อาหารฉายรังสี (Food Irradiation) |
||||||||||||||||
อาหารฉายรังสีคืออะไร? รังสีมีนิยามทั่วไปว่า เป็นพลังงานที่เคลื่อนที่ไปในรูปของคลื่นที่เรามองไม่เห็น รังสีแต่ละชนิด มีพลังงานและความยาวคลื่นที่แตกต่างกัน คลื่นแสง คลื่นความร้อน และไมโครเวฟ ที่เราใช้ในการประกอบอาหาร ต่างก็เป็นรูปแบบหนึ่งของรังสี รวมทั้งคลื่นที่เป็นตัวพาสัญญาณวิทยุและโทรทัศน์ มายังบ้านของเรา รังสีที่ใช้ในงานถนอมอาหาร เป็นรังสีแบบที่ทำให้เกิดการไอออไนซ์ (ionizing radiation) รังสีที่มีคลื่นสั้นชนิดนี้ สามารถทำลายจุลินทรีย์ ที่ปนเปื้อนมากับอาหาร ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสื่อมคุณภาพ หรือการเน่าเสีย จากการสูญเสียอาหารที่ใช้บริโภค ในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก เนื่องจากการเน่าเสียและการกัดกินของแมลง นักวิทยาศาสตร์จึงได้ทำการทดลอง หาวิธีการถนอมอาหาร ด้วยการฉายรังสีตั้งแต่ปี 1950 และได้พบว่า การฉายรังสี สามารถควบคุมการสูญเสียเหล่านี้ได้ดี การฉายรังสีสามารถเทียบได้กับการพาสเจอไรซ์ เช่นเดียวกับการพาสเจอไรซ์น้ำนม กระบวนการฉายรังสี สามารถลดจำนวนแบคทีเรียลง โดยไม่ได้กำจัดให้หมดไป เนื้อสัตว์ปีกที่ผ่านการฉายรังสี ยังต้องเก็บไว้ในตู้เย็น แต่สามารถเก็บไว้ได้นานมากขึ้น สตรอเบอรีฉายรังสี สามารถเก็บไว้ในตู้เย็นได้นาน 2-3 สัปดาห์ ขณะที่เก็บไว้ได้เพียงไม่กี่วัน ถ้าไม่ได้ฉายรังสี |
||||||||||||||||
|
||||||||||||||||
สิ่งที่มีความจำเป็น 2 อย่างในกระบวนการฉายรังสี
ต้นกำเนิดรังสีและวิธีการควบคุมพลังงานของรังสี ในกระบวนการฉายรังสีอาหารนั้น ใช้ต้นกำเนิดแบบไอโซโทปรังสี (วัสดุกัมมันตรังสี) โดยมีอุปกรณ์และเครื่องมือ ในการควบคุมทิศทางและขนาดของลำรังสี เกิดอะไรขึ้นเมื่ออาหารได้รับการฉายรังสี? การฉายรังสี เรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า กระบวนการแบบเย็น (cold process) เนื่องจากไม่จำเป็นต้องมีการเพิ่มอุณหภูมิ หรือการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของอาหาร ตัวอย่างเช่น แอปเปิ้ลฉายรังสี จะยังคงมีชุ่มฉ่ำและความกรอบอยู่เหมือนเดิม เนื้อสดและเนื้อแช่แข็ง สามารถนำมาฉายรังสีได้ โดยไม่จำเป็นต้องทำให้สุก ขณะที่ฉายรังสี คลื่นพลังงานสูง จะไปทำลายเชื้อจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการ โดยไม่มีรังสีตกค้างอยู่ในอาหาร เช่นเดียวกับที่ การปรุงอาหารด้วยไมโครเวฟ หรือการถ่ายภาพด้วยรังสีเอกซ์ ฟันและกระดูกของเราที่ไม่มีรังสีตกค้างอยู่ อาหารชนิดไหนที่นำมาฉายรังสี ? การฉายรังสีอาหารได้รับการับรองจากประเทศต่างๆ กว่า 37 ประเทศ แต่ยังคงมีปริมาณการใช้ไม่มากนัก เนื่องจากยังมีปัญหาในการยอมรับของผู้บริโภค และการก่อสร้างโรงงานฉายรังสีต้องใช้การลงทุนสูง ในสหรัฐอเมริกา องค์การอาหารและยา หรือ FDA (Food and Drug Administration) ได้รับรองว่าการฉายรังสี สามารถกำจัดแมลงจากข้างสาลี มะเขือเทศ แป้งสาลี เครื่องเทศ ชา พืชผักและผลไม้ การฉายรังสีสามารถใช้ในการควบคุมการงอกและการสุกของผลิตผลทางการเกษตร ในปี 1985 ได้มีการรับรองว่า การฉายรังสีสามารถทำลายพยาธิ trichinosis ในเนื้อหมูได้ มีการรับรองในเดือนเมษายน ปี 1990 ว่าวิธีการฉายรังสีสามารถใช้ในการควบคุมเชื้อ Salmonella และเชื้อแบคทีเรียที่เป็นอันตรายชนิดอื่น ในเนื้อไก่ ไก่งวง และเนื้อสัตว์ปีกรชนิดอื่นทั้งแบบสดและแช่แข็ง |
||||||||||||||||
|
||||||||||||||||
|
||||||||||||||||
ถอดความจาก Ten Most Commonly Asked Questions About Food Irradiation Food Fact Safety Sheet เวบไซต์ www.umich.edu |