2 ตุลาคม 2499
|
มีการเปิดตัวนาฬิกาปรมาณู (Atomic clock) เรือนแรกชื่อ Atomicron ที่ Overseas Press Club กรุงนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา |
2 ตุลาคม 2485
|
มีการสาธิต การเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์แบบต่อเนื่อง ได้เป็นครั้งแรกที่เมืองชิคาโก สหรัฐอเมริกา |
2 ตุลาคม 2479
|
มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงแอลกอฮอล์เครื่องแรก ที่เมือง Atchison มลรัฐ Kansas สหรัฐอเมริกา |
3 ตุลาคม 2495
|
อังกฤษ ทดลองระเบิดปรมณูลูกแรก ชื่อ เฮอริเคน (Hurricane) ที่ Monte Bello ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเป็นประเทศที่ 3 ในโลกที่ได้ทำการทดลอง โดยใช้เชื้อเพลิงเป็นพลูโตเนียม เช่นเดียวกับ Fatman ของสหรัฐ เชื้อเพลิงพลูโตเนียม ผลิตในประเทศอังกฤษ ที่เมือง Windscale (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น Sellafield) โดยเฮอริเคนถูกวางอยู่ในลำเรือที่จอดอยู่ที่ความลึก 40 ฟุต ห่างจากฝั่ง 400 หลา การระเบิดเกิดขึ้นที่ความลึก 9 ฟุต จากผิวน้ำ แรงระเบิดทำให้เกิดหลุมลึก ที่ก้นทะเลขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1,000 ฟุต ลึก 20 ฟุต |
4 ตุลาคม 2500
|
เริ่มยุคอวกาศของโซเวียต และทำให้เกิดความกลัวขึ้นในอเมริกา เมื่อโซเวียตส่งยานอวกาศลำแรกชื่อ สปุตนิค (Sputnik) จากคาซัคสถาน (Kazakhstan) ขึ้นสู่วงโคจรรอบโลก โดยใช้เวลา 95 นาที ในการโคจรหนึ่งรอบ หรือ 2,000 ไมล์ต่อชั่วโมง ที่ความสูง 500 ไมล์ จากพื้นโลก ยานสปุตนิคใช้เวลาอยู่บนอวกาศนาน 3 เดือน ก่อนจะตกลงสู่พื้นโลก เมื่อวันที่ 4 มกราคม2501 |
4 ตุลาคม 2477
|
Enrico Fermi ทำการวัดความเร็วของนิวตรอนออกมาได้ |
9 ตุลาคม 2518
|
Andrei Sakharov บิดาแห่งระเบิดไฮโดรเจนของโซเวียต เป็นนักวิทยาศาสตร์โซเวียตคนแรก ที่ได้รับรางวัลโนเบล ในข้อเขียนที่ไม่เห็นด้วย กับรัฐบาลโซเวียต โดยในปี 2500 เขาได้เขียนบทความแสดงถึงผลกระทบของรังสีระดับต่ำ คณะกรรมการรางวัลโนเบล ได้ยกย่องให้เขาเป็น ผู้ที่มีความรับผิดชอบต่อมนุษยชาติ ขณะที่รัฐบาลโซเวียต ไม่อนุญาตให้เขาไปรับรางวัลโนเบล ที่ประเทศนอร์เวย์ |
10 ตุลาคม 2506
|
มีการตกลงทำสนธิสัญญา จำกัดการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ the Limited Nuclear Test Ban Treaty (LTBT) โดยรัฐบาล อังกฤษ อเมริกา และโซเวียต ซึ่งมีการห้ามการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ ในบรรยากาศ ในอวกาศ และใต้ทะเล |
13 ตุลาคม 2528
|
ห้องปฏิบัติการ Fermi National Accelerator Laboratory มลรัฐ Illinois ได้ตรวจพบปฏิกิริยาการชนของ proton-antiproton เป็นครั้งแรก โดยใช้ the Collider Detector ของ Fermilab (CDF) โดยใช้เครื่องเร่งอนุภาคขนาด 1.6 TeV ซึ่งสามารถตรวจวัดได้ 23 ครั้ง ในปี 2528 เครื่อง Tevatron ที่ใมีความยาว 4 ไมล์ เป็นเครื่องเร่งอนุภาค ที่มีพลังงานสูงที่สุดในโลก ใช้เครื่องทำความเย็นขนาดใหญ่ที่สุด ในตอนที่เริ่มเดินเครื่องในปี 2526 โดยใช้ superconducting magnets 1,000 ชุด ทำความเย็นด้วยฮีเลียมเหลวที่มีอุณหภูมิ-268 องศาเซลเซียส |
17 ตุลาคม 2499
|
พระราชินีนาถของประเทศอังกฤษ ได้ทรงทำพิธีเปิดการเดินเครื่อง โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เครื่องแรกของอังกฤษ ที่ Calder Hall ต่อหน้าฝูงชนนับพัน นักวิทยาศาสตร์ และผู้แทนจาก 40 ประเทศ ที่เข้าร่วมงาน โรงไฟฟ้าโรงนี้ปิดตัวลง เมื่อวันี่ 31 มีนาคม 2546 |
17 ตุลาคม 2498
|
มีการค้นพบอนุภาคภายในอะตอม ซึ่งเป็นโปรตอนประจุลบ (negative proton) หรือ antiproton ที่ U.C. Berkeley |
23 ตุลาคม 2346
|
จอห์น ดาลตัน (John Dalton) เขียนบทความรื่องการดูดกลืนกาซของน้ำ ทำให้เขาสามารถได้ข้อสรุป น้ำหนักของธาตุและสารประกอบออกได้ 21 ชนิด |
25 ตุลาคม 2505
|
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์โรงแรกของเบลเยียม ชื่อ BR-3 เริ่มเดินเครื่องอย่างเป็นทางการ ซึ่ง BR-3 นี้เป็นโรงไฟฟ้าชนิด Pressurized Water Reactor เครื่องแรกของยุโรป BR-3 หยุดการเดินเครื่องเมื่อ 30 มกราคม 2530 เนื่องจากใบอนุญาตของบริษัท Westinghouse หมดอายุ BR-1 เป็นเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัย เดินเครื่อง เมื่อปี 2499 ด้วยกำลัง 4 MW ขณะที่BR-2 เป็นเครื่องปฏิกรณ์สำหรับทดสอบวัสดุ เริ่มเดินเครื่องเมื่อปี 2506 ด้วยกำลัง 80 MW ปัจจุบันประเทศเบลเยียมใช้ไฟฟ้า 55% จากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 7 โรง ให้กำลังไฟฟ้า 44 TWh |
27 ตุลาคม 2505
|
ประเทศไทย เริ่มมีเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู เพื่อทำการวิจัยเป็นครั้งแรก โดยคณะรัฐมนตรี อนุมัติให้คณะกรรมการ ทำสัญญา ว่าจ้างการก่อสร้าง อาคารเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูในพ.ศ.2503 จนกระทั่งแล้วเสร็จ และเดินเครื่องเข้าสู่ภาวะวิกฤติเป็นครั้งแรก เมื่อเวลา 18.32 น. ของวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2505 โดยมีชื่อเป็นทางการว่า “เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัย-1” หรือชื่อย่อว่า “ปปว.-1” ต่อมาเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2520 ได้ทำการเปลี่ยนแปลง แกนเครื่องปฏิกรณ์ฯ ใหม่ จึงมีชื่อใหม่ว่า “เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัย-1 ปรับปรุงครั้งที่ 1” ชื่อย่อว่า “ปปว-1/1” หรือชื่อสากลว่า “Thai Research Reactor-1/Modification 1” ชื่อย่อสากลว่าTRR-1/M1 |
28 ตุลาคม 2489
|
พลเรือน 5 คน ได้รับแต่งตั้งจากประธานาธิบดีทรูแมน ให้เป็นคณะกรรมการพลังงานปรมาณู ตามกฎหมายพลังงานปรมาณูของสหรัฐอเมริกา ทำให้มีการพัฒนา และการใช้ประโยชน์จากพลังงานปรมาณู ในการปรับปรุงคุณภาพชีวิต ยกระดับมาตรฐานการดำรงชีวิต เปิดโอกาสให้มีการแข่งขันในภาคเอกชน และส่งเสริมสันติภาพของโลก โดยมีการประชุมครั้งแรก เมื่อ 13 พฤศจิกายน 2489 แม้ว่าจะได้รับการรับรองจากสภาในภายหลัง มื่อ 9 เมษายน 2490 ประธานคนแรกคือ David Eli Lilienthal |
30 ตุลาคม 2504
|
สหภาพโซเวียต ทดลองระเบิดไฮโดรเจนขนาด 58 เมกกะตัน ที่ Novaya Zemlya ซึ่งเป็นระเบิดนิวเคลียร์ขนาดใหญ่ที่สุด เท่าที่เคยทดลองมา |