พลังงานนิวเคลียร์: แหล่งพลังงานของอนาคต

พลังงานนิวเคลียร์: แหล่งพลังงานของอนาคต
ในประเทศฝรั่งเศส 76% ของไฟฟ้าทั้งหมด ผลิตขึ้นโดยใช้พลังงานนิวเคลียร์ ทำให้ระดับราคาของไฟฟ้าอยู่เหนือประเทศคู่แข่งในยุโรป เรื่องนี้ต้องขอบคุณ เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 58 แห่ง ของฝรั่งเศส ที่ยินดีร่วมมือกันในการทำให้พื้นที่กว่า 50% ของประเทศ มีแหล่งพลังงานที่มีเสถียรภาพสูง เนื่องจากเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าที่ไม่ทำให้เกิดกาซเรือนกระจก (greenhouse gases) ภาคนิวเคลียร์จึงสามารถอ้างได้อย่างชอบธรรมว่า เป็นภาคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเพื่อรับมือกับการเพิ่มขึ้นของความต้องการในการใช้ไฟฟ้า และการคาดการณ์ว่าเชื้อเพลิงฟอสซิล หรือน้ำมันกำลังจะหมดลง การใช้วิธีการผลิตไฟฟ้าที่สามารถรับมือกับปัญหานี้ได้ จึงมีความสำคัญ ซึ่งเรื่องนี้ไม่เป็นปัญหาถ้าจะทำให้พลังงานนิวเคลียร์ มีบทบาทสำคัญร่วมไปกับการใช้พลังงานชนิดอื่น
พลังงานนิวเคลียร์วันนี้: กุญแจ 3 ดอก สู่ความก้าวหน้า
ในเทอมของความปลอดภัยในการให้บริการ
ต้องขอบคุณระบบการผลิตไฟฟ้า 63,200 เมกกะวัตต์ ซึ่งผลิตให้กับการใช้ไฟฟ้าของฝรั่งเศส 76% ในพื้นที่ 50% ของประเทศ ทำให้ลดการพึ่งพาประเทศอื่นในเรื่องความต้องการใช้ไฟฟ้า และถ้าพูดถึงการใช้กาซธรรมชาติ ซึ่งเป็นพลังงานทางเลือก เช่นเดียวกับพลังงานนิวเคลียร์ แล้วจะแตกต่างกัน ฝรั่งเศสใช้กาซธรรมชาติจากประเทศนอก EU ประมาณหนึ่งในสาม ทำให้มีความเสี่ยงในการจัดซื้อและบริการ เนื่องจากมักจะมีปัญหาทางการเมืองของประเทศผู้ส่งออกเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย การพึ่งพาพลังงานเหล่านี้น้อย ประเทศฝรั่งเศสจึงไม่ได้รับผลกระทบจากความผันผวนของระดับราคาในตลาดโลก
จากมุมมองทางเศรษฐศาสตร์
ไฟฟ้าที่ผลิตในฝรั่งเศสมีราคาที่สามารถแข่งขันได้กับประเทศอื่นในยุโรป ปัจจุบันต้นทุนการผลิตไฟฟ้าโดยใช้นิวเคลียร์ ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง (kWh) ต่อเวลา ต่ำกว่า 20 เซนต์ เมื่อเทียบราคา 22 เซนต์ สำหรับการผลิตไฟฟ้าโดยใช้กาซธรรมชาติ ซึ่งใช้วิธีที่ก้าวหน้าที่สุดในปัจจุบัน คือวิธี gas combined cycle นอกจากนั้น สิ่งที่แตกต่างจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล คือการที่มีระดับราคาที่เสถียรมาก ซึ่งในความเป็นจริง ปัจจัยด้านราคาของพลังงานนิวเคลียร์ ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต มีผลมาจากราคาของยูเรเนียม หรือค่าของเงินเหรียญสหรัฐน้อยมาก ในขณะที่กาซธรรมชาติ มีแนวโน้มที่ราคาจะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต เนื่องจากปัจจัยความต้องการของผู้ซื้อ
ในเทอมของผลกระทบสิ่งแวดล้อม
พลังงานนิวเคลียร์ไม่ทำให้เกิดกาซเรือนกระจก จึงไม่มีผลต่อภาวะโลกร้อน ซึ่งในฝรั่งเศส 50% ของการปล่อยกาซคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ลดลงตั้งแต่ปี 1970 เรื่องนี้ต้องขอบคุณพลังงานนิวเคลียร์ ที่สามารถทำให้ลดการปล่อยกาซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 700 ล้านตันต่อปี ในยุโรปตะวันตก (เทียบเท่ากับที่รถยนต์ 200 ล้านคันปล่อยออกมา) หรือคิดเฉพาะประเทศฝรั่งเศสเท่ากับ 360 ล้านตันต่อปี คิดโดยเฉลี่ย คนฝรั่งเศสปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาน้อยกว่า คนเยอรมัน 1.8 เท่า และน้อยกว่าคนอเมริกัน 2.9 เท่า ในประเทศฝรั่งเศส ใช้นิวเคลียร์ผลิตไฟฟ้า 76% ใช้พลังงานหมุนเวียน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพลังงานน้ำ 14% ทำให้มีเพียง 10% เท่านั้น ที่มีการปล่อยกาซเรือนกระจากออกมา ซึ่งน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของทุกประเทศทั่วโลก ที่มีการปล่อยกาซเรือนกระจกออกมา 40% ของการผลิตไฟฟ้า และถ้าไม่มีการใช้พลังงานนิวเคลียร์เลย ปริมาณกาซคาร์บอนไดออกไซด์จะเพิ่มขึ้นอีก 12%
ถ้าพิจารณาเรื่องกากนิวเคลียร์ กว่า 90% ที่ผลิตขึ้นในฝรั่งเศสมีการจัดเก็บแล้วอย่างปลอดภัย ส่วนอีก 10% CEA กำลังทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่น และสถาบันที่มีโครงการวิจัยในการศึกษาและพัฒนา เทคนิคที่มีประสิทธิภาพในเรื่องที่เกี่ยวกับ : การจัดการกาก การลดปริมาณและลดอันตราย สภาวะในการเก็บ ลักษณะการเก็บและความลึกในการฝังเก็บ
อนาคตของพลังงานนิวเคลียร์
ภาวะโลกร้อนและความเชื่อมั่นในการมีแหล่งพลังงาน เป็นประเด็นสำคัญที่ต้องนำมาพิจารณา ซึ่งความก้าวหน้าทางด้านพลังงานนิวเคลียร์สามารถแก้ปัญหาในเรื่องเหล่านี้ได้ทันที จากการลงนามในข้อตกลงเกียวโต (Kyoto protocol) ในปี 1997 ที่มีเป้าหมายหมายที่จะลดกาซเรือนกระจก ทำให้แต่ละประเทศที่ลงนาม ต้องลดการปล่อยกาซโดยเฉลี่ย 5.2% ในระหว่างปี 2008-2012 เมื่อเทียบกับระดับของปี 1990 สิ่งที่สำคัญของจุดนี้ ข้อตกลงฉบับนี้จะบังคับใช้ได้กับประเทศที่ลงนามให้สัตยาบันก่อนปี 2002 ซึ่งในที่ประชุมที่กรุงบอนน์ ประเทศเยอรมัน ในเดือนกรกฎาคม 2001 มีความเห็นร่วมกันว่า การจะทำให้ได้ตามข้อตกลงเกียวโต จะต้องยอมรับถึงผลดีของการใช้พลังงานนิวเคลียร์ ในการต่อสู้กับภาวะโลกร้อน
ในเรื่องนี้ ทุกประเทศต้องมีความเห็นในการใช้พลังงานนิวเคลียร์ ในการสนับสนุนยุทธศาสตร์พลังงาน หลังจากการวิเคราะห์รายงาน the European Commission’s Green Paper ในเรื่องความปลอดภัยของการจ่ายพลังงาน ซึ่งเคยก่อให้เกิดการอภิปรายอย่างกว้างขวางทั่วยุโรปแล้ว สหรัฐอเมริกาก็ได้ส่งสัญญาณที่ชัดเจน โดยประกาศว่า จะมีการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งใหม่ โดยจะไม่นำเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่

หลายประเทศในเอเชีย โดยเฉพาะ ญี่ปุ่น จีน และเกาหลี มีการจัดทำโครงการใหญ่ทางนิวเคลียร์ ขณะเดียวกัน บางประเทศทางยุโรป เช่น ฟินแลนด์ มีการเร่งผลักดันโครงการนิวเคลียร์ ขณะที่บางประเทศกำลังพิจารณาอย่างระมัดระวัง เช่น อังกฤษ เบลเยียม และสวีเดน

พลังงานนิวเคลียร์ในอนาคต
พรุ่งนี้ทุกอย่างจะเปลี่ยนไป เชื้อเพลิงฟอสซิลจะมีให้ใช้อีกไม่นาน การใช้พลังงานที่ยังเพิ่มสูงขึ้น การขาดแคลนน้ำดื่ม ฯลฯ อนาคตของยุทธศาสตร์พลังงานของเรา ส่วนหนึ่งจะขึ้นกับ ความสามารถของแต่ละภาคส่วนที่จะหาคำตอบ ซึ่งในเรื่องนี้ นักวิจัยของคณะกรรมการพลังงาน (CEA) ได้ร่วมมือกับหลายประเทศ ในการพยายามพัฒนาเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบใหม่ ซึ่งให้พลังงานออกมาในราคาที่ต่ำลง ประหยัดมากขึ้น มีกากกัมมันตรังสีน้อยลง และตอบสนองความต้องการที่นอกเหนือการใช้ไฟฟ้าได้ด้วย

การเพิ่มศักยภาพในแข่งขันได้นั้น ต้องขอบคุณเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ที่ใช้เงินลงทุนในตอนแรกน้อยกว่าเดี๋ยวนี้ การใช้เวลาก่อสร้างที่สั้นกว่า และมีอายุการใช้งานที่นานกว่า รวมทั้งให้ผลตอบแทนการลงทุนที่ดี

ระบบความปลอดภัยในอนาคตจะสูงขึ้น เนื่องจากการใช้เชื้อเพลิงแบบใหม่ มีการใช้เครื่องมือที่สามารถรับมือกับเหตุการณ์ต่างๆ ได้สูงขึ้น ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ และสถานการณ์ที่เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์มีปัญหา เช่น แกนเครื่องปฏิกรณ์ละลาย นอกจากนั้น เครื่องปฏิกรณ์รุ่นใหม่ มีการออกแบบให้นำไปใช้ผลิตอาวุธนิวเคลียร์ไม่ได้ โดยลดระดับของพลูโตเนียมลง พลังงานนิวเคลียร์ที่ผลิตออกมา จะทำให้เกิดกากน้อยลง ซึ่งเรื่องนี้ต้องขอบคุณการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์แบบใหม่ ซึ่งสามารถเผาไหม้กากเป็นเชื้อเพลิงได้

สุดท้าย พลังงานนิวเคลียร์จะตอบสนองความต้องการได้ นอกเหนือจากการผลิตไฟฟ้า สามารถใช้ผลิตกาซไฮโดรเจน ซึ่งเป็นพลังงานทางเลือกที่ไม่มีผลต่อปรากฏการณ์เรือนกระจก โดยเฉพาะการนำไปใช้กับยานพาหนะ และใช้ในการผลิตน้ำดื่มจากน้ำทะเล

ถอดความจาก Nuclear power: tomorrow’s energy source
เวบไซต์ www.cea.fr
ข่าวสารเพิ่มเติม