วันสำคัญในเดือนกุมภาพันธ์

วันสำคัญในเดือนกุมภาพันธ์
2 ก.พ. วันนักประดิษฐ์
3 ก.พ. วันทหารผ่านศึก
14 ก.พ. วันวาเลนไทน์
22 ก.พ. วันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก
23 ก.พ. วันมาฆบูชา (15 ค่ำ เดือน 3)
24 ก.พ. วันศิลปินแห่งชาต
24 ก.พ. วันปลอดควันพิษจากไฟป่า
26 ก.พ. วันสหกรณ์แห่งชาติ

วันนี้ในอดีต

1 ก.พ. ภาพเคลื่อนไหวถ่ายด้วยรังสีเอกซ์
ในปี 1951 มีการแสดงกระบวนการถ่ายภาพเคลื่อนไหวด้วยรังสีเอกซ์เป็นครั้งแรก
แพร่ภาพการระเบิดของระเบิดปรมาณู
ในปี 1951 สถานีโทรทัศน์ KTLA ได้แพร่ภาพการระเบิดของระเบิดปรมาณูให้สาธาณชนชมทางโทรทัศน์เป็นครั้งแรก เหตุการณ์นี้บันทึกภาพโดยใช้กล้องของ NBC ติดตั้งอยู่ที่ภูเขา Wilson ซึ่งอยู่ห่าง 300 ไมล์ จากจุดที่ทำการทดสอบ ที่ Frenchman Flats รัฐ Nevada สหรัฐอเมริกา
4 ก.พ. การผลิตสารกัมมันตรังสี
ในปี 1936 มีการผลิตสารกัมมันตรังสีเรเดียม เป็นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา โดยการยิงธาตุบิสมัทด้วยนิวตรอน โดย Dr. John Jacob Livingood ที่มหาวิทยาลัย California at Berkeley.
6 ก.พ. เจอร์มาเนียม
ในปี 1886 ได้มีการค้นพบธาตุเจอร์มาเนียม โดยนักเคมีชาวเยอรมัน Clement Winkler ซึ่งกำลังทำงานเกี่ยวกับการใช้โคบอลต์ในแก้ว ที่มหาวิทยาลัย Freiberg School of Mining เมื่อได้ค้นพบเจอร์มาเนียมในแร่ argyrodite ขณะกำลังวิเคราะห์แร่เงินซัลไฟด์ เขาพบว่า ธาตุที่วิเคราะห์ได้ มีเพียงร้อยละ 93 ของน้ำหนัก ที่เขารู้จัก เมื่อตรวจสอบอีกร้อยละ 7 ที่เหลือ เขาได้พบว่าเป็นธาตุใหม่ จึงตั้งชื่อว่า เจอร์มาเนียม (germanium) ตามชื่อประเทศเยอรมัน (Germany) ซึ่งเป็นธาตุที่ในหมู่เดียวกัน ถัดจากซิลิกอนตามที่ Dmitry I. Mendeleyev ทำนายไว้ในปี 1871
7 ก.พ. นิวตรอน
ในปี 1932 มีการตีพิมพ์บทความเพื่ออธิบายเกี่ยวกับนิวตรอนลงในวารสาร Nature จากการค้นพบของ James Chadwick ซึ่งเขาตั้งชื่อจากการที่เป็นอนุภาคที่เป็นกลาง (neutral particle) ในนิวเคลียสของอะตอม
การถ่ายภาพด้วยรังสีเอกซ์
ในปี 1896 มีการใช้รังสีเอกซ์ในการถ่ายภาพเพื่อหาตำแหน่งของลูกกระสุนปืนในศรีษะของเด็ก เป็นครั้งแรกที่เมือง Liverpool ประเทศอังกฤษ ภายหลังจากการโฆษณาคุณสมบัติของรังสีเอกซ์ครั้งแรกไม่ถึงสัปดาห์
9 ก.พ. ธาตุที่ 112
ในปี 1996 หลังจากการทำธาตุที่ 111 ปีกว่า ทีมนักวิทยาศาสตร์เยอรมัน ซึ่งนำโดย Peter Armbruster แห่งสถาบัน Gesellschaft fur schwerionenforschung (GSI) มหาวิทยาลัย Darmstadt ประเทศเยอรมันนี ได้ประกาศถึงการสร้างอะตอมของธาตุที่ 112 ขึ้นมา นิวเคลียสของธาตุนี้มี 112 โปรตอน และ 166 นิวตรอน ทำให้มีเลขมวล 277 ธาตุใหม่นี้มีชื่อว่า ununbium ใช้สัญลักษณ์ Uub ตามระบบสากลในการตั้งชื่อธาตุใหม่ อะตอมของธาตุนี้ได้จากเร่งอะตอมของสังกะสีให้มีความเร็วสูง เข้าชนอะตอมของตะกั่ว เมื่องอะตอมของทั้งสองธาตุหลอมรวมกัน จะไดนิวเคลียสของธาตุใหม่ ที่มีอายุไม่ถึง 1/1000 วินาที ก่อนจะสลายไปเป็นนิวเคลียสของธาตุที่เล็กลง
อุบัติเหตุนิวเคลียร์ที่ญี่ปุ่น
ในปี 1991 ญี่ปุ่นได้เกิดอุบัติทางนิวเคลียร์ที่ Mihama โดยเกิดการระเบิดของท่อภายในเครื่องกำเนิดไอน้ำ ทำให้สารกัมมันตรังสี ในน้ำของระบบแลกเปลี่ยนความร้อนระบบแรก จำนวน 55 ตัน ไหลเข้าสู่ระบบที่ 2 ของเครื่องกำเนิดไอน้ำ กัมมันตภาพรังสีบางส่วนได้รั่วไหลออกสู่บรรยากาศ ซึ่งไปทำให้อุปกรณ์ฉุกเฉินของระบบระบายความร้อนทำงาน กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม (MITI) ได้รายงานในภายหลังว่า เป็นอุบัติเหตุที่เกิดจากความผิดพลาดของมนุษย์ ในตอนที่คนงานได้ติดตั้งแท่งต่อต้านการแกว่ง (anti-vibration bars) และได้เลื่อยบางส่วนออกเพื่อให้ความยาวพอดี มีรังสีรั่วไหลออกสู่บรรยากาศปริมาณเล็กน้อย ไม่มีผู้เสียชีวิต มีการตรวจสอบติดตาม เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุซ้ำ รวมทั้งมีการเปลี่ยนเครื่องกำเนิดไอน้ำใหม่ด้วย
11 ก.พ. ปฏิกิริยาฟิชชันของอะตอม
ในปี 1939 วารสาร Nature ได้ตีพิมพ์ทฤษฎีของนิวเคลียร์ฟิชชัน ซึ่งเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นโดยผู้เขียน ได้แก่ Lise Meitner และหลานชาย Otto Fritsch พวกเขาทราบจากการผลทดลองว่า ถ้ายิงนิวเคลียสของยูเรเนียมด้วยนิวตรอน จะทำให้เกิดธาตุแบเรียม เพื่อหาคำอธิบาย เขาได้ใช้ทฤษฎีหยดของเหลวของบอร์ (Bohr’s “liquid drop” model) เพื่อให้เห็นภาพว่า นิวตรอนได้เหนี่ยวนำให้นิวเคลียสของยูเรเนียมเกิดการสั่น ทำให้ยืดออกเป็นรูปที่ยกน้ำหนัก (dumbbell) บางทีแรงผลักระหว่างโปรตอนของลูกตุ้มแต่ละด้าน อาจจะทำให้ส่วนคอดที่เชื่อมอยู่ขาดลง กลายเป็น 2 นิวเคลียส จากการคำนวณพบว่า มีพลังงานสูงมากถูกปลดปล่อยออกมา เรื่องนี้ได้กลายเป็นพื้นฐานของปฏิกิริยานิวเคลียร์ต่อเนื่อง (nuclear chain reaction)
12 ก.พ. สิทธิบัตรเครื่องกำเนิดศักย์ไฟฟ้าแรงสูง
ในปี 1935 Robert Jemison Van de Graaff ได้ขอจดสิทธิบัตร เครื่องกำเนิดศักย์ไฟฟ้าแรงสูง ที่เขาได้ออกแบบ ซึ่งเป็นเครื่องกำเนิดศักย์ไฟฟ้ากระแสงตรง ที่มีความต่างศักย์มากกว่า 700,000 โวลต์ ประกอบด้วยโดมของลูกทรงกลมภายในกลวง 2 ลูก ตั้งอยู่บนกระบอกฉนวน มีสายพานทำด้วยไหม วิ่งจากลูกรอกด้านล่างของกระบอก ไปยังลูกรอกด้านบนภายในโดม ประจุจากเครื่องกำเนิดขนาด 5000 โวลต์ ถูกส่งไปที่ด้านล่างของสายพาน แล้วถูกส่งขึ้นไปเก็บสะสมอยู่ที่โดม โดยปกติ ประจุไม่สามารถเก็บไว้ได้ที่ผิวด้านใน แต่จะเคลื่อนที่ออกไปสะสมอยู่ที่ผิวนอกของโดม การสะสมประจุตรงข้ามกัน สามารถทำให้เกิดความต่างศักย์ระหว่างโดมทั้งสองได้ 1,500,000 โวลต์
13 ก.พ. ระเบิดปรมาณูของฝรั่งเศส
ในปี 1960 ได้ทดลองระเบิดพลูโตเนียมลูกแรก ที่ความสูง 330 ฟุต บนหอซึ่งตั้งอยู่ที่ฐาน Reggane ในทะเลทรายซาฮารา บริเวณที่เรียกว่า French Algeria เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 1945 คณะกรรมการพลังงานปรมาณู ได้ก่อตั้งขึ้นโดยนายพลชาร์ล เดอ โกลด์ (Charles de Gaulle) โดยมีวัตถุประสงค์ในการเพิ่มศักยภาพการใช้ประโยชน์พลังงานปรมาณู ทางด้านวิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรมและการทหาร และเมื่อวันที่ 22 ก.ค. 1958 นายพลเดอโกลด์ ได้ใช้อำนาจนายกรัฐมนตรี กำหนดวันที่ทำการทดลองระเบิดปรมาณูลูกแรก ให้อยู่ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 1960 โดยมีเป้าหมายที่จะแสดงศักยภาพและบทบาทขอฝรั่งเศสในเวทีโลก เดอโกลด์ต้องการสร้างศักยภาพทางนิวเคลียร์ในกับประเทศ ทั้งทางด้านเครื่องบินรบ ขีปนาวุธ และเรือดำน้ำ
การทดลองหยดน้ำมันของมิลลิแกน
ในปี 1912 Robert Millikan ได้เริ่มรวบรวมข้อมูล จากการทดลองเรื่องหยดน้ำมัน ที่มีชื่อเสียงของเขา ในวันนี้ เขาได้รวบรวมและตีพิม์ผลการสังเกตหยดเรื่องน้ำมัน 58 หยดเป็นครั้งแรก มิลลิแกนใช้ผลการวัดการสั่นของหยดน้ำมันในสนามไฟฟ้า เพื่อหาค่าของประจุมูลฐานของอนุภาค เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ในปี 1923 จากการเป็นผู้บุกเบิก ในการวัดประจุของอิเล็กตรอน
18 ก.พ. ไอโซโทป
ในปี 1913 Frederick Soddy ซึ่งเป็นทั้งนักเคมี และนักฟิสิกส์ ชาวอังกฤษ ได้เริ่มนำคำว่า ไอโซโทป (isotope) มาใช้ Soddy ได้รับรางวัลโนเบลในปี 1921 จากผลงานการวิจัยในการหาสารกัมมันตรังสี เขาได้รายงานว่ามีบางธาตุที่อยู่ในตำแหน่งบนตารางธาตุที่เดียวกัน มีการเปลี่ยนแปลงของกัมมันตภาพรังสี ที่แตกต่างกัน เมื่อวันที่ 18 ก.พ. 1913 เขาได้ใช้ชื่อหน่วยของธาตุ ที่มีคุณสมบัติต่างกันนี้ว่า ไอโซโทป ซึ่งมาจากภาษากรีก ที่แปลว่า ที่เดียวกัน (same place) เขาได้รับยกย่องจากการค้นพบธาตุ โปรแทกทีเนียม (protactinium) ในปี 1917
ธาตุ ลอเรนเซียม (Lawrencium)
ในปี 1961 ธาตุที่ 103 ได้รับการค้นพบ ที่ Berkeley California
17 ก.พ. ระเบิดปรมาณูของอังกฤษได้รับการเปิดเผย
ในปี 1952 นายกรัฐมนตรีอังกฤษ วินสตัน เชอร์ชิล (Winston Churchill) ได้แถลงว่า อังกฤษได้พัฒนา ระเบิดปรมาณูของตนเอง และมีแผนที่จะทำการทดลองครั้งแรกที่เกาะ Monte Bello ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย อังกฤษได้ตัดสินใจ ที่จะทำระเบิดปรมาณูตั้งแต่ปี 1947 สมัยนายกรัฐมนตรี Clement Attlee’s ในระหว่างที่มีการประชุมคณะอนุกรรมการทหาร ของคณะรัฐมนตรี ซึ่งเป็นรัฐบาลก่อนหน้านั้น เมื่อวันที่ 25 ก.พ. 1952 ที่ Sellafield บนอ่าวทะเลไอริช ในเขต Cumberland ได้เริ่มเดินเครื่องโรงงาน Windscale เพื่อผลิตพลูโตเนียม วันที่ 3 ต.ค. 1952 อังกฤษ ได้ประสบผลสำเร็จ ในการทดลองระเบิดปรมาณูลูกแรก ชื่อว่า Hurricane อังกฤษเป็นประเทศที่สาม ที่มีการใช้พลังงานนิวเคลียร์ทางการทหาร ถัดจากสหรัฐอเมริกาและรัสเซีย
ตารางธาตุของ Mendeleev
ในปี 1869 Dmitri Mendeleev นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซีย ได้ยกเลิกแผการไปหยุดพักผ่อน และทำงานอยู่ที่บ้าน เพื่อแก้ปัญหาในการจัดเรียงธาตุทางเคมีให้เป็นระบบ เขาเริ่มต้นโดยการเขียนชื่อและคุณสมบัติของแต่ละธาตุ ลงในบัตรแต่ละใบ แล้วนำมาวางเรียงกันให้หลายๆ รูปแบบ ในที่สุด เมื่อได้รูปแบบที่เหมาะสม จึงคัดลอกลงบนกระดาษ จากนั้น ได้จัดกลุ่มธาตุตามคุณสมบัติใหม่ ให้ธาตุที่มีสมบัติทางเคมีคล้ายกัน เป็นตารางในแนวตั้งเป็นหมู่เดียวกัน แบบเดียวกับที่ใช้กันอยู่ในทุกวันนี้
15 ก.พ. เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูทางการแพทย์
ในปี 1951 เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูเครื่องแรก ที่ใช้สำหรับการรักษาทางารแพทย์ ได้เริ่มเดินเครื่อง โดยอยู่ภายใต้ คณะกรรมการพลังงานปรมาณูแห่งสหรัฐอเมริกา (U.S. Atomic Energy Commission) ที่ห้องปฏิบัติการ Brookhaven National Laboratory เมือง Upton รัฐนิวยอร์ก
20 ก.พ. การผลิตสารกัมมันตรังสี
ในปี 1934 มีรายงานของ Frederic Joliot ถึงความเป็นไปได้ ที่จะทำให้ธาตุหลายชนิด มีกัมมันตภาพรังสี โดยการยิงด้วยไอออนของไฮโดรเจน Ernest O. Lawrence กับเพื่อนร่วมทีม จึงได้เริ่มทดลองยิงธาตุไนโตรเจน โดยใช้ไซโคลตรอน ทำให้พวกเขาสามารถผลิตสารกัมมันตรังสีชนิดใหม่ และในระหว่างหลายปี ที่ Lawrence ได้ทำงานวิจัย ในการประดิษฐ์ไซโคลตรอนนั้น เขาไม่เคยตรวจสอบเลยว่า มีกัมมันตภาพรังสีเกิดขึ้นหรือไม่ จากการยิงด้วยไฮโดรเจน ดังนั้นจึงถือได้ว่า Joliot เป็นผู้ค้นพบวิธีการผลิตสารกัมมันตรังสี ส่วนกลุ่มของ Lawrence เป็นผู้ที่ยืนยันถึงวิธีการ
24 ก.พ. ยูเรเนียม
ในปี 1936 Henri Bequerel ได้แจ้งแก่ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์ฝรั่งเศส (French Academy of Sciences) ว่าได้ตรวจพบรังสีที่เรืองแสงมาจาก ผลึกเกลือซัลเฟตของยูเรเนียมและโปแตสเซียม (double sulfate of uranium and potassium crystals) เขารายงานว่า ได้วางผลึกไว้ด้านนอกของแผ่นบันทึกภาพที่หุ้มด้วยกระดาษสดำหนามาก แล้วนำทั้งหมดไปรับแสงแดดหลายชั่วโมง เมื่อเขาล้างแผ่นบันทึกภาพ พบว่ามีเงาดำบางอย่างปรากฏขึ้น ถ้าวางเหรียญหรือโลหะไว้ระหว่างผลึกยูเรเนียมกับแผ่นบันทึกภาพที่ถูกหุ้ม เขาสังเกตเห็นว่ามีภาพของวัตถุนั้น บนแผ่นบันทึกภาพที่ล้างแล้ว เขาไม่ทราบว่า ได้ค้นพบกัมมันตภาพรังสี เข้าโดยบังเอิญ และแสงแดดไม่มีส่วนในการทำให้เกิดภาพ
25 ก.พ. ระเบิดปรมาณูของอังกฤษ
ในปี 1952 โรงงานผลิตพลูโตเนียม Windscale ที่ Sellafield ซึ่งตั้งอยู่ที่อ่าวไอริช ของเขต Cumberland เริ่มเดินเครื่อง อังกฤษได้พัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ แต่ไม่ได้เปิดเผย จนก่อนการเดินเครื่องไม่กี่วัน นายกรัฐมนตรี Winston Churchill จึงได้แถลง เมื่อวันที่ 17 ก.พ. 1952 ว่า อังกฤษมีแผนในการทดลองระเบิดปรมาณูลูกแรกที่ เกาะ Monte Bello ทางตะวันตกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย และในวันที่ 3 ต.ค. 1952 อังกฤษได้ประสบผลสำเร็จ ในการทดลองระเบิดปรมาณูลูกแรกที่ชื่อว่า Hurricane
26 ก.พ. เรดาร์
ในปี 1935 ได้มีการสาธิตเรดาร์ (radar :RAdio Detection And Ranging) เป็นครั้งแรกที่ Daventry ประเทศอังกฤษ โดย Robert Watson-Watt นักฟิสิกส์ชาวสกอตต์ ซึ่งทำงานด้านการใช้คลื่นวิทยุ ในการตรวจหาพายุ เพื่อเตือนภัยให้แก่นักบิน ในกลางทศวรรษ 1930 ทางกองทัพอากาศ มีการพัฒนา เพื่อตรวจหาเครื่องบินข้าศึก ซึ่งเขาได้เสนอกระทรวงการบิน ที่จะสาธิตการทดลอง ในวันที่ 26 ก.พ. 1935 และประสบผลสำเร็จจากการใช้ เครื่องส่งวิทยุคลื่นสั้นของ สถานีวิทยุของอังกฤษ (British Broadcasting Service) ในการตรวจจับเครื่องบินทิ้งระเบิด ในปี 1939 กองทัพได้ติดตั้งสถานีเรดาร์ ตลอดแนวชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก และด้านใต้ของอังกฤษ เพื่อป้องกันการโจมตีจากเยอรมัน
กัมมันตภาพรังสี
ในปี 1896 Henri Becquerel ได้เก็บสารประกอบยูเรเนียมไว้ในลิ้นชักโต๊ะ โดยวางอยู่บนแผ่นบันทึกภาพ เพื่อรอวันที่มีแสงแดดมากขึ้น จะได้ทำการทดลองตามที่เขาคิดว่าแสงแดด ทำให้ยูเรเนียมปล่อยรังสีออกมา หลังจากที่รออยู่หลายวัน เขาได้คิดการทดลองใหม่ขึ้น และได้นำแผ่นบันทึกไปล้างโดยไม่ได้ตั้งใจ เขาพบว่ามีรูปของเงามัวตามรูปร่างก้อนยูเรเนียมปรากฏบนแผ่นบันทึกภาพ แสดงว่าก้อนแร่นั้น ให้รังสีออกมาได้เอง โดยไม่ต้องใช้แสงแดดช่วย เหตุการณ์นี้ ถือเป็นประวัติศาสตร์หนึ่งในการค้นพบรังสีแบบใหม่ และกัมมันตภาพรังสี
27 ก.พ. นิวตรอน
ในปี 1932 Dr. James Chadwick ได้ค้นพบอนุภาคนิวตรอน
28 ก.พ. พลังงานปรมาณู
ในปี 1958 ได้เริ่มมีการก่อสร้าง โรงไฟฟ้าพลังงานปรมาณู แบบ thorium-uranium ของเอกชนเครื่องแรก เป็นเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูเครื่องแรกที่ออกแบบให้ใช้ fertile thorium-232 แทน fissionable uranium-235 โรงไฟฟ้าตั้งอยู่ที่ Indian Point nuclear generating station ตั้งอยู่ที่ Buchanan รัฐ New York ใช้งบประมาณ 100 ล้านเหรียญ เป็นเครื่องปฏิกรณ์ฯ แบบใช้น้ำความดันสูง pressurized water reactor ผลิตกระแสไฟฟ้า 275,000 กิโลวัตต์ การออกแบบและก่อสร้าง ดำนินการโดยบริษัท Babcock and Wilcox Co. ให้แก่บริษัท Consolidated Edison Co โรงไฟฟ้า The Indian Point 1 ได้รับอนุญาตให้เดินเครื่อง เมื่อวันที่ 26 มี.ค. 1962 และปิดตัวลงเมื่อวันที่ 31 ต.ค. 1974
ไอน์สไตน์
ในปี 1921 ได้สร้างความตะลึงให้กับผู้คนในเบอร์ลิน เมื่อประกาศว่าสามารถวัดขนาดของจักรวาลได้
29 ก.พ. ฮีเลียมแข็ง
ในปี 1908 นักวิทยาศาสตร์ชาวดัทช์ได้ผลิตฮีเลียมแข็ง (Solid helium)
นิวเคลียสของบอร์
ในปี 1936 วารสาร Nature ได้ตีพิมพ์ผลงานของ Niels Bohr’s เรื่อง “bowl of balls” ที่อธิบายผลของารยิงอนุภาคเข้าไปที่นิวเคลียส
คำกล่าวของ Lawrence ในการเข้ารับรางวัลโนเบล
ในปี 1940 Ernest O. Lawrence ได้ขอให้เสนอคำกล่าวในการรับรางวัลโนเบลที่ Berkeley แคลิฟอร์เนีย แทนที่จะเป็นประเทศสวีเดน ทำให้เขาไม่ต้องเสียเวลาในการทำวิจัยเรื่องไซโคลตรอน
ข่าวสารเพิ่มเติม