การลงนามอนุสัญญาระหว่างประเทศ เพื่อปราบปรามการก่อการร้าย
|
||
คณะรัฐมนตรีพิจารณาการลงนามอนุสัญญาระหว่างประเทศ เพื่อปราบปรามการก่อการร้าย ที่ใช้นิวเคลียร์ ค.ศ. 2005 (International Convention for the Suppression of Acts of Nuclear Terrorism) ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ แล้วมีอนุมัติ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ลงนามในอนุสัญญาระหว่างประเทศ เพื่อปราบปรามการก่อการร้าย ที่ใช้นิวเคลียร์ในช่วง Treaty Event ระหว่างการประชุม High-Level Plenary Meeting ของสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญที่ 60 ระหว่างวันที่ 14-16 กันยายน 2548 ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ในโอกาสแรก เพื่อแจ้งเลขาธิการสหประชาชาติทราบภายในวันที่ 1 กันยายน 2548
ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศ รายงานความคืบหน้าในการดำเนินการว่า เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2548 สมัชชาสหประชาชาติ ได้รับรองอนุสัญญาระหว่างประเทศ เพื่อปราบปรามการก่อการร้าย ที่ใช้นิวเคลียร์ ค.ศ. 2005 (International Convention for the Suppression of Acts of Nuclear Terrorism) โดยฉันทามติ ซึ่งตามข้อ 24 ของอนุสัญญาฯ จะเปิดให้มีการลงนามที่สำนักงานใหญ่ สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก ระหว่างวันที่ 14 กันยายน 2548 ถึง 31 ธันวาคม 2549 ทั้งนี้ในช่วงการประชุม High-Level Plenary Meeting ของสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญที่ 60 ในเดือนกันยายน 2548 นี้ สหประชาชาติกำหนดจัด Treaty Event ขึ้นในช่วงระหว่างวันที่ 14-16 กันยายน 2548 ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก โดยเชิญชวนให้บรรดาประเทศต่างๆ ลงนาม และให้สัตยาบัน หรือภาคยานุวัติ สนธิสัญญาที่เลขาธิการสหประชาชาติเป็นผู้เก็บรักษา ซึ่งจะเน้นถึงสนธิสัญญา ที่ครอบคลุมถึงประเด็นปัญหา ที่มีความเกี่ยวพันกัน อาทิ การต่อต้านการก่อการร้าย การปราบปราบอาชญากรรมข้ามชาติ ที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร การฉ้อราษฏร์บังหลวง สิทธิมนุษยชน สิ่งแวดล้อม และการลดอาวุธ ตามแนวทางของรายงาน คณะผู้ทรงคุณวุฒิระดับสูง ว่าด้วยภัยคุกคาม ความท้าทาย และการเปลี่ยนแปลง โดยอนุสัญญาระหว่างประเทศ เพื่อปราบปรามการก่อการร้าย ที่ใช้นิวเคลียร์ เป็นหนึ่งในบรรดาสนธิสัญญาที่เปิดให้มีการลงนาม |
||
|
||
คณะกรรมการเพื่อพิจารณา การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา เกี่ยวกับการก่อการร้ายระหว่างประเทศ ได้มีมติเห็นชอบ ให้ไทยลงนามในอนุสัญญาระหว่างประเทศ เพื่อปราบปรามการก่อการร้าย ที่ใช้นิวเคลียร์ ค.ศ. 2005 ซึ่งบัญญัติให้รัฐภาคีมีพันธกรณี โดยสรุปดังนี้ | ||
|
||