เครื่องวัดรังสีขนาดจิ๋ว

นักวิทยาศาสตร์ออสเตรเลียได้พัฒนาเครื่องวัดรังสีขนาดจิ๋ว มีขนาดนิวเคลียสของเวลล์มนุษย์เท่านั้น

หัววัดรังสีได้รับการออกแบบให้วัดปริมาณของพลังงานของรังสีตกกระทบนิวเคลียสของเซลล์มนุษย์ได้ถูกต้อง ทำให้สามารถทำความเข้าใจกับผลของรังสีต่อมนุษย์ได้ดียิ่งขึ้น

เทคโนโลยีนี้ได้รับการพัฒนาโดยความร่วมมือของ ANSTO มหาวิทยาลัย Wollongong และมหาวิทยาลัย New South Wales โดยได้รับการสนับสนุนจากสภาวิจัยออสเตรเลีย (Australian Research Council)

Dr Mark Reinhard ซึ่งเป็นหัวหน้าโครงการของฝ่าย ANSTO กล่าวว่า เทคโนโลยีนี้มีความสำคัญในแง่ของ ประสิทธิภาพในการวัดปฏิกิริยาของรังสีหลายชนิด ที่เกิดขึ้นกับเซลล์ได้อย่างถูกต้อง และใช้ในการคาดการณ์ความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งจากการได้รับรังสี

Dr Reinhard กับ micro-dosimeter
“เทคโนโลยีใหม่นี้ มีศักยภาพที่สำคัญ 2 ด้าน คือ ในกรณีที่รังสีเคลื่อนที่ผ่านช่องว่างมีความซับซ้อน และทำให้เกิดความเข้าใจกับปริมาณรังสีได้ผู้ป่วยได้รับในระหว่างที่รักษาโรคมะเร็ง เช่นการใช้วิธีการรักษาด้วยโปรตอน (proton therapy) ที่ยังไม่มีการนำเข้ามาใช้ในออสเตรเลีย”

Dr Reinhard อธิบายเพิ่มเติมว่า “การรักษาด้วยโปรตอน เป็นเทคนิคการรักษามะเร็งที่กำหนดปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับได้แม่นยำกว่า ทำให้ลดผลข้างเคียงลงไป แต่ก็เป็นการรักษาที่มีความซับซ้อนกว่าการใช้รังสีรักษาโดยทั่วไป”

เครื่องวัดปริมาณรังสีขนาดเล็กแบบใหม่นี้ จะช่วยให้ทำความเข้าใจความแตกต่างของการรักษาด้วยรังสีแต่ละชนิด

เครื่องวัดรังสีโดยทั่วไป วัดปริมาณรังสีในปริมาตรขนาดใหญ่ ซึ่งช่วยให้ประมาณค่า ผลของรังสีแกมมาต่อระบบทางชีววิทยา แต่สำหรับรังสีในรูปแบบอื่นที่ผู้ที่โดยสารเครื่องบิน หรือในอวกาศได้รับ เครื่องวัดรังสีทั่วไปไม่เพียงพอที่จะใช้ได้

การพัฒนาเครื่องวัดรังสีไมโคร (micro-dosimeter) ที่ ANSTO โดยใช้เครื่องเร่งอนุภาค (heavy ion particle accelerator) ทำให้เกิดความสนใจกับนักวิจัยนานาชาติ

Dr Reinhard กล่าวว่า“เครื่อง micro-dosimeter ในรุ่นก่อน ได้รับการทดสอบในอวกาศ เพื่อดูผลกระทบของรังสีคอสมิกต่อนักบินอวกาศ ด้วยความร่วมมือของ ANSTO กับมหาวิทยาลัย Wollongong โดยได้รับทุนจาก National Space Biomedical Research Institute”

“เราได้พัฒนาแบบจำลองมนุษย์ (human phantom) ซึ่งติดตั้งเครื่องวัดรังสีไว้ ช่วยให้ทีมแพทย์กำหนดปริมาณโปรตอนที่ให้กับผู้ป่วยได้ถูกต้องมากขึ้นในการต่อสู้กับเซลล์มะเร็ง”

“เราตื่นเต้นมากกับเทคโนโลยีใหม่นี้ และเชื่อว่าจะเป็นก้าวใหม่ที่จะมีขนาดเล็กลงไปอีก ในการวัดพลังงานของรังสีที่มีผลต่อดีเอ็นเอ เนื่องจาก การอยู่รอดของเซลล์สิ่งมีชีวิตที่ได้รับรังสี ขึ้นกับความเสียหายของดีเอ็นเอจากการได้รับรังสี”

เขาสรุปว่า “จะทำให้เกิดประโยชน์อย่างประมาณไม่ได้ ถ้าสามารถวัดรังสีที่มีผลกระทบลงไปถึงระดับดีเอ็นเอ”

ถอดความจาก Miniature radiation detector
เว็บไซต์ www.ansto.do.au
ข่าวสารเพิ่มเติม