การวัดการสึกหรอโดยใช้เทคโนโลยีการตามรอยสารรังสี |
||||||||||
เป็นเวลา 50 ปีแล้ว ที่มีการใช้เทคนิคการตามรอยสารรังสี (radioactive tracer techniques) ที่ Southwest Research Institute (SwRI) ในการวัดการสึกหรอของเครื่องยนต์ที่กำลังทำงานอยู่แบบ real-time ซึ่งมีความไวและความแม่นยำสูง ความสามารถเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากการใช้งานอย่างหนักและสภาวะแวดล้อม กำหนดให้เครื่องยนต์สมรรถนะสูงในทุกวันนี้ ต้องมีประสิทธิภาพสูง ขณะเดียวกันก็ต้องมีระดับการปล่อยก๊าซเสียออกมาต่ำ ซึ่งขึ้นกับความทนทานในการใช้งานและมีการสึกหรอน้อยที่สุด | ||||||||||
|
||||||||||
จุดเด่นของเทคโนโลยีตามรอยสารกัมมันตรังสี
ในการใช้เครื่องมือที่ทันสมัย วิศวกรของ SwRI ได้ศึกษาการสึกหรอแบบ real-time ทำให้สามารถตรวจหาการสึกหรอและหาอัตราการเปลี่ยนแปลงการสึกหรอได้ทันที จุดเด่นของการวัดโดยใช้เทคนิคการตามรอยสารกัมมันตรังสี ได้แก่ |
||||||||||
|
||||||||||
|
||||||||||
จุดประสงค์ของการใช้เทคโนโลยีสารตามรอยกัมมันตภาพรังสี
โดยทั่วไป ในการวัดการสึกหรอของชิ้นส่วนในเครื่องยนยต์แบบสันดาปภายใน มีการใช้เทคนิคสารตามรอยกัมมันตรังสี 2 แบบ |
||||||||||
|
||||||||||
การเลือกใช้แต่ละวิธี จะขึ้นกับวัตถุประสงค์ในการทดสอบ ชนิดของโลหะของชิ้นส่วน และรูปร่างหรือตำแหน่งของชิ้นส่วน | ||||||||||
|
||||||||||
การอาบรังสีทั้งชิ้น (Bulk Activation)
ในการทดสอบโดยการอาบรังสีทั้งชิ้นนั้น ชิ้นส่วนจะถูกนำไปอาบรังสีนิวตรอนในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัย และนำกลับมาติดตั้งในเครื่องยนต์ทดสอบ ในระหว่างที่เครื่องยนต์ทำงาน ชิ้นส่วนจะถูกเสียดสี ทำให้อนุภาคของชิ้นส่วนหลุดออกมา ซึ่งสามารถตรวจวัดได้ โดยการตามรอยนิวไคลด์รังสีที่อยู่ในน้ำมันหล่อลื่น หรือน้ำหล่อเย็น เมื่อวัดรังสีจากอนุภาคเหล่านี้โดยใช้ระบบวัดรังสีแกมมา (gamma ray spectrometer) ซึ่งรังสีที่วัดได้จะเป็นสัดส่วนกับมวลของวัสดุที่สึกหรอออกมา ในของเหลวที่หมุนเวียนอยู่ นิวไคลด์รังสีที่สึกหรอออกมา สามารถวัดได้หลายนิวไคลด์ในเวลาเดียวกัน ทำให้สามารถตรวจสอบการสึกหรอของผิวหน้าหรือชิ้นส่วนได้หลายชิ้นพร้อมกัน ในการทดสอบครั้งเดียว |
||||||||||
|
||||||||||
|
||||||||||
การอาบรังสีนิวตรอนที่ผิวหน้าหรือเป็นชั้นบางๆ (Surface- or Thin-Layer Activation)
การใช้เทคนิค SLA/TLA โดยการยิงชิ้นส่วนเครื่องยนต์ ด้วยลำอนุภาคมีประจุพลังงานสูง เพื่อทำให้อะตอมของชั้นบางๆ ที่ผิวหน้าของชิ้นส่วนมีกัมมันตภาพรังสี การสึกกร่อนวัดได้โดย การตรวจสอบการลดลงของกัมมัตภาพรังสีของชิ้นส่วนนั้น หรือการเพิ่มขึ้นของกัมมันตภาพรังสีของตะกอนที่สะสมที่ไส้กรองของเหลว ประสบการณ์ในการใช้เทคนิคตามรอยสารรังสี (Radioactive Tracer Experience) การใช้เทคนิคการตามรอยสารกัมมันตรังสี ทำให้ลดค่าใช้จ่ายลง มีความแม่นยำ ให้ข้อมูลแบบ real-time สามารถวัดการเปลี่ยนแปลงของการสึกกร่อนได้ละเอียด โดยไม่ต้องถอดชิ้นส่วนออกมาตรวจ สามารถศึกษาการสึกกร่อนได้ ทั้งในสภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงและสภาวะคงที่ โครงการที่ผ่านในการตรวจวัดโดยใช้สารติดตามกัมมันตรังสีของ SwRI ได้แก่ |
||||||||||
|
||||||||||
ถอดความจาก Real-Time Wear Measurement Using Radioactive Tracer Technology เวบไซต์ http://www.swri.org/4org/d03/vehsys/filtratn/wearmeas.htm |
||||||||||