นโยบายการตรวจสอบสนธิสัญญา

นโยบายการตรวจสอบสนธิสัญญาการห้ามทดลองอาวุธนิวเคลียร์
นับตั้งแต่มีสงครามเย็น ระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต การทดลองอาวุธนิวเคลียร์ จากทั้งสองประเทศนี้ เกิดขึ้นอย่างต่ำโดยเฉลี่ย สัปดาห์ละหนึ่งครั้ง โดยปราศจากกฎการควบคุมใดๆ ตราบจนกระทั่ง ปลายปี พ. ศ. 2539 องค์การสหประชาชาติ (United Nations) ได้ออกสนธิสัญญา ห้ามการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ออกมา ในขณะนั้น สหรัฐฯ ภายใต้การนำของประธานาธิบดีคลินตัน ถือเป็นประเทศแรก ที่ลงนามในสนนธิสัญญา ห้ามการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ดังกล่าว (Comprehensive Nuclear Test Ban Treaty – CTBT) ถึงแม้ว่า การลงนามนี้ จะถูกคัดค้านโดยสมาชิกวุฒิสภาสหรัฐฯ ก็ตาม เนื่องจากกังวลว่า จะไม่สามารถตรวจพบได้ ถึงการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ จากชาติอื่นๆ และจะก่อให้เกิดความไม่มั่นคงของชาติ ประเด็นเดียวกันนี้ ยังก่อให้เกิดความวิตกกังวลเช่นเดียวกัน กับคณะผู้บริหารภายใต้การนำของประธานาธิบดีบุช

     

สถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติของสหรัฐฯ (National Academy of Science – NAS) ได้ออกมาเปิดเผยว่า การตรวจสอบการแอบทำการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ จะสามารถดักจับได้ ถึงแม้ว่าจะเป็นปริมาณที่น้อยมากก็ตาม การใช้ระบบใหม่ ในการตรวจสอบอาวุธนิวเคลียร์ จากนานาชาติ (International Monitoring System – IMS) จะสามารถดักจับการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ได้ เป็นปริมาณที่น้อยถึง 1-2 กิโลตันจากทั่วโลก เมื่อเปรียบเทียบกับ ปริมาณอาวุธนิวเคลียร์ ที่ใช้ทำลายเมืองฮิโรชิมา และนางาซากิซึ่งเป็นปริมาณถึง 10-20 กิโลตัน อาวุธนิวเคลียร์สมัยใหม่ มักจะใช้ปริมาณมากกว่า 100 กิโลตันขึ้นไป ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่นี้ การตรวจสอบอาวุธนิวเคลียร์ จากนานาชาติ (IMS) ซึ่งมีฐานปฏิบัติการใหญ่ อยู่ที่เมืองเวียนนา ประเทศออสเตรีย และมีฐานปฏิบัติการย่อย อีกถึง 321 แห่งทั่วโลก จะสามารถดักจับคลื่นเสียงจากน้ำ รังสีแม่เหล็กไฟฟ้า อะตอมที่ปล่อยรังสี และจากตัวรับความรู้สึกจากการสั่นสะเทือน โดยทั่วไป คลื่นสั่นสะเทือนที่ดักจับได้นี้ จะถูกนำมาตรวจสอบหาข้อเท็จจริง ว่าเป็นคลื่นที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือเป็นคลื่นที่เกิดจากการระเบิดของอาวุธนิวเคลียร์

อุปสรรคใหญ่ในอดีต สำหรับการดักจับการทดลองอาวุธนิวเคลียร์นั้น มักเกิดจากประเทศที่แอบทำการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ในเหมือง และในถ้ำใต้ดิน ซึ่งเครื่องดักจับความสั่นสะเทือนสมัยก่อน ไม่สามารถตรวจสอบได้ อย่างแน่ชัด เนื่องจากคลื่นสั่นสะเมือนที่วัดได้นั้น จะน้อยกว่าความเป็นจริง ถ้าทำการทดลองในถ้ำใต้ดิน แต่หลังจากที่ NAS ออกมายืนยัน ถึงเทคโนโลยีตัวใหม่ ที่ใช้ตรวจสอบการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ จากนานาชาติ จะเป็นข้อผลักดัน ให้สนธิสัญญาห้ามการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ เป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น และจะกำจัดข้อกังขา จากคณะผู้บริหาร ภายใต้การนำของประธานาธิบดีบุช ในการตรวจสอบ การแอบทำการทดลองอาวุธนิวเคลียร์จากต่างชาติได้

( ที่มา : Geotimes, October 2002)

ข่าวสารเพิ่มเติม