การเกิดปฏิกิริยาของรังสีกับสสาร
|
||
สเปกตรัมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ประกอบด้วย รังสีหลายแบบ แต่ละแบบมีพลังงานแตกต่างกัน ทำให้เกิดปฏิกิริยากับวัตถุต่างกัน เริ่มที่คลื่นวิทยุ ซึ่งสามารถผ่านตัวเราไปได้อย่างง่ายดาย เราสามารถฟังวิทยุขณะที่อยู่ในบ้าน เพราะคลื่นวิทยุสามารถผ่านผนังบ้าน และผู้คนรอบตัวเราได้อย่างสบาย ถ้ามาดูที่คลื่นไมโครเวฟ (microwave) คลื่นอินฟราเรด (infrared) และแสงสว่าง (visible light) ตัวเราสามารถดูดกลืนคลื่นเหล่านี้ได้ดี ส่วนคลื่นอัลตราไวโอเลต (ultraviolet) หรือยูวี ซึ่งส่วนใหญ่มาจากดวงอาทิตย์ จะถูกดูดกลืนที่ผิวหนังชั้นนอกของเรา และถ้าดูที่ส่วนของรังสีเอกซ์ ร่างกายเราจะดูดกลืนได้ต่ำ ทำให้ทะลุผ่านตัวเราไปได้ ร่างกายเราจึงดูดกลืนได้เพียงบางส่วนในสเปกตรัมคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเท่านั้น แต่การดูดกลืนได้นี้ ก็ส่งผลให้เกิดการไอออไนซ์ ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายได้ แต่ละส่วนในสเปกตรัมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ประกอบด้วยพลังงานควอนตัม (quantum energy) ซึ่งมีพลังงานสูงพอที่จะทำให้เกิด excitation ได้ ระดับพลังงานของอะตอมและโมเลกุลมีลักษณะเป็นช่วง หรือเป็นควอนตัม ถ้าพลังงานไม่ถึงหรือไม่พอดีกับระดับพลังงานควอนตัม นี้ รังสีจะทะลุผ่านวัตถุนั้นไปโดยไม่เกิดปฏิกิริยา
|
||
รังสีในแต่ละช่วงของสเปกตรัมคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เกิดปฏิกิริยากับวัตถุแตกต่างกันมาก เริ่มที่คลื่นวิทยุความถี่ต่ำ (low frequency radio wave) สามารถทะลุร่างกายคนเราไปได้เหมือนกับเป็นวัตถุโปร่งใส เราสามารถฟังวิทยุขณะที่อยู่ในบ้านได้ เนื่องจากคลื่นแบบนี้สามารถผ่านผนังบ้านและคนที่อยู่รอบตัวเรามาได้ ถ้าขยับขึ้นมาที่คลื่นไมโครเวฟ (microwaves) อินฟราเรด (infrared) ไปจนถึงแสงสว่าง (visible light) ร่างกายคนเราสามารถดูดกลืนคลื่นเหล่านี้ได้มากกว่าและมากขึ้นตามลำดับ ในช่วงของคลื่นอัลตราไวโอเลต (ultraviolet) หรือยูวี (uv) ที่แผ่ออกมาจากดวงอาทิตย์ จะถูกดูดกลืนที่ผิวชั้นนอกของเรา ถ้าขยับสูงขึ้นไปตามสเปกตรัม ที่ช่วงของรังสีเอกซ์ ร่างกายเราจะโปร่งใสต่อรังสีชนิดนี้อีกครั้ง เนื่องจากมีกลไกในการดูดกลืนได้ต่ำ มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ร่างกายเราดูดกลืน แต่ก็ทำให้เกิดอันตรายได้จากปฏิกิริยา ionization แต่ละช่วงในสเปกตรัมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีระดับของพลังงานควอนตัม ในการทำให้เกิด excitation ด้วยกระบวนการที่แตกต่างกัน ระดับพลังงานของทุกกระบวนการในระดับอะตอมและระดับโมเลกุล มีค่าเป็น quantize และถ้ารังสีที่ตกกระทบมีพลังงานที่ไม่พอดีกับพลังงานควอนตัม รังสีจะผ่านไปได้ โดยวัสดุนั้นก็จะมีสภาพโปร่งใสต่อรังสี
|
||
ปฏิกิริยาของไมโครเวฟ
|
||
ปฏิกิริยาของอินฟราเรด
|
||
ปฏิกิริยาของแสงสว่าง
|
||
เมื่อฉายแสงสว่างจนทำให้เกิดความร้อน จะไม่ทำให้เกิดการไอออไนซ์ ถ้าเราตากแดดอยู่หลังกระจกแบบกันลม (larminated glass) จะทำให้รู้สึกร้อนแต่จะไม่เกิดการไหม้ของผิวหนังจากแสงอาทิตย์ (sunburn) ที่มีสาเหตุมาจากรังสี uv ในแสงอาทิตย์ที่มีความถี่สูงกว่า เนื่องจากถูกกั้นด้วยกระจก | ||
ปฏิกิริยาของรังสีเหนือม่วง
|
||
รังสี UV ที่มีผลต่อสุขภาพ ส่วนใหญ่จะมีความยาวคลื่น อยู่ในช่วง 290-330 นาโนเมตร ซึ่งเป็นช่วงที่เรียกว่า UVB ตามผลการวิจัยของ Scotto และคณะ ที่พบว่า รังสี UV ที่มีผลในการทำให้เกิดการไหม้ของผิวหนัง มีความยาวคลื่น 297 นาโนเมตร ซึ่งผลการวิจัยนี้ได้ชี้ให้เห็นว่า ผลต่อส่งมีชีวิตจะสูงขึ้นแบบลอการิทึม ในช่วงของ UVB โดยความยาวคลื่น 330 nm มีผลต่อสิ่งมีชีวิตเพียง 0.1% ของความยาวคลื่น 297 nm จึงเห็นได้ชัดถึงความสำคัญที่ต้องควบคุมการได้รับรังสี UVB | ||
ปฏิกิริยาของรังสีเอกซ์
|
||
|
||
ถอดความจาก Interaction of Radiation with matter เวบไซต์ www.hyperphysic.com |