นักวิจัยพัฒนาเทคนิคการตรวจหารอยนิ้วมือ

นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซึ่งปฏิบัติงานอยู่ที่ห้องปฏิบัติการแห่งชาติลอสอลามอส (Los Alamos National Laboratory) ได้พัฒนาเทคนิคใหม่ในการตรวจหารอยนิ้วมือ โดยใช้หลักการตรวจธาตุที่อยู่ในรอยนิ้วมือ เทคนิคนี้เรียกว่า การเรืองรังสีเอ๊กซ์แบบไมโคร (micro-X-ray fluorescence) หรือ MXRF ศักยภาพของเทคนิคนี้ จะช่วยขยายขอบเขตของการใช้รอยนิ้วมือ ในการเป็นเครื่องมือ ที่ช่วยประเมินผลทางด้านนิติวิทยา (forensic)

นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซึ่งปฏิบัติงานที่ห้องปฏิบัติการแห่งชาติลอสอลามอส ได้พัฒนาเทคนิคใหม่ในการตรวจหารอยนิ้วมือ โดยตรวจวัดปริมาณธาตุที่มีอยู่ในรอยนิ้วมือนั้น

ในการแถลงผลงานวิจัยในที่ประชุม American Chemical Society ครั้งที่ 229 ที่ซานดิอาโก รัฐแคลิฟอร์เนีย Christopher Worley นักวิทยาศาสตร์จากลอสอลามอส (Los Alamos) อธิบายว่า การตรวจหารอยนิ้วมือ ใช้หลักการตรวจหาธาตุองค์ประกอบโดยใช้เทคนิคการเรืองรังสีเอ๊กซ์แบบไมโคร (micro-X-ray fluorescence) โดยหาว่าเกลือ เช่น โซเดียมคลอไรด์ และโปแตสเซียมคลอไรด์ ที่ถูกขับออกมากับเหงื่อ สามารถตรวจวัดปริมาณที่อยู่ในรอยนิ้วมือได้

เทคนิค MXRF สามารถตรวจวัดปริมาณธาตุโซเดียม โปแตสเซียม และคลอรีนที่มีอยู่ในเหงื่อ รวมทั้งธาตุอื่นๆ ได้อีกหลายชนิด ในแต่ละจุดตามตำแหน่งบนพื้นผิวที่ตรวจพบธาตุนั้น ทำให้สามารถมองเห็นรอยนิ้วมือได้ จากการตรวจวัดรูปแบบของปริมาณเกลือในรอยนิ้วมือ ซึ่งจะมีเส้นของรอยนิ้วมือ (friction ridges)

เทคนิคนี้มีข้อได้เปรียบหลายประการ ที่เหนือกว่าวิธีการตรวจหารอยนิ้วมือทั่วไป ที่ใช้ผง ของเหลว หรือไอระเหย ทำให้เกิดสีบนรอยนิ้วมือบนตำแหน่งที่สงสัย เพื่อให้ถ่ายภาพได้ง่าย การใช้เทคนิคนี้ เรียกว่า การปรับเพิ่มคอนทราสต์ (contrast enhancement) ซึ่งบางครั้งจะตรวจหารอยนิ้วมือได้ยาก บนพื้นผิววัสดุบางอย่าง เช่น พื้นที่มีหลายสี เส้นใยกระดาษ เส้นใยผ้า ไม้ หนัง พลาสติก กาว และผิวหนัง รอยนิ้วมือของเด็กมักจะตรวจหาได้ยาก เนื่องจากไม่มี sebum และการขับน้ำมันของต่อม sebaceous ใต้ผิวหนัง ซึ่งไปจับกับสารเพิ่มคอนทราสต์ การเติมสีลงไปบนรอยนิ้วมือ โดยใช้เทคนิคการปรับเพิ่มคอนทราสต์ที่ใช้ทั่วไป บางครั้งจึงมีข้อจำกัดที่จะประสบความสำเร็จ

Worley ได้กล่าวตอนท้ายว่า MXRF ไม่ใช่ยาครอบจักรวาล ในการตรวจหารอยนิ้วมือได้ทุกชนิด เนื่องจากรอยนิ้วมือบางอย่าง อาจจะมีปริมาณธาตุไม่เพียงพอจะให้ตรวจวัดได้ แต่เทคนิคนี้ อาจจะมองได้ว่า เป็นองค์ประกอบที่ช่วยให้การใช้เทคนิค contrast enhancement ตามปกติ และเนื่องจากเทคนิคนี้ ไม่มีขั้นตอนที่ต้องใช้สารเคมี นอกจากจะไม่เสียเวลามากแล้ว ยังทำให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น

เนื่องจากเทคนิค MXRF ไม่จำเป็นต้องสัมผัสกับตัวอย่าง เมื่อวิเคราะห์รอยนิ้วแล้ว ตัวอย่างจึงอยู่ในสภาพเดิม ซึ่งสามารถนำไปวิเคราะห์ต่อด้วยเทคนิคอื่น เช่น การแยกดีเอ็นเอ (DNA extraction)

นอกจาก Worley แล้ว ทีมวิจัยและพัฒนาเทคนิค MXRF ยังประกอบด้วย Sara S. Wiltshire, Thomasin C. Miller, George J. Havrilla และ Vahid Majidi

ถอดความจาก Researchers Develop Fingerprint Detection Technology
เว็บไซต์ www.sciencedaily.com
ข่าวสารเพิ่มเติม