แผนการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใหม่ทั่วโลก

แผนการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใหม่ทั่วโลก
—————————————————————————————————————-
  • กำลังการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานนิวเคลียร์สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องแต่ไม่รวดเร็วมาก มีเครื่องปฏิกรณ์ฯ ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 30 เครื่อง ใน 12 ประเทศ
  • เครื่องปฏิกรณ์ที่มีแผนการก่อสร้างนั้นเกือบทั้งหมดอยู่ในแถบเอเชีย
  • มีการรักษากำลังการผลิตบางส่วนด้วยการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของโรงไฟฟ้าเดิม
  • โครงการยืดอายุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เดิมทำให้ลดความต้องการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งใหม่

ปัจจุบันมีเครื่องปฏิกรณ์ฯ ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ประมาณ 440 เครื่อง ใน 31 ประเทศ โดยในปี 2005 มีกำลังการผลิตไฟฟ้า 370 Gwe สามารถป้อนไฟฟ้าได้ 2626 พันล้าน kWh หรือคิดเป็น 16% ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด
มีเครื่องปฏิรณ์นิวเคลียร์ของโรงไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างประมาณ 30 เครื่อง ใน 11 ประเทศ โดยเฉพาะในประเทศจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่นและรัสเซีย โดยการก่อสร้างมีความก้าวหน้าและดีกว่าเดิมมาก
ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency) มีแผนที่จะเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานนิวเคลียร์ โดยคาดว่าภายใน 15 ปีจะมีการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใหม่เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 60 แห่ง เพื่อให้มีกำลังการผลิต 430 Gwe ในปี 2020 โดยเพิ่มขึ้นมากกว่าปี 2000 จำนวน 130 Gwe หรือมากกว่าปัจจุบัน ในปี 2006 ประมาณ 16% การเปลี่ยนแปลงนี้อยู่ในแผนของหลายประเทศ ได้แก่ จีน อินเดีย รัสเซีย ฟินแลนด์ และฝรั่งเศส ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงของทัศนคติซึ่งมีผลมาจาก Kyoto Protocol ซึ่งจะทำให้ส่วนแบ่งในการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานนิวเคลียร์เพิ่มขึ้นเป็น 17% ในปี 2020 โดยมีการเติบโตสูงที่สุดในประเทศแถบเอเชีย

การเพิ่มกำลังการผลิต

การเพิ่มกำลังการผลิตในบางประเทศเป็นผลมาจากการเพิ่มประสิทธิภาพโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่มีอยู่เดิม ทำให้มีผลตอบแทนการลงทุนสูงขึ้น ตัวอย่างเช่น เครื่องปฏิกรณ์ของโรงไฟฟ้าจำนวนมากใน สหรัฐอเมริกา เบลเยียม สวีเดนและเยอรมัน ในสวิสเซอร์แลนด์มีการเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ทั้ง 5 เครื่อง ทำให้มีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น 12.3% ในสหรัฐอเมริกา คณะกรรมการควบคุมด้านนิวเคลียร์ (Nuclear Regulatory Commission) อนุญาตให้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องปฏิกรณ์ฯ ที่สร้างตั้งแต่ปี 1977 จำนวน 110 เครื่อง รวมเป็นกำลังไฟฟ้า 4700 MWe โดยบางแห่งสามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้ 20%

ประเทศสปนมีแผนการเพิ่มประสิทธิภาพกำลังการผลิตไฟฟ้าด้วยนิวเคลียร์ 810 MWe (11%) โดยปรับปรุงเครื่องปฏิกรณ์ฯ 9 เครื่องให้มีกำลังสูงขึ้น 13% ตัวอย่างเช่น เครื่องปฏิกรณ์ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Almarez สามารถเพิ่มกำลังได้ 5% โดยใช้เงินลงทุน 50 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้ผลิตไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้น 519 MWe

ฟินแลนด์เพิ่มประสิทธิภาพของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Olkiluoto อีก 29% เป็นกำลังไฟฟ้า 1700 MWe โรงไฟฟ้าแห่งนี้มีเครื่องปฏิกรณ์แบบ BWRs ของสวีเดนขนาด 660 MWe 2 เครื่อง ได้รับอนุญาตให้เดินเครื่องเมื่อปี 1978 และปี 1980 ปัจจุบันได้รับอนุญาตให้เดินเครื่องได้จนถึงปี 2018 โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Loviisa มีเครื่องปฏิกรณ์ VVER-440 (PWR) 2 เครื่อง มีการปรับปรุงประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอีก 90 MWe (10%)

โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

เครื่องปฏิกรณ์ที่อยู่ในแผนการก่อสร้างส่วนใหญ่อยู่ในแถบประเทศเอเชีย ซึ่งมีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงและมีความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

ประเทศที่มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อยู่แล้วอย่างน้อย 10 ประเทศ ได้แก่ บัลกาเรีย, แคนาดา, ฝรั่งเศส, รัสเซีย, จีน, อินเดีย, ปากีสถาน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้ และแอฟริกาใต้ มีแผนที่จะสร้างเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ใหม่เพิ่มขึ้น โดยในปัจจุบัน บางแห่งอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง

มีเครื่องปฏิกรณ์ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่มีแผนการก่อสร้างทั้งหมดประมาณ 35 เครื่อง เป็นกำลังในการผลิตไฟฟ้าประมาณ 40,000 MWe และมีการยื่นข้อเสนอในการก่อสร้างอีกด้วยจำนวนที่ใกล้เคียงกัน การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันและภาวะเรือนกระจก ที่เกิดจากการใช้ถ่านหิน มีส่วนในการผลักดันให้พลังงานนิวเคลียร์ กลับเข้าสู่วาระของโครงการในการเพิ่มกำลังการผลิตใหม่ ทั้งในยุโรปและอเมริกาเหนือ

ในสหรัฐอเมริกามีคำขอในการก่อสร้างเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ใหม่มากกว่า 20 เครื่อง โดยใบอนุญาตในการก่อสร้างและเดินเครื่องเหล่านี้จะได้รับอนุมัติในปี 2007 โดยทั้งหมดเป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์รุ่นที่สาม ที่เหลืออีก 2 เครื่องเป็นเครื่องปฏิกรณ์ฯ แบบ ABWR

ปัจจุบันฟินแลนด์อยู่ระหว่างการก่อสร้างเครื่องปฏิกรณ์เครื่องที่ 5 โดยเป็นเครื่องที่มีขนาดใหญ่มากและจะเดินเครื่องเข้าสู่ระบบในปี 2010

ในรัสเซียมีเครื่องปฏิกรณ์ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างจำนวน 5 เครื่อง ซึ่งจะเสร็จสมบูรณ์ในปี 2012 และมีแผนที่จะก่อสร้างเครื่องปฏิกรณ์อีก 5 เครื่องเพื่อทดแทนของเดิม นอกจากนั้น ยังมีแผนที่จะสร้างเครื่องปฏิกรณ์ใหม่สำหรับใช้ในปี 2020 อีก 15 เครื่อง ซึ่งจะทำให้กำลังการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานนิวเคลียร์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน 21.7 GWe เพิ่มขึ้นเป็น 50 GWe ในปี 2020 และมีแผนที่จะใช้พลังงานนิวเคลียร์ในการผลิตความร้อนอีก 5 GW

ในโปแลนด์ รัฐบาลได้อนุมัติแผนในการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบ PWR ที่มีกำลังการผลิตอย่างน้อย 2000 MWe โดยจะเริ่มการก่อสร้างในปี 2010 และจะเดินเครื่องในปี 2015 และอาจจะมีแผนที่จะเพิ่มขึ้นอีกตามโครงการอื่นของทางการ

พลังงานนิวเคลียร์ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในระบบผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสาน ทั้งในประเทศเกาหลีใต้และญี่ปุ่น

เกาหลีใต้มีแผนที่จะสร้างเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์เพิ่มขึ้นอีก 8 เครื่อง เพื่อใช้ในการเดินเครื่องในปี 2015 ซึ่งจะให้มีกำลังผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 9200 MWe เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ Ulchin 5 กับ 6 เข้าสู่ระบบผลิตไฟฟ้าในปี 2004 จากนั้นตามแผนก็จะเป็นเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ Shin-Kori-1 กับ 2 และเครื่องปฏิกรณ์ Wolsong-5 กับ 6 ซึ่ง KSNP ได้ปรับปรุงการออกแบบ ต่อจากนั้นก็จะเป็นเครื่องปฏิกรณ์ฯ แบบ Advanced PWRs ขนาด 1400 MWe ได้แก่ Shin-Kori-3 กับ 4 และ Shin-Ulchin 1 กับ 2 เครื่องปฏิกรณ์เหล่านี้เป็นแบบ APR-1400 ซึ่งเป็นระบบที่พัฒนามาจากของสหรัฐอเมริกาที่ US NRC ได้รับรองการออกแบบแล้ว เรียกว่า Korean Next-Generation Reactor ซึ่งจะมีต้นทุนการผลิต 1400 เหรียญสหรัฐต่อกิโลวัตต์ และจะลดลงเหลือ 1200 เหรียญสหรัฐต่อกิโลวัตต์ในเครื่องถัดมา ซึ่งจะใช้เวลาในการก่อสร้าง 48 เดือน

ญี่ปุ่นมีเครื่องปฏิกรณ์ที่กำลังก่อสร้างอยู่ 1 เครื่อง และอีก 1 เครื่องที่พร้อมจะเริ่มการก่อสร้าง ส่วนในแผนงาน มีการออกแบบสถานที่ก่อสร้างและกำหนดขั้นตอนเวลา (timetable) ในการก่อสร้างเครื่องปฏิกรณ์ฯ อีก 11 เครื่อง ซึ่งมีกำลังการผลิตรวมมากกว่า 13,000 MWe ตอนต้นปี 2001 โรงไฟฟ้าของ Tepco ได้ชะลอแผนการของโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงฟอสซิล 12 แห่ง และมีกำหนดที่จะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใหม่อีก 4 แห่ง

ปัจจุบัน ประเทศจีนมีการเดินเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์อยู่ 10 เครื่อง CNNC ได้ปรับเข้าสู่ระยะของโครงการพลังงานนิวเคลียร์ โดยมีการก่อสร้างเครื่องปฏิกรณ์แบบ PWRs ของรัสเซียขนาด 950 MWe จำนวน 2 เครื่อง ที่ Jiangsu Tianwan ใน Lianyungang ซึ่งใกล้เสร็จสมบูรณ์แล้ว NNC ของจีนและ Guangdong NPC กำลังก่อสร้างเครื่องปฏิกรณ์แบบของจีนเองที่ Lingdong กับ Qinshan จำนวน 4 เครื่อง และจะเริ่มสร้างอีก 4 เครื่องที่มีขนาดใหญ่กว่าเดิมที่ Sanmen กับ Yangjiang โดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มกำลังการผลิตด้วยพลังงานนิวเคลียร์ให้เพิ่มขึ้น 4 เท่าในปี 2020 ส่วนที่ใต้หวัน Taipower กำลังก่อสร้างเครื่องปฏิกรณ์แบบ advanced BWRs อีก 2 เครื่องที่ Lungmen

อินเดียมีเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่กำลังก่อสร้าง 7 เครื่อง คาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ในปี 2010 ซึ่งรวมถึงเครื่องปฏิกรณ์ขนาดใหญ่แบบรัสเซีย 2 เครื่อง และเครื่องต้นแบบของเครื่องปฏิกรณ์แบบ fast breeder reactor ซึ่งอยู่ในยุทธศาสตร์การพัฒนาเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ให้สามารถใช้เชื้อเพลิงทอเรียม (thorium )

ปากีสถานกำลังก่อสร้างเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์เครื่องที่สองขนาด 300 MWe ที่ Chasma โดยได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากจีน

คาซัคสถาน (Kazakhstan) ได้ร่วมลงทุนกับ Russia’s Atomstroyexport ในการพัฒนาและทำการตลาดเครื่องปฏิกรณ์ขนาดกลางและขนาดเล็ก โดยเริ่มที่การออกแบบเครื่องปฏิกรณ์แบบรัสเซียขนาด 300 MWe สำหรับติดตั้งที่ Kazakh

โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ของอิหร่านได้ชะงักลงตั้งแต่ปี 1979 แต่ในปี 1995 อิหร่านได้ลงนามตกลงความร่วมมือกับรัสเซีย ในการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบ PWR ขนาด 1000 MWe ที่ Bushehr การก่อสร้างได้คืบหน้าไปมากแล้ว

รัฐบาลตุรกี (Turkish) มีแผนที่จะมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 3 แห่ง มีกำลังการผลิตรวม 4500 MWe ซึ่งจะเดินเครื่องในปี 2012-15 โดยใช้เงินลงทุน 10.5 พันล้านเหรียญ

อินโดนีเซียมีแผนที่จะเริ่มการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่มีกำลังการผลิต 2000 MWe ในปี 2010

เวียดนามมีแผนที่จะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งแรกโดยคาดว่าจะอนุมัติให้เดินเครื่องในปี 2017

แผนการยืดอายุโรงไฟฟ้า

โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ส่วนใหญ่ได้รับการออกแบบในตอนแรก ให้มีอายุการใช้งานได้ประมาณ 40 ปี แต่จากการประเมินทางวิศวกรรมแล้ว มีโรงไฟฟ้าเป็นจำนวนมากที่สามารถใช้งานเพิ่มขึ้นได้อีกมากกว่าสิบปี ในสหรัฐอเมริกามีเครื่องปฏิกรณ์มากกว่า 44 แห่ง ที่มีการออกใบอนุญาตให้ใหม่ เพื่อยืดอายุการใช้งานจากเดิม 40 ปีออกไปเป็น 60 ปี ส่วนในญี่ปุ่นได้เพิ่มอายุการใช้งานเพิ่มขึ้นไปเป็น 70 ปี

โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์เชิงพาณิชย์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลกที่ Calder Hall และ Chapelcross ของอังกฤษ ซึ่งสร้างขึ้นในทศวรรษ 1950 โดยสร้างแบบประหยัดนั้น คาดว่าจะมีอายุได้เพียง 20-25 ปี ได้รับอนุญาตให้เดินเครื่องได้ 50 ปี แต่ด้วยเหตุผลทางเศรษฐศาสตร์จึงปิดตัวลงก่อนหน้านั้น ส่วนใหญ่แล้ว เครื่องปฏิกรณ์แบบ Magnox จะได้รับอนุญาตให้มีอายุการใช้งานได้ 40 ปี

ในปี 2000 รัฐบาลรัสเซียได้ยืดอายุการใช้งานเครื่องปฏิกรณ์ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศ 12 แห่ง จากเดิมที่กำหนดไว้ 30 ปี เพิ่มขึ้นอีก 15 ปี

มีการศึกษาความเป็นไปได้ทางเทคนิคและทางเศรษฐศาสตร์ในการเปลี่ยนอุปกรณ์ที่สำคัญในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ เช่น ระบบผลิตไอน้ำ (steam generators) ในเครื่องปฏิกรณ์แบบ PWRs และท่อความดันสูง (pressure tube) ในเครื่องปฏิกรณ์แบบที่ใช้น้ำมวลหนัก (heavy water) หรือ CANDU ซึ่งจะทำให้มีโอกาสในการได้รับใบอนุญาตเพื่อยืดอายุการใช้งานเครื่องปฏิกรณ์นั้นน่าสนใจมาก โดยเฉพาะในแง่ของการยอมรับของประชาชนที่ยากในการจะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งใหม่

ในทางกลับกัน ด้วยเหตุผลทางด้านเศรษฐศาสตร์ ด้านการควบคุม และด้านการเมืองกลับเป็นตัวผลักดันให้มีการปิดเครื่องปฏิกรณ์บางแห่งลงก่อนเวลาอันควร โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ทำให้จำนวนเครื่องปฏิกรณ์ลดลงจาก 110 เครื่อง เหลือ 103 เครื่อง

เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่อยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง
ปีที่เริ่มเดินเครื่อง
ประเทศ,
หน่วยงาน
ชื่อเครื่องปฏิกรณ์
ชนิด
กำลังผลิตไฟฟ้า
MWe (net)
2006
จีน, CNNC Tianwan 1
PWR
950
2007
อิหร่าน, AEOI Bushehr 1
PWR
950
2007
อินเดีย, NPCIL Tarapur 3
PHWR
490
2007
จีน, CNNC Tianwan 2
PWR
950
2007
อินเดีย, NPCIL Rawatbhata 5
PHWR
202
2007
Romania, SNN Cernavoda 2
PHWR
650
2007
อินเดีย, NPCIL Kudankulam 1
PWR
950
2007
อินเดีย, NPCIL Kaiga 3
PHWR
202
2007
อินเดีย, NPCIL Kaiga 4
PHWR
202
2007
สหรัฐอเมริกา, TVA Browns Ferry 1
BWR
1065
2008
อินเดีย, NPCIL Kudankulam 2
PWR
950
2008
อินเดีย, NPCIL Rawatbhata 6
PHWR
202
2009
รัสเซีย, Rosenergoatom Volgodonsk 2
PWR
950
2009
ญี่ปุ่น, Hokkaido Tomari 3
PWR
866
2010
เกาหลี, KHNP Shin Kori 1
PWR
950
2010
ฟินแลนด์, TVO Olkilouto 3
PWR
1600
2010?
รัสเซีย, Rosenergoatom Balakovo 5
PWR
950
2010
รัสเซีย, Rosenergoatom Kalinin 4
PWR
950
2010
อินเดีย, NPCIL Kalpakkam
FBR
470
2010
จีน, Guangdong Lingao 3
PWR
935
2010
จีน, CNNC Qinshan 6
PWR
650
2010
จีน, CNNC Qinshan 7
PWR
650
2010
จีน, Taipower Lungmen 1
ABWR
1300
2010-11
จีน, Taipower Lungmen 2
ABWR
1300
2011
เกาหลี, KHNP Shin Wolsong 1
PWR
950
2011
จีน, Guangdong Lingao 4
PWR
935
2011
ปากีสถาน, PAEC Chashma 2
PWR
300
2012
เกาหลี, KHNP Shin Wolsong 2
PWR
950
2012
เกาหลี, KHNP Shin Kori 2
PWR
950
2012
รัสเซีย, Rosenergoatom Beloyarsk 4
FBR
750
2012
ญี่ปุ่น, Chugoku Shimane 3
PWR
1375
2012
จีน, CNNC Sanmen 1 & 2
PWR
?
2012
จีน, CNNC Yangjiang 1 & 2
PWR
?
เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่มีแผนการก่อสร้าง
ปีที่เริ่มเดินเครื่อง
ปีที่เริ่มก่อสร้าง
ประเทศ,
หน่วยงาน
ชื่อเครื่องปฏิกรณ์
ชนิด
กำลังผลิตไฟฟ้า
MWe (each)
2008
เริ่มสร้างแล้ว
อาร์เจนตินา, CNEA Atucha 2
PHWR
692
2010-11
2006?
ญี่ปุ่น, Tepco Fuikishima I- 7 & 8
PWR
1325
2014-15
2007?
ญี่ปุ่น, JAPC Tsuruga 3 & 4
APWR
1500
2010-11
2006?
เกาหลีใต้, KHNP Shin-Kori 3 & 4
APR (KNGR)
1350
2012
2006?
ญี่ปุ่น, EPDC Ohma
ABWR
1350
2012?
2006?
ญี่ปุ่น, Tepco Higashidori 1-2 (Tepco)
ABWR
1320
2012+
2007
ญี่ปุ่น, Tohoku Higashidori 2 (Tohoku)
ABWR
1320
2015
เกาหลีใต้,KHNP Shin-Ulchin 1-2
APR (KNGR)
1350
อินเดีย, NPCIL Rawatbhata 7 & 8
PHWR
490
อินเดีย, NPCIL Kaiga 5 & 6
PHWR
490
ที่มา: UIC/WNA information papers and newsletters
Nuclear Engineering International, handbook
ถอดความจาก Plans For New Reactors Worldwide
เวบไซต์ www.uic.com.au

ข่าวสารเพิ่มเติม