ความวิตกกังวลเกี่ยวกับอาหารฉายรังสี

ความวิตกกังวลเกี่ยวกับอาหารฉายรังสี

คำว่ารังสีมักจะก่อให้เกิดความหวาดกลัวของผู้บริโภค ในเรื่องของมะเร็งและกัมมันตภาพรังสีนิวเคลียร์ การใช้กระบวนการนี้ฟังดูแล้วน่ากลัว เพราะมีการใช้รังสีพลังงานสูงและมองไม่เห็น จึงทำให้ยังคงมีคำถามเกี่ยวกับความปลอดภัยและประโยชน์ของอาหารฉายรังสี เราจึงมักจะพบกับคำถามต่อไปนี้เสมอ

อาหารฉายรังสีที่มีกัมมันตภาพรังสีหรือไม่ ?
คำตอบคือ ไม่ ทั้งสองคำนี้ฟังดูคล้ายกันจนอาจทำให้สับสน อาหารฉายรังสีไม่มีทางจะกลายเป็นสารกันมันตรังสี หรือมีรังสีตกค้างอยู่ เช่นเดียวกับการเอกซเรย์ฟัน ไม่ได้ทำให้ฟันของเรามีรังสี การฉายรังสีเป็นการปล่อยพลังงานออกมา พลังงานนั้นจะหมดไป เมื่อไม่มีต้นกำเนิดของมัน

การฉายรังสีอาหารจะทำให้เกิดสารพิษขึ้นหรือไม่?
นักวิจัยในหลายประเทศได้ทำการทดสอบอาหารฉายรังสี เพื่อตรวจหาสารเคมีที่อาจจะเกิดขึ้นจากการฉายรังสี (radiolytic products) และทดสอบความเป็นพิษของสารเคมีเหล่านี้ มาเป็นเวลากว่า 30 ปีมาแล้ว

การฉายรังสีอาหารสามารถนำไปใช้ในกรณีใดได้บ้าง?
กระบวนการฉายรังสีอาหาร สามารถทำได้ทั้งอาหารปริมาณมากและปริมาณน้อย จึงสามารถนำไปใช้ได้หลายรูปแบบ ตัวอย่างเช่น การฉายรังสีเนื้อไก่สำหรับทาน 1 มื้อของนักบินอวกาศ หรือใช้ฉายรังสีมะเขือเทศปริมาณมากๆ เพื่อชะลอการสุกในระหว่างการเก็บไว้ในโกดังสินค้า
การฉายรังสีไม่สามารถใช้ได้กับอาหารทุกชนิด เนื่องจากทำให้กลิ่นเปลี่ยนไปในนมสด และทำให้เนื้อผลไม้บางชนิดนิ่มจนไม่น่ารับประทาน เช่น peaches และ nectarines

การนำวิธีการฉายรังสีอาหารมาใช้

การถนอมอาหาร (Preservation)
การฉายรังสีสามารถใช้หยุดการเติบโตหรือทำลายเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดการเน่าเสีย จึงสามารถยืดอายุการเก็บอาหารไว้ได้ยาวนานมากขึ้น รังสีที่ใช้มีพลังงานสูงมากพอที่จะนำมาใช้ถนอมอาหารหลายชนิดที่บรรจุอยู่ภายในกระป๋อง ผลิตภัณฑ์ที่ฉายรังสีแล้ว ยังคงมีรูปร่าง ลักษณะ กลิ่นและสีคงเดิม การถนอมอาหารด้วยรังสีไม่จำเป็นต้องเติมน้ำ ไม่ทำให้เกิดการสูญเสียน้ำ สามารถฉายรังสีอาหาร ทั้งที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์ขนาดเล็กและบรรจุภัณฑ์ขนาดใหญ่ หรือถูกแช่แข็ง

การปลอดเชื้อ (Sterilization)
การฆ่าเชื้อโรคในอาหารด้วยรังสี ทำให้สามารถเก็บไว้ได้เป็นปีโดยไม่ต้องแช่เย็น (คล้ายกับอาหารบรรจุกระป๋อง ที่ฆ่าเชื้อด้วยความร้อน) การฉายรังสีอาหาร จึงเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารรูปแบบใหม่ที่เก็บไว้ได้นาน การปลอดเชื้ออาหารมีประโยชน์ต่อโรงพยาบาล สำหรับจัดอาหารให้แก่ผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน เช่น ผู้ป่วยมะเร็ง หรือผู้ป่วยเอดส์ อาหารฉายรังสี สามารถนำไปใช้เป็นเสบียงทางการทหาร หรือสำหรับนักบินอวกาศ

ควบคุมการงอก การสุก และการกัดกินของแมลง
Control sprouting, ripening, and insect damage
การฉายรังสีสามารถใช้แทนการรมหรือการสเปรย์ด้วยสารเคมีโดยไม่ทำให้เกิดสารตกค้างในอาหาร สามารถใช้ในการชะลอการสุกของมะเขือเทศ ผลไม้เมืองร้อน ทำลายแมลงและตัวอ่อนที่จะกัดกินเมล็ดพืช ข้าวและเครื่องเทศ

ป้องกันการติดเชื้อจากอาหาร (Control foodborne illness)
การฉายรังสีสามารถใช้ทำลายเชื้อที่ทำให้เกิดโรคทางเดินอาหาร เช่น ซาลโมเนลลา (Salmonella)

การนำวิธีการฉายรังสีมาใช้ในการถนอมอาหาร มีทั้งข้อดีและข้อจำกัด อาหารที่สามารถนำมาฉายรังสีได้ แสดงอยู่ในตารางที่ 1
ข้อวิตกของผู้ริโภค เกี่ยวกับสารเคมีที่เกิดจากการฉายรังสี (radiolytic products) และอันตรายของสารเคมีเหล่านี้ การทดสอบทางชีวเคมี และชีวการแพทย์ ไม่พบว่ามีสารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และจากการทดสอบ ไม่พบว่ามีการเจ็บป่วยที่เกิดจาก radiolytic compounds เหล่านี้

มีการควบคุมอาหารฉายรังสีหรือไม่?

องค์การอาหารและยา หรือ FDA (Food and Drug Administration) ทำหน้าที่ควบคุมอาหารฉายรังสีทุกชนิด เกี่ยวกับ ผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำมาฉายรังสี ปริมาณรังสีที่ใช้ และการติดฉลากผลิตภัณฑ์ฉายรังสี โดยกระทรวงเกษตรของสหรัฐ หรือ USDA (Department of Agriculture) รับผิดชอบในการตรวจสอบผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ฉายรังสี ขณะที่ FDA ทำหน้าที่ในการควบคุมดูแล ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 1986 ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการฉายรังสีทุกชนิด ต้องติดฉลากที่มีสัญลักษณ์นานาชาติ ที่เรียกว่า radura ซึ่งมีรูปร่างคล้ายกับดอกไม้

FDA กำหนดให้แสดงสัญลักษณ์และข้อความบนหีบห่อของอาหาร บนกล่องที่บรรจุ บนใบโฆษณา และบนใบรายการสินค้า สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมผ่านการฉายรังสี

ผู้ผลิตอาจอธิบายข้อมูลเพิ่มเติมถึงเหตุผลในการฉายรังสี ตัวอย่างเช่น ฉายรังสีเพื่อยับยั้งการเน่าเสีย หรือฉายรังสีเพื่อกำจัดแมลงแทนการใช้สารเคมี

สิ่งที่สำคัญต่อการควบคุม คือความถูกต้องของบันทึกของโรงงงาน เนื่องจากเราไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ผลิตภัณฑ์ชิ้นใดผ่านการฉายรังสีมาแล้ว หรือผลิตภัณฑ์นั้นฉายรังสีด้วยปริมาณเท่าใด

สัญลักษณ์อาหารฉายรังสี
ฉลากแสดงอาหารฉายรังสี
คุณค่าทางโภชนาการจะลดลงหรือไม่?

นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า การฉายรังสีไม่ได้ทำให้คุณค่าทางโภชนาการลดลงไปมากกว่าการใช้กระบวนการอื่น เช่น การบรรจุกระป๋อง ดังแสดงอยู่ในตารางที่ 2 และตารางที่ 3

ตารางที่ 2 เปรียบเทียบปริมาณไทอามีน (Thiamin) ที่เหลืออยู่
Meat
%ในอาหารฉายรังสี
%ในอาหารกระป๋อง
เนื้อวัว (Beef)
21
44
เนื้อไก่ (Chicken)
22
66
เนื้อหมู (Pork)
12
57

Reference: Journal of Food Science 46:8, 1981.

ตารางที่ 3 เปรียบเทียบปริมาณวิตามินที่เหลืออยู่ในเนื้อไก่ปรุงสุก
ใช้เนื้อไก่ปรุงสุกน้ำหนัก 1 กิโลกรัม
Vitamin
ตัวอย่างไม่ฉายรังสี
ตัวอย่างฉายรังสี
Vitamin A ( international units)
2200
2450
Vitamin E (มิลลิกรัม)
3.3
2.15
Thiamin (มิลลิกรัม)
0.58
0.42
Riboflavin (มิลลิกรัม)
2.10
2.25
Niacin (มิลลิกรัม)
58.0
55.5
Vitamin B6 (มิลลิกรัม)
1.22
1.35
Vitamin B12 (มิลลิกรัม)
21
28
Pantothenic acid (มิลลิกรัม)
13
17
Folacin (มิลลิกรัม)
0.23
0.18

Reference: Journal of Food Processing and Preservation 2:229, 1978

ถอดความจาก Ten Most Commonly Asked Questions About Food Irradiation
Food Fact Safety Sheet
เวบไซต์ www.umich.edu
ข่าวสารเพิ่มเติม