วัฒนธรรมด้านความปลอดภัย

วัฒนธรรมด้านความปลอดภัย (Safety Culture)

ตวงพร เอ็งวงษ์ตระกูล
วัฒนธรรมด้านความปลอดภัย (Safety Culture) หมายถึง พฤติกรรมของคนในสังคม ที่แสดงถึงลักษณะและทัศนคติ ที่เกี่ยวกับความปลอดภัย โดยลักษณะของวัฒนธรรมด้านความปลอดภัย (Characteristic of Safety Culture) แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังรูป
1. ระดับรูปธรรม (Artifact level) หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นจากการกระทำของคน สามารถมองเห็นได้จากการสังเกต เช่น สถาปัตยกรรม การแต่งตัว ฯลฯ ซึ่งประกอบด้วย Characteristic of Safety Culture ดังนี้
  • ผู้บริหารสูงสุดมีส่วนร่วมในเรื่องความปลอดภัย (Top management commitment to safety)
  • มีผู้นำอย่างชัดเจน (Visible leadership)
  • ใช้ระบบ 5 ส (Good housekeeping)
  • มีกลยุทธ์ทางธุรกิจที่ให้ความสำคัญด้านความปลอดภัย (Strategic business importance of safety)
  • มีกระบวนการผลิตที่ไม่ขัดแย้งกับความปลอดภัย (Absence of safety versus production conflict)
  • มีความสัมพันธ์ที่ดี ระหว่างหน่วยงานควบคุมกับหน่วยงานอื่นจากภายนอก (Relationship to regulator and other external groups)
  • มีวิสัยทัศน์ยาวไกลและมีแผนระยะยาว (Proactive and long-term perspective)
  • มีการบริหารการเปลี่ยนแปลง (Management of change)
  • มีระบบเอกสารและคู่มือการปฏิบัติงานที่มีคุณภาพ(Quality of documentation and procedures)
  • มีความสอดคล้องกันระหว่างกฎระเบียบกับวิธีการปฏิบัติงาน (Compliance with regulations and procedures)
  • ผู้ปฏิบัติงานมีความสามารถและมีจำนวนที่เพียงพอ (Sufficient and competent staff)
  • มีการจัดการความรู้ของบุคลากร เทคโนโลยี และองค์กร (Man, technology and organization knowledge)
  • มีการกำหนดบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบที่ชัดเจน (Clear roles and responsibilities)
  • มีการจูงใจและสร้างความพึงพอใจในงาน (Motivation and job satisfaction)
  • พนักงานทุกคนมีส่วนร่วม (Involvement of all employee)
  • มีบรรยากาศในการทำงานที่ดี ทั้งด้านเวลา ความกดดัน ปริมาณงาน และความเครียด(Good working conditions with regard to time pressure workload and stress)
  • มีการวัดระดับความสามารถด้านความปลอดภัย (Measurement of safety performance)
  • มีการจัดสรรทรัพยากรอย่างเหมาะสม (Proper resource allocation)
  • มีความร่วมมือกันและมีการทำงานเป็นทีม (Collaboration and teamwork)
  • มีมุมมองในการตัดสินใจที่เปิดกว้าง (Decision – making breadth of perspective)
  • สามารถรับมือกับความขัดแย้ง (Handing of conflict)
  • มีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้บริหารกับพนักงาน (Relationship between managers and employees)
  • ให้ความสำคัญกับกระบวนการทำงาน (Awareness of work process)
  • มีการพิจารณาค่าตอบแทนและหน้าที่ความรับผิดชอบตามความสามารถ (Performance accountability and reward)
2. ระดับหลักการสนับสนุน (Espoused value level) หรือค่านิยมของสังคม หรือองค์กร เช่น ยุทธวิธี , กำหนดจุดมุ่งหมาย ฯลฯ ซึ่งประกอบด้วย Characteristic of Safety Culture ดังนี้
  • ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยเป็นอันดับต้น (High priority to safety)
  • มีการสื่อสารที่ดีและรับฟังความคิดเห็น (Openness and communications)
  • เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Organizational learning)
3. ระดับสามัญสำนึก (Basic assumption level) หรือความคิดพื้นฐาน ประกอบด้วย Characteristic of Safety Culture ดังนี้
  • ให้ความสำคัญกับเวลา (Time focus)
  • มุมมองในเรื่องความผิดพลาด (View of mistakes)
  • บทบาทของผู้บริหาร (Role of managers)
  • ทัศนคติของบุคลากร (View of People)
การประเมินระดับวัฒนธรรมความปลอดภัย (Safety Culture) ควรทำการประเมินตามมิติของวัฒนธรรมความปลอดภัย ที่ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ ได้กำหนดให้เป็นองค์ประกอบของ วัฒนธรรมความปลอดภัยขององค์กร (Safety Culture) ซึ่งประกอบด้วยมิติต่างๆ 5 มิติ (5 IAEA Safety Culture Dimensions) ดังนี้
  1. Accountability for safety is clear หมายถึง ความชัดเจนในหน้าที่รับผิดชอบด้านความปลอดภัยของบุคลากร
  2. Safety is a clearly recognized value หมายถึง มีการตระหนักถึงคุณประโยชน์ของความปลอดภัยอย่างแท้จริง
  3. Safety is integrated into all activities หมายถึง การบูรณาการความปลอดภัยเข้ากับทุกกิจกรรมการทำงาน
  4. Safety leadership is clear หมายถึง การมีผู้นำในเรื่องของความปลอดภัยที่ชัดเจน
  5. Safety is learning driven หมายถึง การจัดให้ความปลอดภัยเป็นตัวขับเคลื่อนกระบวนการเรียนรู้ขององค์กร
วิธีการประเมินระดับวัฒนธรรมความปลอดภัย
ความยากในการวัดระดับ Safety Culture คือ ไม่มีตัวชี้วัดแบบง่ายๆ ที่ใช้ในการวัด , หลายๆ ส่วนไม่ได้มาจากการสังเกตโดยตรง , หลายๆ ส่วนได้เพียงแค่อธิบายแต่ไม่สามารถวัดได้ ( เช่น ความคิด ความรู้สึก ), และความมีอคติของผู้ที่ให้ความเห็น ดังนั้นจึงควรใช้การ ผสมผสานหลายๆ วิธีร่วมกัน ดังนี้
  1. การสัมภาษณ์ / การพูดคุย (Interviews)
  2. การทำแบบสอบถาม (Questionnaires)
  3. การเฝ้าสังเกต (Observations)
  4. ประเมินจากเอกสาร (Review of documentation)
การพัฒนาวัฒนธรรม ความปลอดภัย (Safety Culture Develop ment ) ขององค์กรใดๆ มีลำดับขั้น ตามที่ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) กำหนดแบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ
ระดับที่ 1 ความปลอดภัย ต้องอยู่บนพื้นฐานของกฎระเบียบและการควบคุม (Safety is based on rules and regulations)
ระดับที่ 2 ความปลอดภัย ถูกกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายองค์กร (Safety is considered an organizational goal)
ระดับที่ 3 ความปลอดภัยขององค์กร มีการพัฒนาปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา (Safety can always be improved)
ข่าวสารเพิ่มเติม