การเติบโตของพลังงานนิวเคลียร์ในเอเชีย

การเติบโตของพลังงานนิวเคลียร์ในเอเชีย

เอเชียเป็นภูมิภาคที่มีการผลิตไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานนิวเคลียร์

  • เอเชียตะวันออกและเอเชียใต้ มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เดินเครื่องอยู่มากกว่า 109 โรง กำลังก่อสร้างอีก 10 โรง และมีแผนที่จะสร้างเพิ่มขึ้นอีก 110 โรง
  • การผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานนิวเคลียร์ มีการเติบโตสูงที่สุดในประเทศ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอินเดีย
ประเทศในอเมริกาเหนือและยุโรปตะวันตก มีการเติบโตของการผลิตไฟฟ้าลดลงมาหลายปีแล้ว โดยเฉพาะการใช้พลังงานนิวเคลียร์ ขณะที่ประเทศในเอเชียตะวันออกและเอเชียใต้ มีแผนที่จะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เพิ่มขึ้น เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่สูงขึ้น

จากนี้ไปจนถึงปี 2010 ภูมิภาคนี้มีการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 38 GWe ต่อปี และตั้งแต่ปี 2010 ถึง 2020 มีการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 56 GWe ต่อปี โดยหนึ่งในสามเป็นการสร้างเพื่อทดแทนโรงไฟฟ้าเดิมที่หมดอายุลง ปริมาณไฟฟ้านี้คิดเป็น 36% ของการผลิตไฟฟ้าทั่วโลก ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 3500 Gwe ซึ่งเป็นการผลิตด้วยพลังงานนิวเคลียร์ 368 Gwe การเติบโตนี้ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในประเทศ จีน ญี่ปุ่น อินเดีย และเกาหลี คาดว่า ในปี 2020 สัดส่วนการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานนิวเคลียร์ จะอยู่ที่ 39 GWe เป็นอย่างน้อย และอาจจะมากกว่านี้ ถ้ามีแรงกดดันด้านสิ่งแวดล้อม ในการควบคุมการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล

ปัจจุบัน ภูมิภาคนี้มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 109 โรง เดินเครื่องอยู่ใน 6 ประเทศ มี 18 โรงกำลังก่อสร้าง (อาจจะมากกว่านี้ เนื่องจากบางโรง เริ่มสร้างในปี 2007) และมีแผนการก่อสร้างแน่นอนแล้วอีก 40 โรง

นอกจากนั้น ประเทศในภูมิภาคนี้ ยังมีเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบวิจัย (research reactor) อีก 56 เครื่อง ใน 14 ประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศแถบชายฝั่งแปซิฟิก ยกเว้น 2 ประเทศ ที่ไม่มีเครื่องปฏิกรณ์วิจัยเลย คือ สิงคโปร์ กับนิวซีแลนด์

โรงไฟ้านิวเคลียร์ Ikata ของญี่ปุ่น                 โรงไฟฟ้านิวเคลียร Ohi ของญี่ปุ่น

ญี่ปุ่น

มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เดินเครื่องอยู่ 55 โรง (48 GWe) กำลังก่อสร้าง 2 โรง อยู่ในแผนการก่อสร้าง 11 โรง (17 GWe) และมีเครื่องปฏิกรณ์วิจัยอีก 17 เครื่อง

ญี่ปุ่นผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานนิวเคลียร์ 29% คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นอีก หลังปี 2015 เพื่อให้เป็นไปตามสนธิสัญญาเกียวโต (Kyoto Protocol) และในระยะยาว การผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานนิวเคลียร์ จะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น 2 เท่า ( 90 GWe) หลังปี 2050

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เดินเครื่องเมื่อไม่นานมานี้ ส่วนใหญ่ใช้เครื่องปฏิกรณ์รุ่นที่ 3 (third generation advanced reactor) ซึ่งได้รับการปรับปรุงระบบความปลอดภัยแล้ว โดยเครื่องปฏิกรณ์เครื่องแรก เดินเครื่องจ่ายไฟฟ้าให้กับระบบ ในปี 1966

ญี่ปุ่นได้ทำสัญญา ในการนำเชื้อเพลิงใช้แล้วมาสกัดซ้ำ (reprocessing) เมื่อแยกยูเรเนียมกับพลูโตเนียมกลับมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าใหม่ โดยทำให้อยู่ในรูปเชื้อเพลิงออกไซด์ผสม (mixed-oxide fuel) สำหรับเครื่องปฏิกรณ์แบบธรรมดา และเครื่องปฏิกรณ์แบบนิวตรอนเร็ว (fast neutron reactor) ในปี 2003 มีเครื่องปฏิกรณ์จำนวนมาก ที่ต้องดับเครื่องเป็นเวลาหลายเดือน เพื่อทำการตรวจสอบ หลังจากนั้น จึงเริ่มเดินเครื่องใหม่ ในปี 2005

ญี่ปุ่นมีเครื่องปฏิกรณ์ทดสอบแบบอุณหภูมิสูง (high temperature test reactor) ซึ่งใช้อุณหภูมิได้สูง 950 oC ซึ่งสูงพอที่จะใช้ในการผลิตไฮโรเจนด้วยปฏิกิริยาเคมีความร้อน คาดว่า ในปี 2050 จะมีการผลิตไฮโดรเจน โดยใช้ความร้อนจากพลังงานนิวเคลียร์ 20 GW ซึ่งโรงงานแรกในเชิงพาณิชย์จะเข้าสู่ระบบ ในปี 2025

สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้)

มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 20 โรง (17.5 GWe) กำลังก่อสร้าง 1 โรง และมีเครื่องปฏิกรณ์วิจัย 2 เครื่อง

เกาหลีใต้ใช้พลังงานนิวเคลียร์ผลิตไฟฟ้า 45% และกำลังมีแนวโน้มสูงขึ้น

แผนชาติของเกาหลีใต้ มีโครงการจะเพิ่มโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เพิ่มขึ้นเป็น 28 โรง มีการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์แบบก้าวหน้า และจะเพิ่มการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานนิวเคลียร์เป็น 60% ในปี 2035 โดยความต้องการใช้ไฟฟ้าของเกาหลีใต้กำลังสูงขึ้นอย่างมาก

เกาหลีใต้ได้ร่วมมือกับบริษัทในสหรัฐอเมริกา ในการพัฒนา โรงไฟฟ้านิวเคลียร์มาตรฐานเกาหลี (Korea Standard Nuclear Power Plant) ขนาด 1000 Mwe โดย 95% เป็นผลิตภัณฑ์ของเกาหลี ซึ่งจะมีการส่งออกไปอินโดนิเซียและเวียดนาม เป็นเครื่องปฏิกรณ์แบบ KNSP+ และ AP1400

เกาหลีใต้มีโครงการวิจัยการใช้ความร้อนจากพลังงานนิวเคลียร์ในการผลิตไฮโดรเจน มูลค่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ และมีโครงการสาธิตประมาณปี 2020

เกาหลีเหนือ

มีการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ 2 โรง แต่ล่าช้าออกไป เนื่องจากปัญหาทางการเมือง และมีเครื่องปฏิกรณ์วิจัย 1 เครื่อง

เกาหลีเหนือเกือบจะได้รับอนุญาตการเดินเครื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดเล็กโรงหนึ่ง แต่มีปัญหาเรื่องความพยายามในการลักลอบผลิตอาวุธ ทำให้โครงการต้องสะดุดลง

สหรัฐอเมริกาและเกาหลีใต้ได้ความช่วยเหลือ ที่จะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่จะไม่มีการผลิตพลูโตเนียม ที่จะนำไปทำอาวุธนิวเคลียร์ (weapons-grade plutonium) ทดแทนเครื่องปฏิกรณ์สองเครื่องเดิม โดยมีการทำสัญญากันเมื่อปลายปี 1995 โดยจะเป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มาตรฐานเกาหลี (Korean Standard Nuclear Power Plant) มีการก่อสร้างเครื่องแรกไปได้ประมาณหนึ่งในสาม ก่อนที่จะหยุดไป

สาธารณรัฐประชาชนจีน

มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เดินเครื่องอยู่ 10 โรง อยู่ระหว่างการก่อสร้างจำนวน 5 โรง อยู่ในแผนการก่อสร้าง 13 โรง และอีก 50 โรงอยู่ระหว่างการนำเสนอ โดยมีเครื่องปฏิกรณ์วิจัย จำนวน 13 เครื่อง

จีนมีความเคลื่อนไหวในการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์อย่างรวดเร็ว ส่วนใหญ่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ทั้งด้านเวลาและงบประมาณ ความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าของจีนเพิ่มสูงขึ้นกว่าปีละ 8% บริเวณที่มีความต้องใช้ไฟฟ้ามากที่สุด คือจังหวัด Guangdong ซึ่งอยู่ใกล้กับเกาะฮ่องกง โดยมีความต้องการใช้มากกว่ากำลังที่ผลิตได้ ตามแผนชาติของจีน จะมีการผลิตไฟฟ้า 40 GWe ในปี 2020 ซึ่งต้องมีการเพิ่มกำลังการผลิตโดยเฉลี่ยปี 2000 MWe โดยในระยะยาว จะมีกำลังการผลิตไฟฟ้า 240 GWe ในปี 2050

จีนมีการสร้างโรงไฟฟ้าสาธิตขนาดเล็กแบบ อุณหภูมิสูงระบายความร้อนด้วยก๊าซ (advanced high-temperature gas-cooled demonstration reactor, HTR) โดยใช้เชื้อเพลิง pebble bed เริ่มเดินเครื่องเมื่อปี 2000 และคาดว่าเครื่องปฏิกรณ์ HTR ต้นแบบ ในเชิงพาณิชย์ จะเริ่มเดินเครื่องได้ในปี 2010 จีนได้ร่วมเป็นหุ้นส่วนกับเกาหลีใต้ ในการวิจัยและพัฒนาการผลิตไฮโดรเจน ซึ่งมีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง

สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)

มีโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ 6 โรง มีกำลังผลิตไฟฟ้า 5 GWe อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 2 โรง และมีเครื่องปฏิกรณ์วิจัย 4 เครื่อง

ไต้หวันมีการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานนิวเคลียร์ 20% และมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบใช้เครื่องปฏิกรณ์ชนิดก้าวหน้าอีก 2 โรง อยู่ระหว่างการก่อสร้าง

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Qinshan ของจีน                    โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ shenzhen ของจีน

อินเดีย

มีโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์เดินเครื่องอยู่ 15 โรง มีกำลังการผลิตไฟฟ้า 2.8 GWe อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 8 โรง อยู่ระหว่างการเสนอโครงการอีก 24 โรง และมีเครื่องปฏิกรณ์วิจัย 5 เครื่อง

อินเดียไม่จำเป็นต้องพึ่งประเทศอื่นในเรื่องเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ ปัจจุบัน อินเดียผลิตไฟฟ้าจากพลังงานิวเคลียร์ น้อยกว่า 4% ของความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศ โรงไฟฟ้าที่กำลังก่อสร้าง คาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ในปี 2010 ส่วนอีก 24 โรง ที่อยู่ในแผนการก่อสร้าง จะมีกำลังการผลิตไฟฟ้าได้ GWe ในปี 2020

อินเดียเป็นผู้บุกเบิกในการพัฒนาการใช้เชื้อเพลิงทอเรียม (thorium) โดยมีเครื่องมือที่มีก้าวหน้าทางด้านนี้หลายแห่ง

ปากีสถาน

มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เดินเครื่องอยู่ 2 โรง อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 1 โรง อยู่ในแผนการก่อสร้าง 2 โรง และมีเครื่องปฏิกรณ์วิจัยอีก 1 เครื่อง

ปากีสถานผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานนิวเคลียร์ 3% ของกำลังการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งที่สอง เริ่มเดินเครื่องในปี 2000 ส่วนโรงที่สาม ซึ่งสร้างโดยจีน อยู่ระหว่างการก่อสร้าง

รัฐบาลปากีสถานมีแผนที่จะผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานนิวเคลียร์ 0.9 GWe ในปี 2015 และเพิ่มขึ้นเป็น 7.5 GWe ในปี 2030

อินโดนีเซีย

มีเครื่องปฏิกรณ์วิจัย 3 เครื่อง

ความต้องการใช้ไฟฟ้าของอินโดนีเซียเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้มีการส่งเสริมการพัฒนาโครงการผลิตไฟฟ้าหลายโครงการ

จากการศึกษาความเป็นไปได้ในระยะ 5 ปี ได้มีข้อเสนอให้สร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แห่งแรก มีกำลังการผลิตรวม 1800 MWe โดยจะได้รับอนุญาต ในปี 2004 มีที่ตั้งอยู่ที่จังหวัด Muria ห่างจากกรุงจาการ์ตา ไปทางตะวันออก 450 กิโลเมตร โครงการนี้ถูกระงับไป แต่ในปี 2005 รัฐบาลได้อนุมัติในหลักการให้มีการก่อสร้าง โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ขนาดกำลัง 1000 MWe จำนวน 4 โรง ในที่เดิม โดยคาดว่าจะได้รับอนุญาตในปี 2016 นอกจากนั้น ได้มีการเสนอให้สร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดเล็กและใช้ผลิตน้ำจืดจากน้ำทพเล (desalination) สำหรับใช้ในจังหวัด Madura โดยใช้เครื่องปฏิกรณ์เกาหลีแบบ S. Korean SMART reactor

ประเทศไทย

มีเครื่องปฏิกรณ์วิจัย 1 เครื่อง และอยู่ระหว่างการก่อสร้างอีก 1 เครื่อง

ประเทศไทยได้ให้ความสนใจในการรื้อฟื้นโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เนื่องจากการประเมินความต้องการใช้ไฟฟ้าใน 20 ปีข้างหน้า จากอัตราการเติบโตของความต้องการที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7 ต่อปี ปัจจุบันการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยใช้ก๊าซธรรมชาติ ประมาณ 70% คาดว่าในปี 2016 จะมีความต้องการใช้ไฟฟ้า 48 GWe

มีการเตรียมการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ โดยยังอยู่ในขั้นตอนของการจัดทำร่างโครงการ

เวียดนาม

มีเครื่องปฏิกรณ์วิจัย 1 เครื่อง ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2006 รัฐบาลได้ประกาศที่จะสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ขนาดกำลัง 2000 MWe ในปี 2020 การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการจะเสร็จสมบูรณ์ในปี 2008 คาดว่าจะเริ่มการก่อสร้างในปี 2011 และได้รับอนุญาตในปี 2017 โดยเวียดนามมีโครงการความร่วมมือด้านนิวเคลียร์กับเกาหลีใต้

ความต้องการใช้ไฟฟ้าของเวียดนามเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และคาดว่าจะสูงถึง 100 billion kWh/yr ในปี 2010 จากเดิม 40 billion kWh ที่ ในปี 2003 ปัจจุบัน พลังงานในการผลิตไฟฟ้ามากกว่าครึ่ง ได้มาจากพลังน้ำ หนึ่งในสี่ได้มาจากก๊าซ เวียดนามมีเครื่องปฏิกรณ์ 1 เครื่องอยู่ที่ Da Lat โดยมีรัสเซียเป็นที่ปรึกษา

ฟิลิปปินส์

มีเครื่องปฏิกรณ์วิจัย 1 เครื่อง

ฟิลิบบินส์มีเครื่องปฏิกรณ์ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 1 เครื่องที่สร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว แต่ถูกระงับการเดินเครื่อง เนื่องจากมีการฟ้องร้องเกี่ยวกับการติดสินบน และเรื่องความไม่ปลอดภัย โรงไฟฟ้าแห่งนี้คาดว่าจะปรับไปใช้เชื้อเพลิงถ่านหินหรือน้ำมัน

บังคลาเทศ

มีเครื่องปฏิกรณ์วิจัย 1 เครื่อง

บังคลาเทศมีแผนที่จะสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ขนาดกำลัง 600 MWe ในปี 2005 ได้ลงนามในความร่วมมือกับจีน บังคลาเทศมีเครื่องปฏิกรณ์วิจัยอยู่ 1 เครื่อง

                  โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ tarapur ของอินเดีย          โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ yonggwang ของเกาหลีใต้

โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ในเอเชีย และความสามารถในการผลิตเชื้อเพลิงนิวเคลียร์

 ประเทศ

โรงไฟฟ้า ที่เดินเครื่อง

โรงไฟฟ้า ที่กำลังก่อสร้าง

โรงไฟฟ้าที่มี แผนการก่อสร้าง

เครื่องปฏิกรณ์วิจัย

ออสเตรเลีย

1

บังคลาเทศ

1

สาธารณรัฐ ประชาชนจีน

10

5

63

13

สาธารณรัฐจีน

6

2

4

อินเดีย

16

7

19

5

อินโดนีเซีย

4

3

ญี่ปุ่น

55

2

12

17+1

เกาหลีใต้

20

1

7

2

เกาหลีเหนือ

1

1

มาเลเซีย

1

ปากีสถาน

2

1

4

1

ฟิลิปปินส์

1

ประเทศไทย

1+1

เวียดนาม

2

1

รวม

109

18

112

56*

เดินเครื่องอยู่ 54 โรง, อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 2 โรง
ถอดความจาก Asia’s Nuclear Energy Growth
เวบไซต์ www.world-nuclear.org

 

 

 

 

 

ข่าวสารเพิ่มเติม