วันสำคัญในเดือนกรกฎาคม

วันสำคัญในเดือนกรกฎาคม
1 ก.ค. วันคล้ายวันสถาปนาคณะลูกเสือป่า
4 ก.ค. วันคล้ายวันประสูติ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ฯ
11 ก.ค. วันประชากรโลก
21 ก.ค. วันอาสาฬหบูชา (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8)
22 ก.ค. วันเข้าพรรษา (แรม 1 ค่ำ เดือน 8)
28 ก.ค. วันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมภุฏราชกุมาร
29 ก.ค. วันภาษาไทยแห่งชาติ

วันนี้ในอดีต

1 ก.ค. รังสีเอ๊กซ์
ในปี 1934 มีการถ่ายภาพด้วยรังสีเอ๊กซ์แบบเต็มตัวเป็นครั้งแรก โดยใช้เวลาฉายรังสี 1 วินาที ที่ Rochester กรุงนิวยอร์ก โดยใช้วิธีการและเครื่องมือในโรงพยาบาลตามปกติ ภาพชิ้นหนึ่งที่ถ่ายโดย Arthur W. Fuchs จากบริษัท Eastman Kodak มีการใช้ฟิลเตอร์ในการถ่ายเป็นครั้งแรก โดยใช้ฟิล์มขนาด 32″x72″ ต่อมาได้จัดแสดงที่สมาคม Chicago Roentgen Society ในงาน Century of Progress Exhibition ที่เมืองชิคาโก รัฐอิลลินอยส์
2 ก.ค. สิทธิบัตรการทำให้เกิดกัมมันตภาพรังสี
ในปี 1940 Enrico Fermi และคณะได้รับสิทธิบัตร หมายเลข 2,206,634 สำหรับกระบวนการผลิตสารกัมมันตรังสี
7 ก.ค. ไอแซค นิวตัน ได้รับวุฒิบัตร
ในปี 1668 เซอร์ ไอแซค นิวตัน ได้รับวุฒิบัตร M.A. จาก Trinity College ใน Cambridge
9 ก.ค. ธาตุโนเบลเลียม (nobelium)
ในปี 1957 มีการประกาศการค้นพบธาตุที่ 102 และตั้งชื่อว่าโนเบลเลียม สำหรับไอโซโทปที่เชื่อว่าได้พบ ซึ่งมีพลังงาน 8.5 MeV และมีครึ่งชีวิต 10 นาที ต่อมาภายหลังได้มีการทดสอบที่แสดงให้เห็นว่า ไม่มีไอโซโทปของโนเบลเลียมที่มีครึ่งชีวิตค่านี้ ธาตุโนเบลเลียมที่แท้จริง ค้นพบโดย A. Ghiorso, T. Sikkeland, J.R. Walton, และ G.T. Seaborg ในเดือนเมษายน ปี 1958 ซึ่ง IUPAC ก็ได้ยอมรับชื่อโนเบลเลียมสำหรับธาตุที่ได้รับค้นพบนี้ โนเบลเลียมมีไอโซโทปเท่าที่พบแล้ว 10 ไอโซโทป โดย No-255 มีครึ่งชีวิตยาวที่สุด ด้วยเวลา 3 นาที โนเบลเลียมเป็นธาตุที่มนุษย์ผลิตขึ้น มีกัมมันตภาพรังสี และเป็นโลหะ “rare earth metal” ซึ่งได้รับการตั้งชื่อตาม Alfred Nobel ผู้ประดิษฐ์ระเบิดไดนาไมต์
13 ก.ค. ระเบิดปรมาณูลูกแรก
ในปี 1945 ชิ้นส่วนของระเบิดปรมาณูลูกแรกถูกประกอบขึ้นที่ฐานทดสอบ ในทะเลทรายเม็กซิโก เมื่อวันศุกร์ที่ 13 และประกอบเสร็จสมบูรณ์ในวันอาทิตย์ ติดตั้งอยู่ที่ยอดหอคอย เพื่อรอการทดสอบระเบิดปรมาณูเป็นครั้งแรก
16 ก.ค. ระเบิดปรมาณู
ในปี 1945 ระเบิดปรมาณูลูกแรกระเบิดขึ้นที่ Los Alamos รัฐนิวเม็กซิโก ระเบิดปรมาณูประดิษฐ์ขึ้นโดยนักวิทยาศาสตร์เยอรมันที่ลี้ภัยอยู่ในอังกฤษ 2 คน คือ Professor Rudolph Peierls และ Otto Frisch แห่งมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม ทั้งสองได้ออกแบบพิมพ์เขียวสำหรับการสร้างระเบิดปรมาณูในปี 1940 และถูกสร้างขึ้นจริงโดยนักวิทยาศาสตร์อเมริกัน สัญชาติอิตาเลียน Enrico Fermi ซึ่งได้ประดิษฐ์อุปกรณ์ที่ทำให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ลูกโซ่ขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี 1940 ทั้งในอเมริกาและอังกฤษ ต่างก็ทำการวิจัยเพื่อสร้างระเบิดปรมาณู เมื่ออเมริกาเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 อังกฤษได้ร่วมกับอเมริกาในโครงการแมนฮัตตัน และมีความก้าวหน้าจนสามารถผลิตระเบิดปรมาณูขึ้นในสหรัฐอเมริกา
21 ก.ค. นิวตริโน Tau
ในปี 2000 โครงการความร่วมมือของนักวิทยาศาสตร์ ที่ห้องปฏิบัติการเครื่องเร่งอนุภาคแห่งชาติเฟอร์มิ (Fermi National Accelerator Laboratory) กระทรวงพลังงานสหรัฐ (Department of Energy) ได้ประกาศถึงการมีอยู่ของอนุภาคย่อยในอะตอม (subatomic particle) เรียกว่า tau neutrino ซึ่งเป็นนิวตริโนชนิดที่ 3 ที่นักฟิสิกส์อนุภาครู้จัก ทีมที่ค้นพบรายงานว่า มีปฏิกิริยาระหว่างนิวตริโนกับนิวเคลียสเกิดขึ้น 4 ครั้ง ทำให้เกิดอนุภาคที่เรียกว่า tau lepton อันเป็นสัญญาณที่เกิดจาก tau neutrino ซึ่งเป็นนิวตริโนชนิดที่ 3 ใน Standard Model ของอนุภาคมูลฐาน ซึ่งตามทฤษฎีแบ่งอนุภาคออกเป็น 3 กลุ่ม ในการทดลองจะใช้วิธีตรวจสอบจากการเกิดปฏิกิริยา โดย electron neutrinos ถูกค้นพบเป็นรุ่นแรก ในปี 1956 และ muon neutrinos ถูกค้นพบเป็นรุ่นที่ 2 ในปี 1962
อุบัติเหตุที่เกาะทรีไมล์
ในปี 1982 มีการตรวจสอบภาพบันทึกการละลายของแกนเครื่องปฏิกรณ์ฯ หน่วยที่ 2 ของเกาะทรีไมล์ เป็นครั้งแรก โดยกล้องโทรทัศน์ขนาดเล็ก ซึ่งเป็นการตรวจพบครั้งแรก เมื่อแกนเครื่องปฏิกรณ์ฯ ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ Harrisburg รัฐเพนซิลวาเนีย ได้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 1979 เนื่องจากการสูญเสียน้ำระบายความร้อน เมื่อกล้องจับภาพต่ำลง ไม่พบสิ่งใดที่ระดับ 1 ฟุต 2 ฟุต 3 ฟุต จนเมื่อถึงระดับ 5 ฟุต จึงพบบางอย่าง โดยพบเป็นครั้งแรกว่าแกนเครื่องปฏิกรณ์หายไป 5 ฟุต เมื่อมีการตรวจพบนั้น แกนเครื่องปฏิกรณ์ฯ เสียหายมากแล้ว ร้อยละ 50 ของแกนเครื่องปฏิกรณ์ฯ ถูกทำลาย หรือละลาย และพบว่ายูเรเนียม 20 ตัน ลงมาอยู่ที่พื้น ตรงส่วนบนของ pressure vessel
23 ก.ค. การกลับเข้าไปเกาะทรีไมล์หน่วยที่ 2
ในปี 1980 มีคนกลับเข้าไปที่อาคารของ หน่วยที่ 2 ของเกาะทรีไมล์ เป็นคนแรก หลังจากที่ปิดตัวลงจากอุบัติเหตุ เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 1979 จากการที่แกนเครื่องปฏิกรณ์ฯ ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ สูญเสียน้ำระบายความร้อน ทำให้แกนเครื่องปฏิกรณ์ฯ ละลาย
25 ก.ค. สนธิสัญญานิวเคลียร์
ในปี 1963 สหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต และอังกฤษ ได้ลงนามในสนธิสัญญาที่มอสโคว์ ซึ่งห้ามการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ในบรรยากาศ ในอวกาศ และใต้ทะเล
การทดลองนิวเคลียร์ใต้ทะเล
ในปี 1946 สหรัฐอเมริกาได้ทดลองระเบิดปรมาณู ชื่อ “Baker” ที่หมู่เกาะ Bikini Atoll ในมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งเป็นการทดลองใต้ทะเลครั้งแรก ในปฏิบัติการ”Operation Crossroads” การทดลองนี้ทำขึ้นเพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลของระเบิดนิวเคลียร์ต่อเรือรบ โดยเป้าหมายซึ่งเป็นเรือที่ปลดระวางแล้ว ของ กองทัพเรือสหรัฐ และเรือของเยอรมันกับญี่ปุ่นที่ถูกยึดมาระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ถูกนำไปจอดอยู่ใน Bikini Lagoon ระเบิดบรรจุอยู่ถังเหล็กกันน้ำ ใต้เรือ landing ship LSM-60 ที่ความลึก 90 ฟุต สัญญาณวิทยุจากเรือบัญชาการ สั่งการให้ระเบิดเมื่อเวลา 8:45 นาฬิกา ลำของน้ำและไอน้ำขนาดใหญ่พุ่งขึ้นจากผิวน้ำ แรงระเบิดทำให้เกิดคลื่นต่อเนื่องขนาดใหญ่ เรือขนส่ง Carrier Saratoga ซึ่งเป็นเป้าหมายถูกทำลายจากคลื่นชุดแรก ในเวลาไม่ถึงวินาที โดยถูกพัดไปไกล 800 หลา และจมลงหลังการระเบิด 8 ชั่วโมง คลื่นที่มีความสูง 90 ฟุต โถมเข้าใส่เรือรบ Battleship Arkansas ทำให้จมลงเกือบจะทันที เช่นเดียวกับเรือดำน้ำ Pilotfish, Apogon, Shipjack และเรือบรรทุกน้ำมัน YO-160
26 ก.ค. คูรีแต่งงาน
ในปี 1895 Pierre Curie แต่งงานกับ Marie Sklodowska (Curie) ที่ Sceaux ประเทศฝรั่งเศส ในปี 1896 Marie Curie ตกลงที่จะทดสอบการค้นพบกัมมันตภาพรังสีของยูเรเนียมของ Becquerel ซึ่งเป็นหัวข้อวิจัย ในการทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก และในปี 1897 ได้ให้กำเนิดบุตรสาว Irene และต่อมา Pierre ก็ได้เข้าร่วมการทำวิจัยเรื่องกัมมันตภาพรังสี ในปี 1898
ข่าวสารเพิ่มเติม