การศึกษามลพิษจากโรงไฟฟ้าในสหรัฐฯ

การศึกษามลพิษจากโรงไฟฟ้าในสหรัฐฯ

กลุ่มนักสิ่งแวดล้อมในสหรัฐฯ ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจาก Rochefeller Family Fund of New York เปิดเผยถึงรายงานการศึกษา เกี่ยวกับมลพิษทางอากาศ ที่ปล่อยจากโรงไฟฟ้าของ 8 บริษัท ด้านพลังงานในสหรัฐฯ ซึ่งปัจจุบัน ยังไม่สามารถดำเนินการ ให้เป็นไปตามกฎหมาย Clean Air Act ได้ว่า โรงไฟฟ้าเหล่านี้ จะมีส่วนทำให้ประชาชนเสียชีวิตก่อนวัยอันควร กว่า 6,000 ราย และอีก 10,000 ราย จะเจ็บป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ

จากการใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ โดยตั้งข้อสมมุติฐานว่า โรงไฟฟ้าดังกล่าว ได้ดำเนินการตามกฎหมายที่มีอยู่ทุกอย่าง ทั้งในส่วนการลดฝนกรด และลดหมอกควันแล้ว ปรากฏว่า สามารถคาดการณ์ว่า ทุกๆ ปี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2007 ผู้ใหญ่ประมาณ 5,900 คน จะเสียชีวิตก่อนวัยอันควร จากสาเหตุกาซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และไนโตรเจนออกไซด์ ซึ่งปล่อยออกจากโรงไฟฟ้า ทั้งหมด 84 โรง ซึ่งดำเนินการโดย 8 บริษัท การศึกษาดังกล่าว ยังคาดการณ์ว่า มลพิษที่ปล่อยจากโรงไฟฟ้าดังกล่าว ซึ่งอยู่หนาแน่นในบริเวณภาคตะวันตกตอนกลาง และภาคใต้ของสหรัฐฯ จะก่อให้เกิดโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง (Chronic Brochitis) ในประชาชน ประมาณ 4,300 รายต่อปี และอีก 160,000 ราย เป็นโรคเกี่ยวกับระบบหายใจส่วนบน (Upper Respiratory System) และโรคหืดอีกกว่า 140,000 ราย สิ่งนี้ทำให้ชาวอเมริกัน สูญเสียเวลาในการทำงานไป 1.2 ล้านวันใน 1 ปี เนื่องจากปัญหาสุขภาพดังกล่าว

ในด้านกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงาน นำโดยสภาบัน Edison Electric และ Electric Reliability Coordiinating Council ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนกลุ่มโรงไฟฟ้ากล่าวว่า บริษัทผลิตพลังงานต่างๆ ให้ความสนใจอย่างยิ่ง เกี่ยวกับผลการศึกษาดังกล่าว ของกลุ่มสิ่งแวดล้อม ที่ว่ามลพิษจากอากาศ เป็นสาเหตุให้มีการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร แต่ยังไม่หายแคลงใจ ในประเด็นวิธีการที่ใช้ศึกษา นอกจากนี้ จากการศึกษาอื่นๆ ยังเคยกล่าวถึงสาเหตุ ว่าอาจมาจากตัวประกอบอิ่นๆ เช่น อากาศเสียที่ปล่อยจากรถยนต์ และรถบรรทุก เป็นต้น ดังนั้น เห็นว่าการด่วนสรุปผลการศึกษาดังกล่าว ไม่ถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง

กลุ่มบริษัทโรงไฟฟ้า 8 แห่ง ได้แก่ Southern Co., SEP, Cinergy, The Tennessee Valle Authority, Southern Indiana Gas and Electric Co. (SIGECO), First Energy, Dynergy Inc. และ Duck Power ซึ่งปัจจุบัน ตกเป็นจำเลย ในสมัยประธานาธิบดีคลินตัน เนื่องจากมีการปรับปรุงโรงไฟฟ้าในกลุ่ม เพื่อยืดอายุการใช้งาน แต่เป็นการเพิ่มการปล่อยมลพิษทางอากาศ โดยไม่มีการติดตั้งระบบบำบัดมลพิษต่างๆ ตามที่กำหนดโดย Clean Air Act จากการศึกษาพบว่า มลรัฐที่จะได้รับผลกระทบ ได้แก่ อลาบามา, ฟลอริดา, จอร์เจีย, เคนตั๊กกี้, เทนเนสซี, เพนซิลวาเนีย, มิชิแกน, โอไฮโอ และนิวยอร์ก ทั้งนี้ อัตราการเสียชีวิตในมลรัฐเวอร์จิเนีย, แมรี่แลนด์ และวอชิงตัน จะเป็น 230, 170 และ 20 รายต่อปี ตามลำดับ

ผลการศึกษาดังกล่าว ออกมาในขณะที่ ประธานาธิบดีบุช เสนอการเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินการเกี่ยวกับ Clean Air Act โดยมุ่งหมายที่จะลดคดีการฟ้องร้อง ในขณะที่สนับสนุนร่างกฎหมาย Clear Skies เพื่อให้อุตสาหกรรม หันมาลดสารพิษทางอากาศลงกว่า 70 เปอร์เซนต์ โดยอาศัยมาตรการแนว Market-based Approach แทนการบังคับ ให้บริษัทติดตั้งระบบบำบัดที่มีราคาแพง อย่างไรก็ตาม ร่างกฎหมายใหม่นี้ เผชิญกับการคัดค้านจากรัฐสภาสหรัฐฯ

( ที่มา : The Washington Post, / Tuesday, April 8, 2002 )
ข่าวสารเพิ่มเติม