ่งมักมีผู้เสียชีวิต และความเสียหายทางสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ รวมถึงการประสานงาน กับโรงพยาบาล และหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อม และฉุกเฉินในพื้นที่ เช่น สถานีตำรวจ องค์กรพิทักษ์สิ่งแวดล้อม และตำรวจดับเพลิง เป็นต้น |
|||
ที่มา : Environmental Protection, May 2002) |