การทดสอบเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิวชันของจีน
|
||||||
มีรายงานจาก Hefei Institute of Physical Science ของ Chinese Academy of Sciences (CAS) เมื่อวันพฤหัสบดีว่า การทดสอบเดินเครื่องครั้งแรกในปี 2006 ของ Experimental Advanced Superconducting Tokamak (EAST) ซึ่งมีเป้าหมายในการผลิตพลังงานสะอาดโดยใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์ฟิวชันหรือการจำลองปฏิกิริยาของดวงอาทิตย์ ได้เสร็จสมบูรณ์แล้ว
|
||||||
|
||||||
ในปี 1990 CAS Institute of Plasma Physics ได้สร้างเครื่อง superconducting tokamak equipment HT-7 เครื่องแรกของจีนขึ้นมา ทำให้จีนเป็นประเทศที่ 4 ในโลกที่มีอุปกรณ์ชนิดนี้ ต่อจากรัสเซีย ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น ในปี 2000 นักวิทยาศาสตร์ที่สถาบันแห่งนี้ได้เริ่มสร้างส่วนตัวนำยิ่งยวดแบบไม่เป็นวงกลมของโตกามัค (all-superconducting non-circular section tokamak equipment) รุ่นใหม่ขึ้นมาที่สถานี HT-7 และให้ชื่อเครื่องปฏิกรณ์นี้ใหม่ว่า EAST การปรับปรุง HT-7 ทำให้ EAST นำจีนขึ้นมาเป็นผู้นำในกลุ่มการวิจัยนิวเคลียร์ฟิวชัน ซึ่งเป็น 1 ใน 9 โครงการหลักตามแผน 5 ปีของจีน โดย EAST เริ่มติดตั้งอุปกรณ์ทั้งหมดในปี 2003 |
||||||
|
||||||
เมื่อวันที่ 1 เมษายน ที่กรุงปักกิ่ง สำนักข่าว Xinhua ของจีนรายงานว่า จะมีการทดลองเครื่องปฏิกรณ์ฟิวชันสำหรับการทดลอง Tokamak รุ่นใหม่ในเดือนกรกฎาคมหรือสิงหาคมของปีนี้ ถ้าการทดลองนี้ประสบความสำเร็จ จะเป็นเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิวชันสำหรับการทดลอง เครื่องแรกของโลกที่มีการเดินเครื่อง Li Jiangang ผู้อำนวยการสถาบันพลาสมาฟิสิกส์ (Institute of Plasma Physics) ภายใต้ Chinese Academy of Sciences (CAS) และเป็นหัวหน้าโครงการนี้กล่าวว่า เดิมพันครั้งนี้จะเปิดทางให้จีนได้รับพลังงานสะอาดจากนิวเคลียร์ฟิวชัน จีนตั้งชื่อโครงการนี้ว่า Experimental Advanced Superconducting Tokamak (EAST) ซึ่งใช้เงินลงทุน 165 ล้านหยวน หรือประมาณ 20 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อ EAST ติดตั้งอุปกรณ์เสร็จแล้ว จะเริ่มการทำสุญญากาศ ลดอุณหภูมิ และประจุไฟฟ้าอุปกรณ์ตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ จนถึงเดือนมีนาคม ถ้าการทดลองปล่อยกระแส (discharge experiment) ประสบความสำเร็จ จะต้องรออีกระยะหนึ่ง เพื่อทำการตรวจสอบอุปกรณ์ตามขั้นตอนของกระบวนการ |
||||||
|
||||||
เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์เชิงพาณิชย์ทั้งหมดในโลกเป็นแบบฟิสชัน ซึ่งมีกระบวนการที่ตรงข้ามกับฟิวชันของ ITER และใช้แร่ธาตุที่หมุนเวียนไม่ได้ เช่น ยูเรเนียมและพลูโตเนียม กากนิวเคลียร์จากเครื่องปฏิกรณ์ฟิสชันมีกัมมันตภาพรังสี ขณะที่ปฏิกิริยาฟิวชันเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม |
||||||
ถอดความจาก Nuclear Fusion Reactor Completes Test
(Xinhua News Agency March 25, 2006) เวบไซต์ www.china.org.cn และ www.xinhuanet.com |
||||||