สัญลักษณ์รังสีและการติดเครื่องหมายรังสี

สัญลักษณ์รังสีและการติดเครื่องหมายรังสี
(Radiation symbol, signs, labels and control devices)

สัญลักษณ์มาตรฐานของรังสี

สัญลักษณ์รังสี ที่ใช้เป็นมาตรฐาน มีรูปเป็นใบพัด (Cross-hatched) 3 แฉก มีสีม่วงอ่อน ม่วงเข้ม หรือดำ (magenta, purple, black) บนพื้นสีเหลือง โดยมีข้อกำหนด ดังนี้
(1) มีพื้นที่ส่วนที่เป็นใบพัด 3 แฉก และวงกลมตรงกลาง เป็นสีม่วงอ่อน สีม่วงเข้ม หรือสีดำ
(2) มีสีพื้นเป็นสีเหลือง
(3) นอกจากสีที่ใช้ในสัญลักษณ์มาตรฐานนี้แล้ว ผู้ได้รับอนุญาตสามารถใช้วิธีอื่น เช่น ประทับด้วยความร้อน ประทับตราด้วยแรงกด การกัดรอยลงในเนื้อวัสดุ หรือใช้สีอื่นในการติดตราสัญลักษณ์ของรังสี ลงบนภาชนะบรรจุสารรังสี หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวกับสารรังสี
(4) แสดงข้อมูลเพิ่มเติมบนฉลากและเครื่องหมาย ผู้ได้รับอนุญาตควรแสดงข้อมูลปริมาณรังสีลงบนฉลาก หรือตำแหน่งที่ใกล้กับเครื่องหมายรังสี เพื่อให้ผู้ที่พบเห็นมีความระมัดระวัง และได้รับรังสีน้อยที่สุด
สัญลักษณ์รังสี แบบมาตรฐาน เป็นรูปใบพัด 3 แฉก และวงกลมตรงกลาง มีสีม่วงหรือสีดำ บนพื้นสีเหลือง
มีสัดส่วนของรัศมีวงกลมใน = R รัศมีวงกลมนอก = 1.5R และรัศมีของใบพัด = 5R

การติดสัญลักษณ์รังสี

(i)
การติดเครื่องหมายแสดงเขตรังสี (radiation area) ผู้ได้รับอนุญาต ต้องติดเครื่องหมายแสดงพื้นที่ที่มีรังสี แต่ละตำแหน่งอย่างเด่นชัด และมีข้อความ ระวัง เขตรังสี (CAUTION, RADIATION AREA)
(ii)
การติดเครื่องหมายแสดงเขตรังสีสูง (high radiation area) ผู้ได้รับอนุญาตต้องติดเครื่องหมายแสดงพื้นที่ที่มีรังสีสูง แต่ละตำแหน่งอย่างเด่นชัด และมีข้อความ ระวัง เขตรังสีสูง (CAUTION, HIGH RADIATION AREA) หรือ อันตราย เขตรังสีสูง (DANGER, HIGH RADIATION AREA)
(iii)
การติดเครื่องหมายแสดงเขตรังสีสูงมาก (very high radiation area) ผู้ได้รับอนุญาตต้องติดเครื่องหมายแสดงพื้นที่ที่มีรังสีสูงมาก แต่ละตำแหน่งอย่างเด่นชัด และมีข้อความ อันตรายอย่างยิ่ง เขตรังสีสูงมาก (GRAVE DANGER, VERY HIGH RADIATION AREA)
(iv)
การติดเครื่องหมายแสดงเขตที่มีละอองฝุ่นรังสี (airborne radioactivity area) ผู้ได้รับอนุญาต ต้องติดเครื่องหมายแสดงพื้นที่ที่มีละอองฝุ่นรังสี แต่ละตำแหน่งอย่างเด่นชัด และมีข้อความ ระวัง เขตละอองฝุ่นรังสี (CAUTION, AIRBORNE RADIOACTIVITY AREA) หรือ อันตราย เขตละอองฝุ่นรังสี (DANGER, AIRBORNE RADIOACTIVITY AREA)
(v)
การติดเครื่องหมายแสดงพื้นที่ใช้งานหรือห้องเก็บสารรังสี ผู้ได้รับอนุญาต ต้องติดเครื่องหมายแสดงพื้นที่ใช้งาน หรือห้องเก็บสารรังสีทุกแห่ง ที่มีปริมาณมากกว่า 10 เท่าของตารางที่ 4 ในส่วนที่ 38.41 ของกฎข้อนี้ โดยแสดงตราสัญลักษณ์อย่างเด่นชัด และมีข้อความ ระวัง วัสดุกัมมันตรังสี (CAUTION, RADIOACTIVE MATERIAL) หรือ อันตราย วัสดุกัมมันตรังสี (DANGER, RADIOACTIVE MATERIAL)

ข้อยกเว้นในติดสัญลักษณ์รังสี (Exceptions to posting requirements)

(i)
ผู้ได้รับอนุญาตไม่จำเป็นต้องติดเครื่องหมายเตือน ถ้าพื้นที่หรือห้องที่ใช้เก็บสารรังสี มีช่วงเวลาในการเก็บน้อยกว่า 8 ชั่วโมง และเป็นไปตามเงื่อนไข ดังนี้
(a)
ต้นกำเนิดรังสีอยู่ภายใต้การดูแลตลอดเวลา ของผู้ที่สามารถป้องกันไม่ให้ผู้อื่นได้รับรังสีเกินกว่าที่กำหนดในกฎนี้
(b)
พื้นที่หรือห้องเก็บรังสีอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ได้รับอนุญาต
(ii)
พื้นที่หรือห้องเก็บสารรังสี ไม่จำเป็นต้องติดเครื่องเตือน ถ้าใช้สารรังสีชนิดปิดผนึก (sealed source) และที่ระยะห่างจากผิวหน้าของภาชนะบรรจุต้นกำเนิดรังสี 30 เซนติเมตร มีระดับรังสีต่ำกว่า 0.05 มิลลิซีเวอร์ด (mSv) หรือ (0.005 rem) ต่อชั่วโมง

การติดเครื่องหมายภาชนะบรรจุหรืออุปกรณ์ที่มีรังสี (Labeling containers and radiation machines)

(1)
ผู้รับอนุญาตต้องมั่นใจว่าภาชนะบรรจุสารรังสีทุกชิ้นมีความทนทานเป็นเวลานาน มีการติดเครื่องหมายรังสีอย่างเด่นชัด และมีข้อความ ระวัง วัสดุกัมมันตรังสี (CAUTION, RADIOACTIVE MATERIAL) หรือ อันตราย วัสดุกัมมันตรังสี (DANGER, RADIOACTIVE MATERIAL) ฉลากที่ติด ต้องมีข้อมูลแสดงชนิดของนิวไคลด์กัมมันตรังสี ปริมาณของกัมมันตภาพรังสี วันที่ทำการวัดกัมมันตภาพรังสี ระดับของรังสี (radiation levels) ชนิดของวัสดุ และ mass enrichment เพื่อให้ผู้ที่ใช้งานสารรังสี หรือผู้ที่เข้าใกล้ภาชนะบรรจุ มีความระมัดระวังและได้รับรังสีน้อยที่สุด
(2)
ผู้รับอนุญาต ต้องถอดเครื่องหมายรังสี ออกจากภาชนะบรรจุ ที่เลิกใช้งานและไม่มีรังสีแล้ว ก่อนที่จะทิ้งหรือนำไปที่อื่น
(3)
ผู้รับอนุญาตต้องมั่นใจว่า อุปกรณ์รังสีทุกชิ้น มีการติดเครื่องหมายรังสีที่เด่นชัด เพื่อเตือนให้ทุกคนมีความระมัดระวัง ว่ามีรังสีเมื่อเปิดใช้งาน
(4)
ข้อยกเว้นการติดเครื่องหมายรังสี ผู้รับอนุญาตไม่จำเป็นต้องติดเครื่องหมายรังสี ในกรณีต่อไปนี้
(i)
ภาชนะที่ใช้บรรจุวัสดุที่มีกัมมันตภาพรังสี ต่ำกว่าปริมาณที่แสดงในตารางที่ 4 ของส่วนที่ 38.41 ของกฎนี้
(ii)
ภาชนะที่ใช้บรรจุวัสดุกัมมันตรังสี ที่มีความเข้มข้นน้อยกว่าปริมาณที่แสดงใน ภาคผนวก A-13 ตารางที่ 3 ของส่วนที่ 38.41 ของกฎนี้
(iii)
ภาชนะที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ เช่น บีกเกอร์ (beaker) ขวดชมพู่ (flask) หรือหลอดทดลอง ที่ใช้งานในช่วงเวลาสั้นๆ เช่น ช่วงเวลาไม่กี่ชั่วโมง โดยอยู่ภายใต้การดูแลของผู้รับอนุญาต
(iv)
ภาชนะบรรจุสารรังสีที่อยู่ระหว่างขนส่ง และเก็บไว้ภายในตู้ขนส่งที่ติดเครื่องหมายรังสี โดยปฏิบัติตามระเบียบการขนส่งวัสดุกัมมันตรังสี ของกระทรวงคมนาคม
(v)
ภาชนะบรรจุสารรังสี ที่อนุญาตให้ใช้ หรือเข้าไปในพื้นที่ใกล้เคียงได้ เฉพาะบุคคลที่กำหนด และมีบันทึกรายงานการเข้าใช้ ตัวอย่างภาชนะบรรจุสารรังสีชนิดนี้ ได้แก่ เครื่องวัดระดับน้ำในคลอง storage vaults หรือ hot-cells ต้องมีการบันทึกและเก็บรักษาข้อมูลการใช้ ไว้ตลอดเวลาที่ยังมีการใช้งาน เพื่อแสดงวัตถุประสงค์ของการใช้แต่ละครั้ง
(vi)
เครื่องมือที่ติดตั้งในกระบวนการ หรือการผลิต เช่น เครื่องมือในกระบวนการทางเคมี ท่อ และ ถัง (tank)
ถอดความจาก Radiation symbol, signs, labels and control devices
เวบไซต์ http://www.labor.state.ny.us/workerprotection
ข่าวสารเพิ่มเติม