|
||||||||||||||||||||||||||||||
การขนส่งอัญมณีทางไปรษณีย์อาจประสบปัญหาจากการฆ่าสปอร์ของเชื้อแอนแทรกซ์
เมื่อไม่นานมานี้ ที่สหรัฐอเมริกา ได้เกิดการติดเชื้อแอนแทรกซ์ที่มีการส่งสปอร์ของเชื้อนี้โดยทางไปรษณีย์ ทำให้องค์การไปรษณีย์ของสหรัฐ (USPS) ต้องหาวิธีในการป้องกันให้แก่เจ้าหน้าที่ และสาธารณชน จากภัยคุกคามนี้ ส่วนหนึ่งของความพยายามนี้ คือการหาวิธีในการฆ่าสปอร์ของเชื้อแอนแทรกซ์ ซึ่งรวมถึงเชื้ออื่นด้วย ที่อาจส่งมาทางไปรษณีย์ องค์การไปรษณีย์ จึงได้ทำความตกลงกับบริษัท SureBeam ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ Titan Corp. ในการขอใช้บริการเครื่องเร่งอนุภาคเชิงเส้น (linear accelerator) สำหรับผลิตอิเล็กตรอนพลังงานสูง เพื่อใช้ในการฉายรังสีฆ่าสปอร์ของเชื้อแอนแทรกซ์ อย่างที่เราทราบกัน ว่ามีการใช้รังสีในการเปลี่ยนสีของพลอยบางชนิด ซึ่งพัฒนาการในเรื่องนี้ มีผลกระทบเป็นอย่างมากต่ออุตสาหกรรมอัญมณี และลูกค้าที่เป็นประชาชนทั่วไป สถาบันอัญมณีแห่งสหรัฐอเมริกา (GIA) จึงได้ตกลงที่จะทำการทดสอบ ผลของการฉายรังสีต่ออัญมณีที่ส่งในไปรษณีย์ภัณฑ์ |
||||||||||||||||||||||||||||||
กระบวนการทดลอง
โฆษกของบริษัท SureBeam ได้แถลงว่า รังสีที่ใช้ในงานของการไปรษณีย์ มีปริมาณ 56 กิโลเกรย์ (เท่ากับ 5.6 megarads) ข้อมูลนี้ได้รับการยืนยันจาก Laura Smith ผู้จัดการฝ่ายควบคุมคุณภาพของบริษัท Titan Scan Technologies บริษัทลูกอีกแห่งหนึ่งของ Titan Corp. ซึ่งได้ทำการทดสอบให้ชม ภายใต้สภาวะเดียวกันกับที่องค์การไปรษณีย์ใช้อยู่ ในการทดสอบนี้ เราได้เลือกพลอยชนิดที่ทราบแล้วว่าจะเกิดผลจากการได้รับรังสี ซึ่งประกอบด้วย มุกเลี้ยง 2 ชนิด กับอัญมณีธรรมชาติอีก 9 ชนิด (เพชร คุนไซต์ มอร์แกไนต์ ควอร์ตซ์ แซฟไฟร์ โทแพซ ทัวมาลีน และเซอร์คอน) โดยมีขนาดต่างๆ กันจำนวน 16 ชุด นอกจากนั้น ได้เพิ่มแหวนทอง 14k เพื่อเพิ่มความมั่นใจกับภาคอุตสาหกรรมว่า ทองจะไม่มีรังสีตกค้างจากกระบวนการนี้ การทดลองได้แบ่งอัญมณีออกเป็น 3 ชุด บรรจุใส่กล่องลักษณะเดียวกัน แบบเดียวกับที่ GIA Gem Trade Laboratory ใช้ในการส่งอัญมณีเป็นประจำ เนื่องจากอัญมณีแต่ละชุด มักจะมีการขนส่งมากกว่า 1 ครั้ง (ส่งออกไปลงทะเบียน ส่งกลับหรือส่งต่อไปขึ้นตัวเรือน แล้วส่งกลับคืน เป็นต้น) อัญมณีชุดที่หนึ่ง จึงให้มีการฉายรังสี 1 ครั้ง ชุดที่สองฉายรังสี 2 ครั้ง และชุดที่สามฉายรังสี 4 ครั้ง เพื่อทดสอบความแตกต่างของผลของรังสีสะสม จากการฉายรังสีหลายครั้ง อัญมณีแต่ละกล่อง มีจำนวนเท่ากัน ยกเว้นชุดที่ฉายรังสี 4 ครั้ง ที่มีปริมาณมากกว่า เนื่องจากได้เพิ่มเพชรสีเทาลงไปด้วย เพื่อยืนยันว่าไม่มีกัมมันตภาพรังสีตกค้าง ดังเช่นที่ตรวจวัดได้จากการฉายรังสีเพชรสีดำ |
||||||||||||||||||||||||||||||
ผลการทดลอง
หลังจากได้รับตัวอย่างกลับคืน ได้มีการวัดปริมาณรังสีด้วยเครื่องวัดรังสี (Victoreen model 290 radiation survey meter) โดยยังไม่ได้มีการเปิดหีบห่อในแต่ละชุดออก ซึ่งพบว่า ไม่มีรังสีตกค้างในทุกชุด แซฟไฟร์ และซิทรีน ก่อนและหลังการฉายรังสี มีสีแตกต่างกัน ดังตัวอย่างในรูป ตัวอย่างส่วนใหญ่ที่ทำการทดลอง จะมีสีที่เปลี่ยนแปลงแตกต่างกัน ในกล่องที่ผ่านการสแกน 1 ครั้ง กับ การสแกน 4 ครั้ง ตัวอย่างเช่น ควอร์ตซ์ที่ใสไม่มีสี 3 ชุด กล่องที่ 1 ผ่านการสแกนครั้งเดียว มีสีน้ำตาลอ่อน กล่องที่ 2 ผ่านการสแกน 2 ครั้ง มีสีน้ำตาลเข้ม ส่วนกล่องที่ 3 ผ่านการสแกน 4 ครั้ง มีสีดำ สำหรับอัญมณีชนิดอื่น ยังสังเกตความสัมพันธ์ของจำนวนครั้ง ในการสแกน กับการเปลี่ยนแปลงของสี ได้ไม่ชัดเจนเท่าควอร์ตซ์ |
||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||
สิ่งที่จะทำต่อไป
บริการไปรษณีย์ไม่ได้มีการสแกนพัสดุทุกชิ้น แต่จะสุ่มทำเพียงส่วนน้อย โดยเฉพาะกับจดหมายและซองที่ไม่หนา ซึ่ง John Dunlap ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาและควบคุมวัสดุ ของ USPS Engineering Group ซึ่งรับผิดชอบในปฏิบัติการ oversees mail sanitization operations ได้กล่าวว่า “อาจจะไม่มีการสแกนกับพัสดุลงทะเบียน หรือมีใบรับรอง (อาจเสนอให้ใช้กับอุตสาหกรรมอัญมณี) ดังนั้น เราจึงต้องการข้อมูลจากผู้ส่ง” ส่วนผู้จัดส่งพัสดุไปรษณีย์รายอื่น ไม่เห็นด้วยกับการที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายและเวลาในการสแกนไปรษณีย์ภัณฑ์ทุกชิ้น จากการสอบถาม หน่วยงานด้านศุลกากร (U.S. Customs Service) บริษัทที่ขนส่งพัสดุไปรษณีย์ Brinks, Malca Amit, UPS และ FedEx ทั้งหมดไม่มีการใช้รังสี และยังไม่มีแผนการที่จะนำมาใช้ แต่เรื่องนี้ก็ยังมีความสำคัญต่อการค้าและสาธารณชน จึงควรให้ความระมัดระวัง ว่าอัญมณีอาจจะได้รับผลจากกระบวนการฆ่าเชื้อ โดยพยายามจัดส่งพัสดุ ด้วยวิธีการที่คาดว่าจะไม่ผ่านกระบวนการเหล่านี้ หมายเหตุ ตัวอย่างที่ทำการทดลองบางส่วนมีการเปลี่ยนแปลงของสีที่ไม่ถาวร สีเหล่านี้จะซีดจางลงเมื่อได้รับแสงสว่าง ทำให้กลับคืนเป็นสีเดิม บางส่วนกลับคืนสีเดิมเมื่อได้รับความร้อน ขณะที่บางส่วนไม่กลับเป็นสีเดิม อัญมณีชนิดอื่น อาจจะเกิดผลลักษณะเดียวกันนี้ แต่อัญมณีชนิดเดียวกันกับที่ทำการทดลองนี้ อาจจะให้ผลที่ไม่เหมือนกัน ถ้ามาจากแหล่งที่ต่างกัน หรือมีโครงสร้างหรือองค์ประกอบทางเคมีที่ต่างกัน ตัวอย่างเช่นที่ Dr. George Rossman จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนีย (California Institute of Technology) เห็นว่า blue sapphires จาก basaltic deposits เช่นที่มาจากประเทศไทย และออสเตรเลีย มีการเปลี่ยนสีน้อยกว่า เราเห็นด้วยเช่นกันว่า อัญมณีบางชนิด เช่น ทับทิมและหยก จะเกิดผลน้อยกว่าเมื่อได้รับรังสีที่เท่ากัน ในลำดับต่อไปของการทดลอง เราหวังที่จะได้รับคำตอบเหล่านี้และอีกหลายคำถาม ที่จะมีผลกระทบกับอุตสาหกรรมอัญมณี |
||||||||||||||||||||||||||||||
ตาราง แสดงผลของการฉายรังสีไปรษณีย์ภัณฑ์ต่ออัญมณี
|
||||||||||||||||||||||||||||||
ถอดความจาก Postal Service Irradiation Process May Affect Some Gems โดย Shane F. McClure, Thomas M. Moses และ John I. Koivula GIA Gem Trade Laboratory เวบไซต์: www.professionjeweller.com |