“สืบจากศพ” ด้วยรังสี

“สืบจากศพ” ด้วยรังสี
นักวิทยาศาสตร์รังสี นำเทคนิคใหม่มาใช้คำนวณหาเวลาเสียชีวิตของศพได้อย่างแม่นยำ โดยวัดอายุด้วยกัมมันตรังสี สามารถคำนวณได้แม้ศพเน่าเปื่อยแล้ว หรือศพที่ถูกหั่นเป็นท่อนๆ

Dr. Stuart Black อาจารย์สอนวิชากัมมันตรังสีสิ่งแวดล้อม จากมหาวิทยาลัย Reading ประเทศอังกฤษ กล่าวในการประชุมประจำปี ของสมาคมวิทยาศาสตร์ก้าวหน้า ถึงเทคนิคการตรวจอายุศพ ด้วยกัมมันตรังสี ที่อังกฤษเป็นผู้บุกเบิกว่า เป็นวิธีการคำนวณเวลาเสียชีวิตของศพ ที่ใช้ได้ผลดี นอกจากจะรู้วันเสียชีวิตแล้ว ยังใช้ได้กับศพที่ถูกหั่น หัว แขวน ขา และลำตัว แล้วฆาตรกร นำไปแยกชิ้น ทิ้งอำพราง

เทคนิครังสีดังกล่าว เป็นการทดสอบที่ก้าวหน้าที่สุดในโลก แม้แต่สำนักงานสืบสวนกลาง หรือเอฟบีไอ (FBI) ของสหรัฐ ก็เริ่มให้ความสนใจ และพัฒนาเทคนิคของตัวเองขึ้นมาใช้ โดยใช้ไอโซโทปของกัมมันตรังสีบางชนิด ที่พบอยู่ในธรรมชาติ ทั้งนี้ นักวิจัยได้พบองค์ประกอบพื้นฐาน ที่ใช้หาไอโซโทปตะกั่ว-210 ที่มีอยู่ในห่วงโซ่อาหารมนุษย์ ซึ่งในร่างกายของคน จะมีปริมาณตะกั่วดังกล่าว อยู่ในร่างกายไม่มากก็น้อย

เมื่อมนุษย์ตายไป และหยุดรับประทาน ปริมาณไอโซโทปจะเริ่มลดลงไปเรื่อยๆ ทั้งนี้ ครึ่งอายุของกัมมันตภาพรังสีไอโซโทปตะกั่ว มีระยะเวลา 22 ปี โดยกัมมันตรังสีของไอโซโทป จะลดลงไปครึ่งหนึ่ง การพิจารณาระดับของการเสื่อมลง ของไอโซโทป ช่วยให้นักนิติวิทยาศาสตร์ สามารถวัดปีที่เสียชีวิตของศพได้

ส่วนการวัดหาการเสื่อมอายุ ของไอโซโทปอื่น อย่างเช่น โปโลเนียม-210 ซึ่งมีครึ่งชีวิตเพียง 138 วัน และมีอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ สามารถใช้วัดอายุ การเสียชีวิต ของศพที่ตายข้ามวันได้อย่างแม่นยำ[1]

เทคนิครังสีนี้ เหมาะกับตำรวจสืบสวนอย่างยิ่ง ซึ่งมีคดีฆาตกรรม รอสะสางท่วมหัว ซึ่งอาจต้องใช้เวลา 75 ปี ถึงจะคลี่คลายปมสังหารได้ ซึ่งกว่าจะถึงวันนั้น ฆาตกรคงแก่ตายไปแล้ว

จากข่าว MSNBC.COM (Sep. 6, 2004)
[1] ความแม่นยำของการวัด มีองค์ประกอบสำคัญหลายอย่าง คือ
1) ข้อมูลพื้นฐาน (Database) เกี่ยวกับปริมาณ Pb และ Po ในดินและในอาหารชนิดต่างๆ
2) ชนิดของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ในสถานที่ต่างๆ (ซึ่งมี Pb เป็นส่วนประกอบ)
ข่าวสารเพิ่มเติม