วุฒิสภาสหรัฐฯ สนับสนุนร่างกฎหมาย
|
||
คณะกรรมาธิการวุฒิสภาด้านสิ่งแวดล้อมและงานโยธา (Senate Environment and Public Works Committee) ได้ให้ความเห็นชอบ ต่อมาตรการ ที่เสนอโดยประธานคณะกรรมาธิการฯ คือ วุฒิสมาชิก James M. Jeffords (I-Vt.) ที่กำหนดว่า ภายใน 6 ปี จะบังคับโรงไฟฟ้าทั่วสหรัฐฯ ลดการปล่อยกาซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และไนโตรเจนออกไซด์ลง 75 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ จะลดการปล่อยกาซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นต้นเหตุ ปรากฎการณ์เรือนกระจกลง 24 เปอร์เซ็นต์ และลดการปล่อยโลหะหนักปรอท ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตในวัยเยาว์ ตลอดจนการเจ็บป่วยทางเดินหายใจ และหมอกควันลง 90 เปอร์เซ็นต์ ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีบุช เสนอข้อเสนอทางเลือก ในการจัดการมลพิษทางอากาศ ที่เรียกว่า Clean Skies Intiative ซึ่งเสนอให้ลดการปล่อยกาซไนโตรเจนออกไซด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และปรอท แต่ไม่ครอบคลุมถึงกาซคาร์บอนไดออกไซด์ เนื่องจากสหรัฐฯ ไม่เห็นด้วยกับพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ซึ่งกำหนดปริมาณการปล่อยกาซคาร์บอนไดออกไซด์ และกาซเรือนกระจกอื่นๆ สำหรับประเทศพัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐฯ ซึ่งประธานาธิบดีบุชเห็นว่า มาตรการดังกล่าว จะกระทบรุนแรง ต่อเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และวิถีการดำเนินชีวิตของประชาชนสหรัฐฯ ในทางกลับกัน ประธานาธิบดีบุช เสนอหามาตรการทางเลือกอื่นๆ เพื่อเป็นแรงจูงใจ ให้มีการดำเนินการลดกาซเรือนกระจกโดยสมัครใจ (Voluntary) โดยอาศัยมาตรการทางการตลาด และเทคโนโลยีบำบัดมลพิษเป็นจุดดึงดูด |
||
|
||
อย่างไรก็ตาม มาตรการตามข้อเสนอของประธานาธิบดีบุช โดยเฉพาะการโดดเดี่ยวตนเอง จากสังคมโลก ที่กำลังพยายามต่อกรปัญหาอุณหภูมิโลกสูงขึ้น (Global Warming) ได้รับการวิพากวิจารณ์จากวุมิสมาชิก James M. Feffords และองค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมของสหรัฐฯ
ขณะเดียวกัน ประธานคณะกรรมาธิการฯ ได้ขยายเวลาให้องค์กรพิทักษ์สิ่งแวดล้อมสหรัฐฯ เพื่อให้ปฏิบัติตามคำร้องขอ ของกรรมาธิการ เกี่ยวกับข้อมูล และเอกสาร ตลอดจน E-mail ที่ทำให้องค์กรฯ ตัดสินใจ ที่จะลดหย่อนการปล่อยมลพิษให้โรงไฟฟ้าถ่านหินรุ่นเก่า เท่าที่ผ่านมา ประธานคณะกรรมาธิการได้ขู่ที่จะใช้หมายเรียก (Subpoena) ทางการ เนื่องจากมิได้รับการตอบสนองจนเมื่อเร็วๆนี้จึงมีแนวโน้มที่ดี |
||
( ที่มา : The Washington Post, June 28, 2002 ) |