การถ่ายภาพด้วยรังสีมิวออน
|
||||
รังสีคอสมิกที่วิ่งเข้าใส่โลกอย่างต่อเนื่อง สามารถใช้ตรวจจับการลักลอบขนส่งอาวุธนิวเคลียร์ หรือวัสดุนิวเคลียร์ได้ นักวิทยาศาสตร์ที่ห้องปฏิบัติการ Los Alamos ได้พัฒนาเครื่องมือวัดที่สามารถมองเห็นผ่านชั้นของตะกั่ว หรือวัสดุป้องกันที่เป็นโลหะหนัก หรือรถบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่ เพื่อตรวจจับยูเรเนียม พลูโตเนียม หรือวัสดุความหนาแน่นสูงอย่างอื่นได้ เทคนิคนี้เรียกว่า การถ่ายภาพด้วยรังสีมิวออน (muon radiography) เป็นวิธีการที่มีความไวสูงกว่ารังสีเอ๊กซ์ ไม่มีอันตรายจากรังสีเอ๊กซ์ หรือรังสีแกมมาเหมือนกับที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันChris Morris จากแผนกฟิสิกส์ และ Rick Chartrand จากแผนกทฤษฎี ได้เสนอผลการพัฒนาเทคนิคในการสร้างเครื่องมือวัดต้นแบบ ในการประชุมวิชาการประจำปีของ American Association for the Advancement of Science
ผู้สมัครประธานาธิบดีสหรัฐ เมื่อปี 2004 ได้เคยเสนอว่า การก่อการร้ายทางนิวเคลียร์เป็นภัยคุกคามมากที่สุดที่สหรัฐเผชิญอยู่ ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยคาดการณ์ว่า ระเบิดนิวเคลียร์ หรือการแพร่กระจายของกัมมันตภาพรังสีในพื้นดิน สามารถทำให้เกิดความวุ่นวาย และทำให้ธุรกิจการค้าสหรัฐพังทลายลงได้ วิธีการถ่ายภาพด้วยรังสีที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน มีประสิทธิภาพไม่เพียงพอ ที่จะตรวจวัดวัสดุนิวเคลียร์ที่บรรจุอยู่ภายในภาชนะห่อหุ้มป้องกัน นอกจากนั้น การใช้งานยังมีอันตรายจากรังสีต่อเจ้าหน้าที่ตรวจวัด และผู้ที่โดยสารอยู่ในยานพาหนะ การถ่ายภาพด้วยรังสีมิวออน ใช้การกระเจิงของอนุภาคมิวออนที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ซึ่งเกิดขึ้นจากการสลายตัวของรังสีคอสมิกที่เดินทางมายังโลก เป็นต้นกำเนิดรังสี ดังนั้น การที่ผู้ลักลอบขนส่ง พยายามห่อหุ้มวัสดุนิวเคลียร์ ด้วยตะกั่วหรือโลหะหนักชนิดอื่น จึงทำให้การตรวจวัดด้วยมิวออนทำได้ง่ายขึ้น |
||||
|
||||
Morris ให้ความเห็นว่า “เราเชื่อว่า การทำงานของเรา ได้ผ่านพ้นอุปสรรคในการสร้างระบบต้นแบบสำหรับการรักษาความปลอดภัยมาได้แล้ว”
การถ่ายภาพด้วยมิวออนเหมาะสำหรับงานนี้ เนื่องจากมิวออนมีพลังงานสูงพอที่จะทะลุผ่านก้อนหินหรือโลหะหนัก วัสดุที่ประกอบด้วยธาตุที่มีเลขอะตอมสูง เช่น พลูโตเนียม ยูเรเนียม ตะกั่ว หรือทังสเตน จะมีจำนวนโปรตอนมาก ทำให้มีแรงแม่เหล็กไฟฟ้ามาก ซึ่งจะมีผลต่อมิวออนมากกว่า วัสดุที่ประกอบด้วยธาตุที่มีเลขอะตอมต่ำกว่า เช่น เหล็ก อลูมิเนียม พลาสติก เครื่องวัดรังสีคู่หนึ่งด้านบน และอีกคู่หนึ่งด้านล่างของรถบรรทุก ตู้สินค้า หรือคอนเทนเนอร์ ซึ่งจะบันทึกจำนวนและทิศทางของมิวออนก่อน และหลังผ่านตู้สินค้า เมื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของพลังงานและทิศทางของมิวออน โปรแกรมคอมพิวเตอร์จะนำข้อมูลมาสร้างเป็นภาพ 3 มิติ ซึ่งจะแสดงตำแหน่งของวัตถุที่มีความหนาแน่นสูงในตู้สินค้าออกมาได้ ในปี 1960 Luis Alvarez ได้เคยใช้การตรวจวัดมิวออน เพื่อค้นหาห้องที่ซ่อนอยู่ภายในปิรามิดที่ 2 แห่งกิซา |
||||
|
||||
จุดเด่นอย่างหนึ่งของการถ่ายภาพด้วยรังสีมิวออน คือ ความสามารถในการแยกความแตกต่างระหว่างวัตถุห่อหุ้มวัสดุนิวเคลียร์กับโลหะความหนาแน่นต่ำ มิวออน มีพลังงานเฉลี่ย 3 TeV (3×109 eV) มิวออนส่วนใหญ่จึงสามาระทะลุผ่านตะกั่วหนา 6 ฟุตได้ ส่วนรังสีแกมมา จะมีพิสัยที่น้อยว่ากันมาก จึงทำได้เพียงภาพ 2 มิติและต้องใช้ต้นกำเนิดรังสีที่มีอันตรายว่า เช่น โคบอลต์-60
ระบบตรวจวัด เช่น จอภาพที่สนามบิน ต้องใช้คนในการแปรผลของภาพ ส่วนระบบคอมพิวเตอร์ของ Los Alamos เป็นแบบอัตโนมัติ ทำให้เจ้าหน้าที่ทำงานได้ง่ายขึ้น Chartrand ได้อธิบายว่า ด้วยวิธี machine learning techniques ทำให้สามารถแสดงผลออกมาได้โดยตรงว่า เป็นระเบิด วัสดุนิวเคลียร์ หรือวัตถุห่อหุ้มสารรังสี ” เราได้แสดงให้เห็นว่า เราสามารถใส่ข้อมูลลงไป และด้วยระบบ machine-learning algorithm จะสามารถสอนให้ระบบให้รู้จักวัตถุ โดยมีค่าความผิดพลาดน้อยกว่า 3 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งต่อไปจะมีการปรับปรุงให้ดีขึ้นกว่านี้” ทีมของศูนย์วิทยาศาสตร์นิวตรอนแห่ง ลอส อลามอส (Los Alamos Neutron Science Center) ได้สร้างต้นแบบของเครื่องมือวัด ที่มีขนาดใหญ่พอที่จะถ่ายภาพโลหะขนาดใหญ่ โดยใช้เวลาถ่ายภาพ 60 วินาที เจ้าหน้าที่สามารถปรับให้ตรวจวัดยานพาหนะที่ไม่มีอันตราย โดยใช้เวลาในการถ่ายภาพด้วยรังสีมิวออน เหลือ 20 วินาทีได้ |
||||
|
||||
ถอดความจาก Muon detector could thwart nuclear smugglers เวบไซต์ http://www.lanl.gov/orgs/p/muon_rad.shtml online. http://www.lanl.gov/orgs/pa/newsbulletin/2005/02/22/text03.shtml |