การใช้รังสีแกมมาในทางการแพทย์
|
||
ดร.สมพร จองคำ และ อารีรัตน์ คอนดวงแก้ว |
||
การใช้รังสีแกมมาในทางการแพทย์ สามารถแบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ
1) การรักษาโรคมะเร็งหรือเนื้องอก |
||
สมัยก่อนมีการใช้เข็มเรเดียม ซึ่งเป็นสารกัมมันตรังสี ให้รังสีแกมมาออกมา โดยนำเข็มเรเดียม ไปฝังบริเวณที่เป็นมะเร็งของผู้ป่วย รังสีแกมมา จะไปทำปฏิกิริยา ต่อเซลล์มะเร็ง ทำให้ลดการเจริญเติบโต ของเซลล์มะเร็งนั้นได้ สมัยก่อนเราจึงมักเรียกว่า การฝังแร่ เพื่อรักษามะเร็ง | ||
|
||
ปัจจุบันมีการพัฒนา การผลิตสารกัมมันตรังสี เพื่อรักษาโรคมะเร็งบริเวณต่างๆ ในร่างกายหลายชนิด ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่น โคบอลต์-60 ซึ่งมีทั้งแบบ ฝังแร่เหล่านี้เข้าไป ในบริเวณที่เป็นมะเร็งในร่างกาย และแบบที่ฉายรังสีแกมมา จากภายนอก ให้รังสีวิ่งเข้าสู่บริเวณ ที่เป็นมะเร็งในร่างกาย | ||
ไอโดดีน-131 ใช้รักษามะเร็งของต่อมธัยรอยด์ ทอง-198 ใช้รักษามะเร็งที่แพร่กระจาย ไปยังอวัยวะอื่น สทรอนเชียม-90 ชนิดแผ่น นำมารักษาเนื้อเยื่อระดับผิว ฟอสฟอรัส-32 ชนิดของเหลว ใช้รักษาภาวะที่มีเม็ดเลือดแดงมากเกินไป และ มะเร็งเม็ดเลือดชนิดเรื้อรัง เป็นต้น | ||
การตรวจอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายเพื่อตรวจและพิสูจน์สมมุติฐานของโรค และความผิดปกติของอวัยวะ มักใช้สารกัมมันตรังสี ที่เป็นของเหลว เช่น เทคนิเชียม-99เอ็ม ใช้ตรวจการทำงานของระบบอวัยวะ เช่น ธัยรอยด์ กระดูก สมอง ปอด ตับ ม้าม ไขกระดูก ไต และหัวใจ ไอโอดีน-131 และ ไอโอดีน-123 ใช้ตรวจหาความผิดปกต ิของต่อมธัยรอยด์ และใช้ติดตามผลการรักษา | ||
|
||