บริษัท Burns and Roe เป็นผู้ศึกษาความเป็นไปได้ในโครงการก่อสร้าง โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ของประเทศไทย

บริษัท Burns and Roe เป็นผู้ศึกษาความเป็นไปได้ในโครงการก่อสร้าง โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ของประเทศไทย

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้แต่งตั้งให้บริษัท Burns and Roe Group Incorporated (Oradell, New Jersey) ประเทศสหรัฐอเมริกา ดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แห่งแรก ขนาด 1,000-MW

รายงานผลการศึกษาที่เสร็จสมบูรณ์ จะมีการนำเสนอในปี 2010 ซึ่งคาดว่าจะลงทุนประมาณ 38.3 ล้านเหรียญ โดยกองทุนอนุรักษ์พลังงาน (Energy Conservation Fund of Thailand) จะลงทุน 21.4 ล้านเหรียญ ขณะที่ กฟผ. จะลงทุนในส่วนที่เหลือ การศึกษานี้จะมีการเสนอสถานที่ตั้งที่เหมาะสม สำหรับก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และมีการพิจารณาและให้ข้อเสนอแนะทางด้านเทคโนโลยี มาตรฐานความปลอดภัยด้านสิ่งแวดล้อม การจัดการด้านบุคลากรและการฝึกอบรม กระบวนการด้านกฎหมาย และกระบวนการด้านการเงินของโครงการ

การศึกษานี้จะรวมถึงการเลือกเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่จะนำมาใช้ในประเทศไทย ในระหว่างเครื่องปฏิกรณ์ 3 ชนิด ที่มีการใช้ทั่วโลก ได้แก่ เครื่องปฏิกรณ์แบบใช้น้ำความดันสูง (pressurized water reactors) เครื่องปฏิกรณ์แบบ CANDU (Canada deuterium uranium) และเครื่องปฏิกรณ์แบบน้ำเดือด (boiling water reactors) ซึ่งปัจจุบันเครื่องปฏิกรณ์ที่ใช้กันมากที่สุด คือ เครื่องปฏิกรณ์แบบใช้น้ำความดันสูง โดยในจำนวนเครื่องปฏิกรณ์ 442 เครื่อง ที่เดินเครื่องอยู่ในปัจจุบัน เป็นเครื่องปฏิกรณ์แบบใช้น้ำความดันสูง 61%

บริษัทชั้นนำ 5 แห่ง ทางด้านวิศวกรรม ด้านจัดหา ด้านก่อสร้าง รวมทั้ง Burns and Roe ต่างก็อยู่ในโครงการศึกษานี้ ซึ่งประกอบด้วยบริษัท Black & Veatch (Kansas City, Missouri, สหรัฐอเมริกา), Newjec Incorporated (Osaka, ญี่ปุ่น), Japan Atomic Power Company (Tokyo, ญี่ปุ่น) และ AF Colenco AG (Baden, สวิตเซอร์แลนด์) ส่วนที่เหลือเป็นบริษัทของไทย ซึ่งมีแผนที่จะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 2 แห่ง ที่จะเดินเครื่องในปี 2020 โดยเริ่มก่อสร้างในปี 2014 ทั้งโครงการมีแผนที่จะสร้างเครื่องปฏิกรณ์ 4 เครื่อง ด้วยงบประมาณ 8 พันล้านเหรียญ สำหรับผลิตไฟฟ้า 4,000-MW

 

การศึกษาความเป็นไปได้ด้านสถานที่ตั้งของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จะเสร็จสิ้นตอนปลายปี 2009 หรือต้นปี 2010 โดยที่ตั้งที่เหมาะสมสำหรับก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์จะอยู่ทางภาคใต้ของประเทศ เนื่องจากทำเลที่ตั้งและการมีแหล่งน้ำสำหรับระบายความร้อน กฟผ. ได้พิจารณาสถานที่ที่มีศักยภาพ จำนวน 50 แห่ง และได้จำกัดลงเหลือ 10 แห่ง โดย กฟผ” จะมีผู้ดำเนินการในการลงทุน ก่อสร้าง และเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ซึ่งได้เริ่มมีแผนในการรณรงค์สร้างความรู้ให้แก่ประชาชน ในบริเวณที่จะเลือกให้เป็นสถานที่ตั้งของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ซึ่งคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในปี 2014

ประเทศไทยได้ใช้แผนพัฒนาพลังงาน (power development plan) ระยะ 15 ปี (2007-2021) ซึ่งได้รวมพลังงานนิวเคลียร์เข้าไว้ในแผนนี้ด้วย ประเทศไทยอาศัยก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้าสูงถึง 70% แหล่งพลังงานชนิดอื่น ได้แก่ พลังงน้ำ น้ำมัน และถ่านหิน โดยพลังงานน้ำส่วนใหญ่จะนำเข้าจากต่างประเทศ ผู้เชี่ยวชาญได้ชี้ให้เห็นว่า ก๊าซธรรมชาติจะขาดแคลนใน 20 ปีข้างหน้า สำหรับประเทศไทย แหล่งพลังงานหมุนเวียนยังมีการพัฒนาไม่เต็มที่ และมีศักยภาพที่ไม่สูงนัก

ประเทศไทยมีการใช้พลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 5%-6% ต่อปี จึงให้ความสนใจในการพัฒนาแหล่งพลังงานอื่น โดยเฉพาะพลังงานนิวเคลียร์ เพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการพลังงานไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ใช้เงินลงทุนสูงมาก กฟผ. ได้แสดงให้เห็นว่า การผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานนิวเคลียร์ มีต้นทุนต่ำกว่าแหล่งพลังงานชนิดอื่น การผลิตไฟฟ้า 1 หน่วย ถ่านหินมีต้นทุน 0.06 เหรียญ เชื้อเพลิงชีวมวลมีต้นทุน 0.075 เหรียญ พลังงานแสงอาทิตย์มีต้นทุน 0.58 เหรียญ ขณะที่พลังงานนิวเคลียร์คาดว่าจะมีต้นทุน 0.058 เหรียญ กฟผ. คาดว่า เมื่อโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์เดินเครื่อง จะผลิตไฟฟ้าได้ 10% ของกำลังการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด

บริษัท Burns and Roe ก่อตั้งในปี 1932 และทำงานร่วมกับ กฟผ. มาตั้งแต่ทศวรรษ 1980 บริษัทแห่งนี้ มีพนักงาน 1900 คน ทำงานอยู่ในโครงการด้านการออกแบบและวิศวกรรมโรงไฟฟ้า อุตสาหกรรม และโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ทั่วโลก บริษัทแห่งนี้ถูกจัดอันดับให้เป็นอันดับที่ 9 ใน 25 บริษัทชั้นนำที่ออกแบบโรงไฟฟ้าที่มีความมั่นคง และ 25 บริษัทชั้นนำที่ออกแบบโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงฟอสซิลที่มีความมั่นคง ของ Engineering News Record’s ปี 2007

ถอดความจาก Burns and Roe Undertake Feasibility Study for Thailand’s Nuclear Power Program
เวบไซต์ www.pump-zone.com

 

ข่าวสารเพิ่มเติม