ทอเรียม เป็นธาตุชนิดหนึ่งในตารางธาตุ มีสัญลักษณ์ Th มีเลขอะตอม 90 เป็นธาตุที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มีคุณสมบัติเป็นโลหะที่มีกัมมันตภาพรังสีเล็กน้อย สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ได้เช่นเดียวกับยูเรเนียม คุณสมบัติ ทอเรียมบริสุทธิ์เป็นโลหะสีขาวเงินโดยยังคงเป็นมันเงาอยู่แม้จะเก็บไว้เป็นเวลาหลายเดือน แต่ถ้ามีออกไซด์ปะปนอยู่ทอเรียมจะหมองลงช้าๆ เมื่อสัมผัสอากาศ จากนั้นจะกลายเป็นสีเทาและเป็นสีดำในที่สุด ทอเรียมไดออกไซด์ (Thorium dioxide, ThO2) มีชื่อเรียกว่า ทอเรีย (thoria) เป็นออกไซด์ที่มีจุดหลอมเหลวสูงที่สุด (3300?C) เมื่อให้ความร้อนในอากาศ โลหะทอเรียมจะติดไฟและจะลุกไหม้โดยให้เปลวไฟเป็นแสงสีขาว |
||||||
|
||||||
การนำมาใช้ประโยชน์ การนำทอเรียมมาใช้: |
||||||
การนำทอเรียมไดออกไซด์ (thorium dioxide, ThO2 ) มาใช้:
|
||||||
ตะเกียงและไส้ตะเกียงเจ้าพายุที่มีส่วนผสมของทอเรียม
|
||||||
ความเป็นมา ทอเรียมได้รับการค้นพบในปี 1828 โดยนักเคมีชาวสวีเดน Jons Jakob Berzelius และได้ตั้งชื่อธาตุชนิดว่าทอร์ (Thor) ซึ่งเป็นเทพสายฟ้าของชาวนอร์เวย์ แต่ก็ยังไม่มีนำโลหะทอเรียมมาใช้ประโยชน์จนกระทั่งมีการประดิษฐ์ไส้ตะเกียงในปี 1885 การเกิดขึ้นของทอเรียม ทอเรียมพบได้ปริมาณเล็กน้อยในดินและหิน โดยมีมากกว่ายูเรเนียมประมาณ 3 เท่า และมีใกล้เคียงกับตะกั่ว ดินทั่วไปมีทอเรียมโดยเฉลี่ยประมาณ 6 ส่วนในล้านส่วน (ppm) มีทอเรียมอยู่ในแร่หลายชนิด ที่พบมากคือแร่ทอเรียมฟอสเฟตในกลุ่มธาตุหายาก (rare earth-thorium-phosphate mineral) หรือ monazite ซึ่งมีทอเรียมออกไซด์ประมาณ 12% และพบว่ามีการสะสมเป็นแหล่งใหญ่ในหลายประเทศ 232Th มีการสลายตัวช้ามาก เนื่องจากมีครึ่งชีวิตประมาณ 3 เท่าของอายุโลก แต่มีไอโซโทปอื่นของทอเรียมที่เกิดขึ้นในอนุกรมการสลายตัวของทอเรียมกับยูเรเนียม ซึ่งมีครึ่งชีวิตสั้นและมีกัมมันตภาพรังสีสูงกว่า 232Th จึงไม่นำมาคิดเป็นมวลของธาตุทอเรียม การใช้ทอเรียมทำเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ ทอเรียมสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ได้เช่นเดียวกับยูเรเนียมกับพลูโตเนียม แม้ว่าทอเรียมเองจะไม่ใช่วัสดุฟิชไซล์ แต่เมื่อดูดกลืนนิวตรอนแล้วจะกลายเป็นยูเรเนียม-233 (uranium-233, 233U) ซึ่งเป็นวัสดุฟิชไซล์ จึงเป็นวัสดุเฟอร์ไทล์เช่นเดียวกับยูเรเนียม-238 238U ความจริง 233U ใช้เป็นเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ได้ดีกว่าวัสดุฟิชไซล์อีก 2 ชนิด คือ 235U กับ plutonium-239 (239Pu) เนื่องจากเมื่อดูดกลืนนิวตรอนแล้วจะให้นิวตรอนออกมาจากปฏิกิริยาฟิชชันได้มากกว่า มีการนำไปใช้ในผลิตเชื้อเพลิงโดยวิธี breeding cycle โดยใช้วัสดุฟิชไซล์ เช่น 235U หรือ 239Pu เป็นเชื้อเพลิงตั้งต้น ซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่าการเปลี่ยน 238U ไปเป็น 239Pu ดังที่ใช้อยู่ในเครื่องปฏิกรณ์แบบนิวตรอน (slow-neutron reactors) ในปัจจุบัน 232Th ที่ดูดกลืนนิวตรอนจะกลายเป็น 233Th และสลายตัวไปเป็น protactinium-233 (233Pa) และสลายตัวอีกครั้งเป็น 233U เมื่อนำเชื้อเพลิงออกจากเครื่องปฏิกรณ์มาสกัด 233U ออกจากทอเรียมด้วยกระบวนการทางเคมี ซึ่งใช้วิธีการที่ง่ายและราคาถูกกว่าการใช้กระบวนการเสริมสมรรถนะ (enrichment) จากนั้นจึงขึ้นรูปและนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ต่อไป ปัญหาของการผลิตเชื้อเพลิงด้วยวิธีนี้ นอกจากจะมีราคาสูงในส่วนของการขึ้นรูป (fabrication) เชื้อเพลิงแล้ว 233U ยังมีกัมมันตภาพรังสีสูงจากการปนเปื้อนของไอโซโทปรังสี 232U ซึ่งมีอายุสั้น และการนำทอเรียมกลับมาใช้ก็จะมีกัมมันตภาพรังสีสูงจาก 228Th รวมทั้งมีความเสี่ยงกับการที่จะมีการนำ 233U ไปใช้ทำอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งปัญหาทางเทคนิคในการนำเชื้อเพลิงกลับมาใช้ใหม่ ยังต้องมีการพัฒนาวัฏจักรเชื้อเพลิงทอเรียม (thorium fuel cycle) ก่อนที่จะนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์ ซึ่งต้องมีความพยายามอย่างสูง เนื่องจากยังมียูเรเนียมให้ใช้ได้อยู่ในปริมาณมาก อย่างไรก็ตาม วัฏจักรเชื้อเพลิงทอเรียม ก็ถือว่าเป็นทางเลือกที่มีศักยภาพสูงในระยะยาว เนื่องจากเป็นผลิตเชื้อเพลิง (breeding fuel) โดยไม่ต้องใช้เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบนิวตรอนเร็ว (fast neutron reactors) ทอเรียมนั้นมีปริมาณมากกว่ายูเรเนียม จึงเป็นกุญแจสำคัญของความยั่งยืนของพลังงานนิวเคลียร์ อินเดียเป็นประเทศที่มีปริมาณสำรองของทอเรียมอยู่มาก และเป็นประเทศเดียวที่มีแผนในการพัฒนาโครงการพลังงานนิวเคลียร์จากทอเรียม โครงการขนาดใหญ่นี้ ใช้ทั้งเครื่องปฏิกรณ์นิวคลียร์สำหรับผลิตเชื้อเพลิง ทั้งแบบเทอร์มัลนิวตรอนและแบบใช้นิวตรอนเร็ว โดยเร่มต้นโครงการด้วยเครื่องปฏิกรณ์ใช้น้ำมวลหนักแบบก้าวหน้า (Advanced Heavy Water Reactor) กับเครื่องปฏิกรณ์ KAMINI |
||||||
|
||||||
การขึ้นรูปเชื้อเพลิงทอเรียมผสมวัสดุฟิชไซล์
|
||||||
ไอโซโทปของทอเรียม ทอเรียมที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มีไอโซโทปเดียวคือ 232Th ส่วนไอโซโทปรังสีของทอเรียมที่ตรวจพบแล้วมี 25 ไอโซโทป มีน้ำหนักอะตอมตั้งแต่ 212 amu (212Th) ไปจนถึง 236 amu (236Th) โดย 232Th เป็นไอโซโทปที่เสถียรที่สุด มีครึ่งชีวิต 14.05 พันล้านปี ถัดมาเป็น 230Th มีครึ่งชีวิต 75,380 ปี 229Th มีครึ่งชีวิต 7,340 ปี และ 228Th มีครึ่งชีวิต 1.92 ปี ส่วนที่เหลือเป็นไอโซโทปรังสีที่มีครึ่งชีวิตน้อยว่า 30 วัน และส่วนใหญ่มีครึ่งชีวิตน้อยกว่า 10 นาที ไอโซโทปของทอเรียม ข้อควรระวัง ผงโลหะทอเรียมนั้นติดไฟได้เอง (pyrophoric) จึงควรใช้ความระมัดระวัง การทดลองที่เป็นข่าว David Hahn, ซึ่งมีชื่อเรียกว่าลูกเสือกัมมันตรังสี (radioactive boy scout) ได้ทำการทดลองในโรงรถ โดยการยิงทอเรียมที่อยู่ในไส้ตะเกียงด้วยนิวตรอน เพื่อผลิตวัสดุที่เกิดฟิชชันได้ (fissionable material) ต่อมาได้ล้มเลิกโครงการไป เนื่องจากเขาได้ตรวจพบว่ามีระดับรังสีสูงขึ้นในบ้านหลายหลังที่อยู่ถัดออกไป ในปี 1999 กลุ่มนักศึกษาของมหาวิทยาลัยชิคาโก ได้ทำโครงงานโดยการสร้างเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ขนาดเล็กที่สามารถทำงานได้ |
||||||
เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ใช้ในการผลิต U-233 จาก Th-232
|
||||||
ถอดความจาก Thorium
เว็บไซต์ www.wikipedia.com |