การใช้รังสีในทางการเกษตร

การใช้รังสีในทางการเกษตร

ดร.สมพร จองคำ และ อารีรัตน์ คอนดวงแก้ว
ประเทศไทย เป็นประเทศที่มีการเกษตร เป็นอาชีพหลักของประชากร โครงการใช้ประโยชน์ จากเทคโนโลยีนิวเคลียร์ เพื่อส่งเสริม กิจการเกษตร เป็นต้นว่า การเพิ่มผลผลิต การเพิ่มคุณภาพ และการรักษาสิ่งแวดล้อม กำลังได้รับความนิยมแพร่หลาย ไปสู่ชนบทมากขึ้นทั่วประเทศ
การปรับปรุงพันธุ์พืช โดยการกลายพันธุ์ (Mutation Breeding) ในประเทศไทยเรา ได้ใช้รังสีแกมมาจากโคบอลต์-60 ปรับปรุงพันธุ์พืช ให้ได้พันธุ์ใหม่ พันธุ์พืชที่มีชื่อเสียงในปัจจุบันมากกว่า 10 ชนิด คือ ข้าวพันธุ์ กข6, กข10, กข15 ถั่วเหลืองพันธุ์ดอยคำ เก๊กฮวย KU1 คาร์เนชั่น (ชัยชุมพล) เบญจมาศ พันธุ์ golden cremon และกล้วยหอมทอง KU1 (กรมวิชาการเกษตร และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) การกำจัดแมลงศัตรูพืชโดยการทำหมัน (Sterile Insect Technique) แมลงวันผลไม้ บนดอยอ่างขาง เชียงใหม่ (โดยสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตร)
การถนอมอาหาร (Food Preservation) โดยศูนย์ฉายรังสีอาหาร และผลิตผลการเกษตร ของสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ได้ให้บริการ แก่ผู้ผลิตและจำหน่าย อาหารและผลิตผลทางการเกษตร ดังนี้

ก) ยับยั้งการงอก : มันฝรั่ง, หอมใหญ่, กระเทียม, ขิง
ข) ชะลอการสุก : มะม่วง, มะละกอ
ค) ชะลอการบาน : เห็ด
ง) ทำลายพยาธิ : เนื้อหมู, แหนม
จ) ลดบักเตรีและเชื้อรา : ปลาสด, เนื้อสด, กุ้งแช่แข็ง, เครื่องเทศ
ฉ) ควบคุมแมลง : ข้าว, ถั่วเขียว, ผลไม้แห้ง, ปลาแห้ง, มะขามหวาน

การใช้เทคนิครังสี เพื่อขยายพันธุ์สัตว์ และการเพิ่มอาหารผม อาหารเนื้อในโคและกระบือ การใช้เทคนิค ด้านอุทกวิทยา ในการเสาะหาแหล่งน้ำใต้ดิน สำหรับการเกษตร การใช้เทคนิคนิวเคลียร์ วิเคราะห์ดิน เพื่อจำแนกพื้นที่เพาะปลูก ทำให้ทราบว่า พื้นที่ศึกษา มีความเหมาะสม ต่อการปลูกพืชชนิดใด ควรเพิ่มปุ๋ยชนิดใดลงไป การใช้เทคนิคสะกดรอยด้วยรังสี ใช้ศึกษาเกี่ยวกับการดูดซึมธาตุ และปุ๋ยของต้นไม้ และพืชเศรษฐกิจต่างๆ เพื่อการปรับปรุง การให้น้ำ และปุ๋ย อย่างมีประสิทธิภาพ
ข่าวสารเพิ่มเติม