ความวิตกกังวลเกี่ยวกับอาหารฉายรังสี |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คำว่ารังสีมักจะก่อให้เกิดความหวาดกลัวของผู้บริโภค ในเรื่องของมะเร็งและกัมมันตภาพรังสีนิวเคลียร์ การใช้กระบวนการนี้ฟังดูแล้วน่ากลัว เพราะมีการใช้รังสีพลังงานสูงและมองไม่เห็น จึงทำให้ยังคงมีคำถามเกี่ยวกับความปลอดภัยและประโยชน์ของอาหารฉายรังสี เราจึงมักจะพบกับคำถามต่อไปนี้เสมอ
อาหารฉายรังสีที่มีกัมมันตภาพรังสีหรือไม่ ? การฉายรังสีอาหารจะทำให้เกิดสารพิษขึ้นหรือไม่? การฉายรังสีอาหารสามารถนำไปใช้ในกรณีใดได้บ้าง? การนำวิธีการฉายรังสีอาหารมาใช้ การถนอมอาหาร (Preservation) การปลอดเชื้อ (Sterilization) ควบคุมการงอก การสุก และการกัดกินของแมลง ป้องกันการติดเชื้อจากอาหาร (Control foodborne illness) การนำวิธีการฉายรังสีมาใช้ในการถนอมอาหาร มีทั้งข้อดีและข้อจำกัด อาหารที่สามารถนำมาฉายรังสีได้ แสดงอยู่ในตารางที่ 1 มีการควบคุมอาหารฉายรังสีหรือไม่? องค์การอาหารและยา หรือ FDA (Food and Drug Administration) ทำหน้าที่ควบคุมอาหารฉายรังสีทุกชนิด เกี่ยวกับ ผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำมาฉายรังสี ปริมาณรังสีที่ใช้ และการติดฉลากผลิตภัณฑ์ฉายรังสี โดยกระทรวงเกษตรของสหรัฐ หรือ USDA (Department of Agriculture) รับผิดชอบในการตรวจสอบผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ฉายรังสี ขณะที่ FDA ทำหน้าที่ในการควบคุมดูแล ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 1986 ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการฉายรังสีทุกชนิด ต้องติดฉลากที่มีสัญลักษณ์นานาชาติ ที่เรียกว่า radura ซึ่งมีรูปร่างคล้ายกับดอกไม้ FDA กำหนดให้แสดงสัญลักษณ์และข้อความบนหีบห่อของอาหาร บนกล่องที่บรรจุ บนใบโฆษณา และบนใบรายการสินค้า สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมผ่านการฉายรังสี ผู้ผลิตอาจอธิบายข้อมูลเพิ่มเติมถึงเหตุผลในการฉายรังสี ตัวอย่างเช่น ฉายรังสีเพื่อยับยั้งการเน่าเสีย หรือฉายรังสีเพื่อกำจัดแมลงแทนการใช้สารเคมี สิ่งที่สำคัญต่อการควบคุม คือความถูกต้องของบันทึกของโรงงงาน เนื่องจากเราไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ผลิตภัณฑ์ชิ้นใดผ่านการฉายรังสีมาแล้ว หรือผลิตภัณฑ์นั้นฉายรังสีด้วยปริมาณเท่าใด |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คุณค่าทางโภชนาการจะลดลงหรือไม่?
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า การฉายรังสีไม่ได้ทำให้คุณค่าทางโภชนาการลดลงไปมากกว่าการใช้กระบวนการอื่น เช่น การบรรจุกระป๋อง ดังแสดงอยู่ในตารางที่ 2 และตารางที่ 3 |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
Reference: Journal of Food Science 46:8, 1981.
Reference: Journal of Food Processing and Preservation 2:229, 1978 |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ถอดความจาก Ten Most Commonly Asked Questions About Food Irradiation Food Fact Safety Sheet เวบไซต์ www.umich.edu |