ข้อมูลแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นของ IAEA

ข้อมูลแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นของ IAEA

0235 CET, 13 มีนาคม 2011

ข่าวก่อนหน้านี้มีข้อมูลไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการรั่วไหลออกมาจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่Fukushima Daichi หน่วยที่ 1, 2 และ 4 การรั่วไหลไม่ได้เกิดขึ้นกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์หน่วยเหล่านี้

ทางการญี่ปุ่นได้แจ้งกับ IAEA ว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ Fukushima Daichi หน่วยที่ 1, 2 และ 4 ยังคงดับอยู่ ส่วนหน่วยที่ 3 ปลอดภัย สามารถดับเครื่องแบบปกติ (cold shutdown)

ทางการญี่ปุ่นได้รายงานจำนวนผู้ประสบเหตุที่เป็นพนักงานของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ Fukushima Daichi ว่ามีผู้บาดเจ็บ 4 รายจากการระเบิดของเครื่องปฏิกรณ์หน่วยที่ อีก 3 รายจากสาเหตุอื่น นอกจากนั้น มีพนักงาน 1 รายที่ได้รับรังสีสูงกว่าระดับปกติที่ IAEA กำหนดไว้สำหรับกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Fukushima Daichi มีพนักงานเสียชีวิต 1 รายและบาดเจ็บอีก 4 ราย จากอุบัติเหตุจากการใช้ปั้นจั่น

จากการร่วมกับองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization) IAEA จึงให้ประเทศสมาชิกร่วมกันประเมินสภาพอากาศจากผลกระทบที่เกิดขึ้นจากประเทศญี่ปุ่น การคาดการณ์ล่าสุดชี้ว่าในช่วง 3 วันข้างหน้านี้ ลมจะพัดไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือออกไปจากชายฝั่งของญี่ปุ่น

IAEA จะยังคงประสานงานกับทางการญี่ปุ่นเพื่อติดตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

แผ่นดินไหวขนาด 8.9 และสึนามิที่ชายฝั่งเกาะฮอนชู ประเทศญี่ปุ่น

2110 CET, 12 March 2011

ทางการญี่ปุ่นได้แจ้งกับ IAEA ว่าเกิดการระเบิดที่เครื่องปฏิกรณ์หน่วยที่ 1 ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Fukushima Daiichi โดยเกิดขึ้นที่ภายนอกของอาคารคลุมเครื่องปฏิกรณ์ (primary containment vessel, PCV) ไม่ใช่ภายใน เจ้าหน้าเดินเครื่องของบริษัทผลิตไฟฟ้าโตเกียว (Tokyo Electric Power Company, TEPCO) ยืนยันว่าอาคารคลุมเครื่องปฏิกรณ์ยังคงอยู่อย่างสมบูรณ์

จากปฏิบัติการเพื่อจำกัดความเสียหายของแกนเครื่องปฏิกรณ์ TEPCO ได้ขอใช้น้ำทะเลผสมกับโบรอนปล่อยเข้าไปในอาคารคลุมเครื่องปฏิกรณ์ (primary containment vessel) มาตรการนี้ได้รับการอนุมัติจากองค์การความปลอดภัยทางนิวเคลียร์และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (Nuclear and Industrial Safety Agency, NISA) โดยเริ่มมีการปล่อยน้ำทะเลเข้าไปตั้งแต่ 20:20 น. ตามเวลาท้องถิ่น

ญี่ปุ่นรายงานว่ามีพนักงานได้รับบาดเจ็บจากการระเบิดที่โรงไฟฟ้า Fukushima Daiichi จำนวน 4 ราย

NISA ได้ยืนยันว่าได้ตรวจพบไอโซโทปกัมมันตรังสี ซีเซียม-137 (caesium-137) และไอโอดีน-131 (iodine-131) บริเวณโรงไฟฟ้า Fukushima Daiichi หน่วยที่ 1 NISA รายงานว่าระดับของกัมมันตภาพรังสีได้เพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่วันก่อนนี้ และได้ลดระดับลงเมื่อไม่กี่ชั่วโมงนี้ อาคารคลุมเครื่องปฏิกรณ์ของโรงไฟฟ้า Fukushima Daiichi หน่วยที่ 1, 2 และ 3 ไม่ได้รับความเสียหาย

การอพยพประชาชนในรัศมี 20 กิโลเมตรรอบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Fukushima Daiichi ได้เริ่มต้นขึ้น ซึ่งคาดว่ามีประชาชนประมาณ 170,000 คน โดยประชาชนประมาณ 30,000 คนในรัศมี 10 กิโลเมตรรอบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Fukushima Daiichi ได้อพยพออกมาแล้ว ขณะที่การอพยพทั้งหมดยังไม่เสร็จสมบูรณ์

ทางการญี่ปุ่นได้ระบุระดับความรุนแรงของเหตุการณ์ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Fukushima Daiichi หน่วยที่ 1 ไว้ที่ระดับ 4 ได้แก่ การเกิดอุบัติเหตุที่มีผลกระทบภายในพื้นที่ (Accident with Local Consequences) ตามสเกลความรุนแรงทางนิวเคลียร์และรังสีระหว่างประเทศ (International Nuclear and Radiological Event Scale, INES) สเกลของ INES ใช้เพื่อให้มีการสื่อสารได้รวดเร็วและสอดคล้องไปทางเดียวกัน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อประชาชนในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุที่เกี่ยวกับรังสี โดยกำหนดสเกลไว้ตั้งแต่ระดับ 0 ไม่แน่ชัดว่าเกิด (deviation) ถึงระดับ 7 มีอุบัติเหตุรุนแรง (major accident)

ญี่ปุ่นได้ยืนยันว่าเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ทั้งหมดมีความปลอดภัย

IAEA ยังคงประสานงานกับทางการญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่องในการติดตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

2000 CET, 12 March 2011

Yukiya Amano ผู้อำนวยการ IAEA ได้แสดงความเสียใจต่อผู้เสียชีวิตและที่อยู่อาศัย ในเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิในญี่ปุ่น

ผอ. Amano ได้สั่งการให้พยายามป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับเครื่องปฏิกรณ์ หน่วยที่ 1 ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Fukushima Daiichi

โดย ผอ. Amano ได้อธิบายถึงบทบาท 2 อย่าง ของ IAEA คือ การเป็นช่องทางการติดต่อฉุกเฉินเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างญี่ปุ่นกับประเทศสมาชิกอื่นๆ ของ IAEA และการให้คำปรึกษาระหว่างประเทศ ซึ่งญี่ปุ่นหรือประเทศอื่นร้องขอ

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Fukushima Daiichi

1340 CET, 12 March 2011

องค์การความปลอดภัยทางนิวเคลียร์และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (Nuclear and Industrial Safety Agency, NISA) ได้แจ้งกับศูนย์เหตุการณ์ฉุกเฉิน (Incident and Emergency Centre, IEC) ของ IAEA ว่าได้เกิดเหตุระเบิดที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Fukushima Daiichi หน่วยที่ 1และกำลังอยู่ระหว่างการประเมินสภาพของแกนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์

การระเบิดที่เกิดขึ้นนี้ NISA ได้รับรายงานจากเจ้าหน้าที่ของโรงไฟฟ้า บริษัทผลิตไฟฟ้าโตเกียว (Tokyo Electric Power Company, TEPCO) เมื่อเวลา 0730 CET โดยยังไม่มีรายละเอียดในรายงาน

ทางการญี่ปุ่นได้ขยายพื้นที่อพยพเพิ่มขึ้นเป็น รัศมี 20 กิโลเมตร รอบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Fukushima Daiichi จากเดิมที่กำหนดไว้ 10 กิโลเมตร ซึ่งมีการขยายพื้นที่อพยพในรัศมี 10 กิโลเมตรนี้ขึ้นมาจากเดิมกำหนดไว้ก่อนหน้านี้ 3 กิโลเมตร

ทางการญี่ปุ่นรายงานว่าได้เตรียมการแจกจ่ายไอโอดีนให้กับประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ใกล้กับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แล้ว

IAEA ได้แถลงย้ำว่ายินดีจะให้คำปรึกษาด้านเทคนิคกับญี่ปุ่นหากรัฐบาลญี่ปุ่นร้องขอ IAEA ยังคงให้การสนับสนุนกับทางการญี่ปุ่นและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

0730 CET, 12 March 2011

ทางการญี่ปุ่นแจ้งศูนย์เหตุการณ์ฉุกเฉิน (Incident and Emergency Centre, IEC) ของ IAEA ว่า เมื่อเวลา 9.00 น. ของวันที่ 12 มีนาคม ตามเวลาท้องถิ่น ทางญี่ปุ่นได้เริ่มเตรียมการที่จะระบายความดันออกมาจากอาคารคลุมเครื่องปฏิกรณ์ของเครื่องปฏิกรณ์หน่วยที่ 1 ของดรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Fukushima Daiichi เพื่อทำให้ความดันภายในอาคารคลุมเครื่องปฏิกรณ์ลดต่ำลง

การอพยพประชาชนที่อาศัยอยู่ในรัศมี 10 กิโลเมตรของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Fukushima Daiichi จะดำเนินการหลังจากนั้น โดยมีการอพยพประชาชนในรัศมี 3 กิโลเมตรรอบโรงไฟฟ้าไปเรียบร้อยแล้ว

ศูนย์ IEC ของ IAEA จะประสานงานกับทางการญี่ปุ่นในการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องตลอดเวลา

การระเบิดที่โรงไฟฟ้า Fukushima Daiichi

2210 CET, 11 March 2011

ทางการญี่ปุ่นแจ้งศูนย์เหตุการณ์ฉุกเฉิน (Incident and Emergency Centre, IEC) ของ IAEA ว่า เจ้าหน้าที่ของญี่ปุ่นกำลังดำเนินการแก้ไขการจ่ายกระแสไฟให้กับระบบระบายความร้อนของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ หน่วยที่ 2 ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Fukushima Daiichi โดยส่งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบเคลื่อนที่เข้าไปยังพื้นที่แล้ว

ทางการญี่ปุ่นรายงานว่าความดันภายในอาคารคลุมเครื่องปฏิกรณ์หน่วยที่ 1 ได้สูงขึ้น เจ้าหน้าที่มีแผนที่จะระบายความดันภายในให้ต่ำลง การระบายนี้จะมีการกรองให้รังสีถูกเก็บกักไว้ภายในอาคารคลุมเครื่องปฏิกรณ์

เครื่องปฏิกรณ์ 3 เครื่องของโรงไฟฟ้ายังคงเดินเครื่องอยู่ขณะเกิดแผ่นดินไหว ระดับน้ำภายในเครื่องปฏิกรณ์อยู่สูงกว่าแท่งเชื้อเพลิง ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดของทางการญี่ปุ่น

ศูนย์ IEC ของ IAEA จะประสานงานกับทางการญี่ปุ่นในการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องตลอดเวลา

2030 CET, 11 March 2011

ทางการญี่ปุ่นแจ้งศูนย์เหตุการณ์ฉุกเฉิน (Incident and Emergency Centre, IEC) ของ IAEA ว่าแผ่นดินไหวและสึนามิ ในวันนี้ ทำให้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Fukushima Daiichi ไม่มีไฟฟ้า นอกจากนั้น เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำหรับผลิตไฟฟ้าสำรองให้กับระบบระบายความร้อนใช้งานไม่ได้ เนื่องจากถูกน้ำท่วมจากสึนามิ ทางญี่ปุ่นกำลังพยายามแก้ไขเครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้ทำงานได้

ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Fukushima Daiichi เจ้าหน้าที่ได้ประกาศเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์ ส่วนบริเวณใกล้เคียงกับโรงไฟฟ้า Fukushima Daiichi เจ้าหน้าที่ได้ประกาศยกระดับการเตือนภัย

ทางการญี่ปุ่นกล่าวว่า ยังไม่มีการรั่วไหลของรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในพื้นที่เกิดแผ่นดินไหวและ aftershocks ในวันนี้

ศูนย์ IEC ของ IAEA จะประสานงานกับทางการญี่ปุ่นในการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องตลอดเวลา

1755 CET 11 March 2011

ทางการญี่ปุ่นแจ้งศูนย์เหตุการณ์ฉุกเฉิน (Incident and Emergency Centre, IEC) ของ IAEA ว่า ได้สั่งการให้อพยพประชาชนในรัศมี 3 กิโลเมตรรอบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Fukushima Daiichi และแจ้งประชาชนในพื้นที่รัศมี 10 กิโลเมตรให้อยู่แต่ภายในบ้านเรือน

ทางการญี่ปุ่นกล่าวว่า ยังไม่มีการรั่วไหลของรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในพื้นที่เกิดแผ่นดินไหวและ aftershocks ในวันนี้

Yukiya Amano ผู้อำนวยการ IAEA กล่าวว่า IAEA จะพร้อมจะให้คำปรึกษาทางเทคนิคในทุกเรื่อง หากรัฐบาลญี่ปุ่นร้องขอ

 

                                                                                                                                         ศูนย์ IEC ของ IAEA                                   Yukiya Amano ผู้อำนวยการ IAEA

1245 CET, 11 Mar 2011

ศูนย์เหตุการณ์ฉุกเฉิน (Incident and Emergency Centre, IEC) ของ IAEA ได้รับข้อมูลจาก องค์การความปลอดภัยทางนิวเคลียร์และอุตสาหกรรม (Nuclear and Industrial Safety Agency, NISA) ของญี่ปุ่นว่า ได้ประกาศยกระดับการเตือนภัยที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Fukushima Daiichi โดย NISA แจ้งว่าโรงไฟฟ้าได้ดับเครื่องลงแล้วโดยตรวจไม่พบการรั่วไหลของรังสี

ทางการญี่ปุ่นรายงานด้วยว่า ได้เกิดไฟไหม้ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Onagawa ที่ดับเครื่องแล้ว โดยกล่าวว่า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Onagawa กับ Fukushima-Daichi และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Tokai ได้ดับเครื่องลงอัตโนมัติ โดยไม่พบการรั่วไหลของรังสี IAEA ได้รับข้อมูลจากศูนย์ความปลอดภัยจากแผ่นไหวระหว่างประเทศ (International Seismic Safety Centre) ว่า แผ่นดินไหวครั้งที่สอง มีความแรง 6.5 เกิดขึ้นที่ญี่ปุ่น ใกล้กับชทยฝั่งเกาะฮอนชูใกล้กับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Tokai

IAEA กำลังค้นหารายละเอียดของเหตุการณ์ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Fukushima Daiichi กับแห่งอื่น และเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัย รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับการมีและไม่มีการจ่ายกระแสไฟฟ้า ระบาบระบายความร้อนและสภาวะอาคารของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ เนื่องจาก เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ยังคงต้องมีการระบายความร้อนหลังจากที่ดับเครื่องลงแล้ว

IAEA กำลังค้นหาข้อมูลของสถานะของต้นกำเนิดรังสีในญี่ปุ่น เช่น การนำไปใช้กับอุปกรณ์ทางการแพทย์และอุตสาหกรรม

องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization) แจ้ง IAEA ว่า ลมปกติจะพัดไปทางทิศตะวันออกของชายฝั่งของญี่ปุ่น

เจ้าหน้าที่ของ IAEA ในญี่ปุ่น ทั้งในโตเกียวและส่วนอื่นของญี่ปุ่น รายงานว่าทุกอย่างปลอดภัย

0930 CET, 11 Mar 2011

ศูนย์เหตุการณ์ฉุกเฉิน (Incident and Emergency Centre, IEC) ของ IAEA ได้รับข้อมูลจากศูนย์ความปลอดภัยแผ่นดินไหว (International Seismic Safety Centre, ISSC) เมื่อประมาณ 8.15 น. CET ว่า เช้าวันนี้ได้เกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.9 ใกล้กับชายฝั่งเกาะฮอนชู ประเทศญี่ปุ่น

IAEA ได้ประสานกับกระทรวงการค้า เศรษฐกิจและอุตสาหกรรม (Ministry of Economy, Trade and Industry, METI) ของญี่ปุ่น เพื่อยืนยันสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ทางการยี่ปุ่นรายงาน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 4 แห่งได้ดับเครื่องลงอย่างปลอดภัยจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว

IAEA ได้สอบถามไปยังญี่ปุ่นว่าต้องการการสนับสนุนหรือไม่

มีรายงานข่าวว่ามีการเตือนภัยสึนามิใน 50 ประเทศ IAEA พยายามหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเทศและโรงงานนิวเคลียร์ที่อาจได้รับผลกระทบ

ถอดความจาก IAEA update on Japan Earthquake
เวบไซต์ www.iaea.org

หมายเหตุ CET – Central European Time

ข่าวสารเพิ่มเติม