ความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการผลิตไฟฟ้า
ด้วยพลังงานนิวคลียร์ |
|||
บทความนี้ คัดลอกมาจากบทความเรื่อง “Reactions” ตีพิมพ์ในวารสาร American Nuclear Society, volume 14 September 1998 ผู้เขียนต้องการแสดงให้เห็นว่า ความจริงแล้ว โรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหินและน้ำมัน มีปริมาณรังสี ที่ปลดปล่อยออกมาสู่สิ่งแวดล้อม มากกว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เนื่องจาก มีไอโซโทปรังสีปริมาณเล็กน้อย อยู่ในวัตถุทุกอย่างในธรรมชาติ ซึ่งจะออกมาพร้อมกับกาซ ที่ปล่อยออกมาจากโรงไฟฟ้า ซึ่งเชื้อเพลิงฟอสซิลปริมาณมาก ที่ถูกเผาไหม้ไปในแต่ละวัน จะให้ไอโซโทปรังสีปริมาณมากออกมาเช่นกัน
การใช้พลังงานนิวเคลียร์ในการผลิตไฟฟ้า ยังมีสิ่งที่เข้าใจผิดกันอยู่มาก ซึ่งทำให้เป็นปัญหาในสังคมของเรา (อเมริกัน) ตัวอย่างเช่น ความไม่เข้าใจ ทำให้มีการต่อต้านการเติบโตในการใช้พลังงานนิวเคลียร์ ทำให้มีความหวังริบหรี่ ในการที่สหรัฐอเมริกาจะมีอากาศที่สะอาด ในเวลาอันใกล้นี้ ดังที่ประชุมเกียวโตเมื่อไม่นานมานี้ คาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมากที่ถูกปล่อยออกสู่บรรยากาศในทุกวันนี้ มาจากการเผาไหม้ในโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหิน และโรงไฟฟ้าที่ใช้กาซธรรมชาติ ในปริมาณครึ่งหนึ่งของโรงไฟฟ้าถ่านหิน สถานการณ์จะเลวร้ายมากกว่านี้ ถ้าเรามีการใช้ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ไม่มีกาซคาร์บอนไดออกไซด์ กาซซัลเฟอร์ หรือกาซไนโตรเจน ออกมา ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดฝนกรด และมีผลที่สำคัญต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชน |
|||
โรงไฟฟ้าถ่านหิน |
|||
การขาดความเข้าใจ ทำให้ประชาชนได้รับข้อมูลไปในทางที่ผิด ตัวอย่างเช่น ในตอนที่เกิดอุบัติเหตุที่โรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล ในยูเครน ในปี 1986 หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง รายงานว่า มีคนตายกว่า 20,00 คน แต่ในความเป็นจริง นับถึงปี 1995 มีคนตายเนื่องจากอุบัติเหตุนี้ 34 คน และผู้ที่รณรงค์ต่อต้านนิวเคลียร์ ออกมาบอกว่า พลูโตเนียม 1 ปอนด์ สามารถฆ่าคนได้ 8 พันล้านคน แต่ในช่วงเวลา 50 ปีที่ผ่านมา มีการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ ที่ทำให้พลูโตเนียมถูกปล่อยออกสู่บรรยากาศถึง 10,000 ปอนด์ ถ้าใช้ค่านี้ในการคำนวณ จะมีจำนวนคนตายสูงกว่าประชากรคนทั้งโลกหลายพันเท่า เรื่องนี้จึงมีความสำคัญ ในการที่จะนำความจริง เกี่ยวกับพลังงานนิวเคลียร์ ออกเปิดเผยต่อสาธารณชน | |||
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล |
|||
ความจริงเกี่ยวกับผลต่อสุขภาพ
พลังงานนิวเคลียร์ ได้มาจากปฏิกิริยาฟิชชันของยูเรเนียม และพลูโตเนียม ซึ่งให้รังสีออกมาด้วยเช่นกัน หลายคนเชื่อว่า รังสีที่ให้ออกมานี้ เป็นรังสีแบบใหม่ แตกต่างจาก”background radiation” ซึ่งเป็นรังสีจากธรรมชาติ ที่เราได้รับในชีวิตประจำวัน จากดวงอาทิตย์ จากพื้นโลก จากภายในตัวเรา รังสีปริมาณสูง เช่นที่มาจากระเบิดปรมาณูนั้นอันตรายมาก แต่ 80% ของผู้ที่เสียชีวิตที่ฮิโรชิมา และนางาซากิ ที่ประเทศญี่ปุ่น ในปี 1945 มีสาเหตุมาจากเปลวไฟ ความร้อน และแรงคลื่นกระแทก (blast) ไม่ใช่รังสี ระดับรังสี ที่ประชาชนได้รับจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ต่ำกว่ารังสีจากระเบิดหลายพันเท่า ในการทำงานปกติ รังสีที่ออกจากมาโรงไฟฟ้าน้อยมากจนไม่สามารถวัดได้ ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ รังสีที่ออกมาก็น้อยมาก จนไม่สามารถยืนยันได้ว่า มีประชาชนทั่วไป เสียชีวิตหรือไม่ จากการที่รังสีรั่วไหลออกมาในอุบัติเหตุที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ บนเกาะ Three Mile Island ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี 1979 ซึ่งเป็นอุบัติเหตุใหญ่ครั้งเดียว ในประวัติศาสตร์การใช้พลังงานนิวเคลียร์ 37 ปี ของสหรัฐอเมริกา นอกจากนั้น ได้มีข้อโต้แย้งกันที่สำคัญในวงการวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับ การกำหนดระดับปริมาณรังสีต่ำที่สุด (low levels of radiation) ที่จะทำให้เกิดอันตราย นักวิทยาศาสตร์ฝ่ายหนึ่งเชื่อว่าต้องให้ต่ำที่สุด ขณะที่อีกฝ่ายเชื่อว่า ไม่เพียงแต่ไม่ให้เกิดอันตรายเท่านั้น แต่ต้องสามารถนำไปปฏิบัติได้ นักวิทยาศาสตร์ไม่พบผลที่เกิดกับการเปลี่ยนแปลงของยีนส์ ในเด็ก 30,000 คน ที่เกิดจากพ่อแม่ที่ได้รับรังสีจากระเบิดปรมาณู ปกติแล้ว พลูโตเนียม ไม่ใช่วัสดุที่เป็นอันตรายที่สุดในโลก อย่างที่กล่าวกัน แต่ความอันตรายนั้นพอๆ กับเรเดียม ซึ่งมีการใช้กันบนหน้าปัดนาฬิกาเมื่อก่อนนี้ ตามที่เราเคยทราบกันมาแล้วเกี่ยวกับเรเดียมว่า ในปี 1915 ถึง 1925 มีการว่าจ้างสตรี 4,000 คน ในโรงงงานนาฬิกา ให้ทาเรเดียมลงบนหน้าปัทม์นาฬิกา โดยใช้พู่กันขนาดเล็ก ซึ่งคนเหล่านี้ใช้พู่กันแตะปลายลิ้น เพื่อทำให้ปลายพู่กันแหลม ทำให้ได้รับเรเดียมจำนวนมากเข้าไปในร่างกาย และทำให้ประมาณ 2% ของคนเหล่านี้ เสียชีวิตเนื่องมาจากมะเร็งกระดูก หลังจากปี 1925 จึงมีการห้ามใช้ลิ้นกับเรเดียม และไม่มีการเสียชีวิตเพราะมะเร็งจากเรเดียมอีก เรายังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดเกี่ยวกับพลูโตเนียม แต่จากผู้ที่ทำงานอยู่ในห้องปฏิบัติการ และโรงพยาบาล ประมาณ 50 – 75 ราย และได้รับพลูโตเนียมเข้าไปในร่างกาย ยังไม่มีการเสียชีวิต หรือเห็นการเปลี่ยนแปลง Professor Bernard Cohen แห่งมหาวิทยาลัย Pittsburgh ได้อาสารับประทานพลูโตเนียมเข้าไป 1 กรัม เพื่อแสดงให้เห็นว่า อันตรายไม่ได้สูงไปกว่าการกินคาเฟอีนเข้าไป 1 กรัม |
|||
|
|||
ความจริงเกี่ยวกับความปลอดภัย
แม้ว่าจะไม่เหมือนกันหมดทุกแห่ง แต่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ก็ถือว่ามีสถิติของความปลอดภัยสูง มีอุบัติเหตุของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เพียงแห่งเดียวในโลกเท่านั้น ที่มีรังสีรั่วไหลออกมาจนเกิดอันตรายต่อประชาชน คือที่ เชอร์โนบิล ขณะเกิดอุบัติเหตุ มีเจ้าหน้าที่ของโรงไฟฟ้าเสียชีวิต 28 คน เนื่องจากรังสี และ 3 คน จากการระเบิดและไฟไหม้ ภายหลังมีเด็กเสียชีวิตในปี 1995 อีก 3 คน เนื่องจากมะเร็งของต่อมไทรอยด์ จากการศึกษาของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency, IAEA) ในปี 1991 และการศึกษาโดย Organization for Economic Co-Operation and Development ในปี 1995 สรุปว่าไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนเนื่องจากรังสี มากไปกว่านี้ เราไม่ทราบแน่ชัดว่าปริมาณรังสีจะมากกว่านี้อีกเท่าใด จึงจะทำให้เสียชีวิตในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ คาดว่าจะมีผู้เสียชีวิตจากการเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์มากขึ้น ในจำนวนผู้ที่เข้าไปทำความสะอาด 800,000 คน แต่ละคนได้รับรังสีเฉลี่ย 10 Rem แต่นักวิทยาศาสตร์ไม่มีผลการทดลอง หรือข้อมูลที่แสดงถึงผลของการได้รับรังสีมากกว่า 10 Rem ด้วยเหตุนี้ นักวิทยาศาสตร์จึงเชื่อว่าจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด จะอยู่ในระดับร้อยคน แต่นักวิทยาศาสตร์ที่มองในแง่ร้าย คาดว่าจะมีผู้เสียชีวิตหลายร้อยคนต่อปี เป็นเวลาหลายสิบปี จำนวนเหล่านี้ ถ้าเปรียบเทียบกับการผลิตไฟฟ้าโดยวิธีอื่น ตัวอย่างเช่น ในปี 1979 มีผู้เสียชีวิต 15,000 คน ในอินเดียจากอุบัติเหตุของเขื่อน จากข้อมูลผลการศึกษาของ Harvard School of Public Health และ American Cancer Society ทำให้ Natural Resources Defense Council ประมาณการได้ว่า มีชาวอเมริกันในตัวเมือง เสียชีวิตปีละ 239 คน จากการสูดเอาละอองที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลเข้าไป คิดรวมทั้งประเทศ ประมาณ 100,000 ต่อปี ซึ่งโรงไฟฟ้าถ่านหินเป็นสาเหตุหลัก ประมาณหนึ่งในสามของผู้เสียชีวิตเหล่านี้ หรือ 33,000 คนต่อปี ถ้าคิดรวมทั้งโลก จำนวนจะสูงกว่านี้มาก ถ้านำโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ซึ่งไม่มีการปล่อยละอองอนุภาคเหล่านี้ออกมา แทนที่โรงไฟฟ้าถ่านหิน จะสามารถรักษาชีวิตผู้คนได้ปีละหลายพันคน |
|||
ความจริงเกี่ยวกับกากนิวเคลียร์
กากนิวเคลียร์จากอุปกรณ์หรือเชื้อเพลิงใช้แล้วมีกัมมันตภาพรังสีสูง ต้องจัดเก็บให้ห่างไกลประชาชนเป็นเวลาที่ยาวนาน กลุ่มต่อต้านนิวเคลียร์ และนักการเมืองบางคนมักจะออกมาย้ำว่า ปัญหาของกากนิวเคลียร์นั้นแก้ไขไม่ได้ ทำให้ประชาชนบางส่วนเชื่อตามนี้ แต่ในหมู่ของนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรส่วนใหญ่ เชื่อว่า กากนิวเคลียร์สามารถจัดเก็บได้ โดยฝังลึกลงไปใต้พื้นดิน ในบริเวณที่ไม่ทำให้เกิดอันตราย ปัญหาเรื่องนี้ สามารถมองได้ในแบบเดียวกับการผลิตไฟฟ้าโดยวิธีอื่น เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้ว ที่ป้อนไฟฟ้าให้กับประชาชนในเมืองขนาด 550,000 คน จะมีกากเป็นของแข็ง 40 ตันต่อปี ซึ่งมีจุดหลอมเหลว 5,000 องศาฟาเรนไฮซ์ ซึ่งจะมีปริมาณ เท่ากับขนาดของรถยนต์ 2 คัน สามารถนำกลับไปฝังไว้ในเหมืองที่ขุดยูเรเนียมขึ้นมา ส่วนโรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่มีกำลังผลิตเท่ากัน จะทำให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์ ประมาณ 7,000,000 ตัน ไนโตรเจนออกไซด์ 5,000 ตัน ฝุ่นละออง 1,400 ตัน ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 1,000 ตัน และเถ้าที่เหลือจากการเผาถ่านหิน 1,000,000 ตัน ปริมาณเหล่านี้สูงจนเราไม่สามารถจัดการได้ จำเป็นต้องปล่อยกาซออกสู่บรรยากาศที่เราหายใจเข้าไป และอาจทำให้สภาพอากาศเกิดการเปลี่ยนแปลง หรือเกิดฝนกรด เราทิ้งเถ้าที่เหลือจากการเผาถ่านหินไว้บนพื้นดิน ซึ่งเถ้าเหล่านี้ บางครั้งมีปริมาณสารพิษ เช่น สารหนู แคดเมียม ตะกั่ว และปรอท หลายร้อยตัน ดังนั้น ถ้าเปรียบเทียบกันแล้ว โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จึงสามารถควบคุมกากได้ดีกว่าโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล แต่ในขณะนี้ มีบางรัฐที่ห้ามการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งใหม่ เนื่องจากปัญหาเรื่องกากนิวเคลียร์ แต่กลับไม่จำกัดโรงไฟฟ้าฟอสซิล และไม่คิดที่จะแก้ปัญหาเรื่องคาร์บอนไดออกไซด์ |
|||
แท่งบรรจุกากนิวเคลียร์และสถานที่เก็บใต้เทือกเขา Yucca |
|||
ความจริงเกี่ยวกับการนำไปใช้ในทางที่ผิด
คนทั่วไปมักจะวิตกเกี่ยวกับปัญหา ที่กลุ่มผู้ก่อการร้าย อาจจะขโมยเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ เพื่อนำไปทำระเบิด แต่คำตอบในเรื่องนี้ คือ ทำไม่ได้ เชื้อเพลิงใหม่ ที่ยังไม่ใช้งาน ประกอบด้วยแร่ธาตุยูเรเนียม ที่มียูเรเนียม-238 อยู่ 96% และยูเรเนียม-235 อีก 4% ซึ่งวัสดุนิวเคลียร์แบบนี้ไม่สามารถนำไปทำระเบิดได้ ส่วนเชื้อเพลิงที่ผ่านการใช้งานแล้ว จะมีทั้งยูเรเนียมที่เหลืออยู่ และพลูโตเนียมที่เกิดขึ้นจากยูเรเนียม-238 แต่ก็เป็นไปไม่ได้ ที่จะขโมยเชื้อเพลิงที่ใช้แล้วในสหรัฐอเมริกา และการนำไปออกแบบเพื่อสร้างระเบิด ส่วนประเทศอื่นก็เป็นการยากมากเช่นกัน เนื่องจากประเทศที่มีพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ ไม่มีประเทศใดที่นำวัสดุนิวเคลียร์มาจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ (อาจจะยกเว้นอินเดีย) เนื่องจากมีการผลิตอาวุธนิวเคลียร์ขึ้นมาก่อนที่จะมีการสร้างโรงไฟฟ้า |
|||
ความจริงเกี่ยวต้นทุน
โรงไฟฟ้าแห่งแรก ส่วนใหญ่มักจะสร้างโดยไม่มีผลกำไร แต่เมื่อการออกแบบได้มาตรฐาน และได้รับการรับรองโดย คณะกรรมการกำหนดข้อบังคับนิวเคลียร์ (U.S. Nuclear Regulatory Commission) แล้ว ก็จะต้องทำการก่อสร้างในบริเวณที่ผ่านการตรวจสอบแล้ว โรงไฟฟ้าในรุ่นที่ 2 นี้ จึงจะสามารถแข่งขันกับโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงถ่านหินได้ ซึ่งจะผลิตไฟฟ้าโดยใช้ต้นทุนไม่เกิน 10-15% ของโรงไฟฟ้าที่ใช้กาซธรรมชาติ การผลิตไฟฟ้าโดยใช้เชื้อเพลิงจากยูเรเนียม ถ่านหิน และกาซธรรมชาติ มีต้นทุนที่ต่ำกว่าแหล่งพลังงานอื่น เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ หรือพลังงานลม ประเทศฝรั่งเศสจึงมีกำไร และถือเป็นรายได้หลักส่วนหนึ่ง จากการส่งออกไฟฟ้า จากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ |
|||
|
|||
สรุป
โดยสรุปแล้ว ความเข้าใจของประชาชนต่อเรื่องของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ยังมีสิ่งที่คลาดเคลื่อนอยู่มาก การผลิตไฟฟ้าโดยใช้พลังงานนิวเคลียร์ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและสุขภาพของประชาชน มากกว่าวิธีอื่นที่ใช้กันทั่วไปในปัจจุบัน |
|||
ถอดความจาก Nuclear Power: Our Misunderstood Source of Electricity โดย Max W Carbon เวบไซต์ www.lapeer.org |