โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
เครื่องปฏิกรณ์ที่อยู่ในแผนการก่อสร้างส่วนใหญ่อยู่ในแถบประเทศเอเชีย ซึ่งมีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงและมีความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ประเทศที่มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อยู่แล้วอย่างน้อย 10 ประเทศ ได้แก่ บัลกาเรีย, แคนาดา, ฝรั่งเศส, รัสเซีย, จีน, อินเดีย, ปากีสถาน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้ และแอฟริกาใต้ มีแผนที่จะสร้างเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ใหม่เพิ่มขึ้น โดยในปัจจุบัน บางแห่งอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง
มีเครื่องปฏิกรณ์ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่มีแผนการก่อสร้างทั้งหมดประมาณ 35 เครื่อง เป็นกำลังในการผลิตไฟฟ้าประมาณ 40,000 MWe และมีการยื่นข้อเสนอในการก่อสร้างอีกด้วยจำนวนที่ใกล้เคียงกัน การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันและภาวะเรือนกระจก ที่เกิดจากการใช้ถ่านหิน มีส่วนในการผลักดันให้พลังงานนิวเคลียร์ กลับเข้าสู่วาระของโครงการในการเพิ่มกำลังการผลิตใหม่ ทั้งในยุโรปและอเมริกาเหนือ
ในสหรัฐอเมริกามีคำขอในการก่อสร้างเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ใหม่มากกว่า 20 เครื่อง โดยใบอนุญาตในการก่อสร้างและเดินเครื่องเหล่านี้จะได้รับอนุมัติในปี 2007 โดยทั้งหมดเป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์รุ่นที่สาม ที่เหลืออีก 2 เครื่องเป็นเครื่องปฏิกรณ์ฯ แบบ ABWR
ปัจจุบันฟินแลนด์อยู่ระหว่างการก่อสร้างเครื่องปฏิกรณ์เครื่องที่ 5 โดยเป็นเครื่องที่มีขนาดใหญ่มากและจะเดินเครื่องเข้าสู่ระบบในปี 2010
ในรัสเซียมีเครื่องปฏิกรณ์ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างจำนวน 5 เครื่อง ซึ่งจะเสร็จสมบูรณ์ในปี 2012 และมีแผนที่จะก่อสร้างเครื่องปฏิกรณ์อีก 5 เครื่องเพื่อทดแทนของเดิม นอกจากนั้น ยังมีแผนที่จะสร้างเครื่องปฏิกรณ์ใหม่สำหรับใช้ในปี 2020 อีก 15 เครื่อง ซึ่งจะทำให้กำลังการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานนิวเคลียร์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน 21.7 GWe เพิ่มขึ้นเป็น 50 GWe ในปี 2020 และมีแผนที่จะใช้พลังงานนิวเคลียร์ในการผลิตความร้อนอีก 5 GW
ในโปแลนด์ รัฐบาลได้อนุมัติแผนในการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบ PWR ที่มีกำลังการผลิตอย่างน้อย 2000 MWe โดยจะเริ่มการก่อสร้างในปี 2010 และจะเดินเครื่องในปี 2015 และอาจจะมีแผนที่จะเพิ่มขึ้นอีกตามโครงการอื่นของทางการ
พลังงานนิวเคลียร์ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในระบบผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสาน ทั้งในประเทศเกาหลีใต้และญี่ปุ่น
เกาหลีใต้มีแผนที่จะสร้างเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์เพิ่มขึ้นอีก 8 เครื่อง เพื่อใช้ในการเดินเครื่องในปี 2015 ซึ่งจะให้มีกำลังผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 9200 MWe เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ Ulchin 5 กับ 6 เข้าสู่ระบบผลิตไฟฟ้าในปี 2004 จากนั้นตามแผนก็จะเป็นเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ Shin-Kori-1 กับ 2 และเครื่องปฏิกรณ์ Wolsong-5 กับ 6 ซึ่ง KSNP ได้ปรับปรุงการออกแบบ ต่อจากนั้นก็จะเป็นเครื่องปฏิกรณ์ฯ แบบ Advanced PWRs ขนาด 1400 MWe ได้แก่ Shin-Kori-3 กับ 4 และ Shin-Ulchin 1 กับ 2 เครื่องปฏิกรณ์เหล่านี้เป็นแบบ APR-1400 ซึ่งเป็นระบบที่พัฒนามาจากของสหรัฐอเมริกาที่ US NRC ได้รับรองการออกแบบแล้ว เรียกว่า Korean Next-Generation Reactor ซึ่งจะมีต้นทุนการผลิต 1400 เหรียญสหรัฐต่อกิโลวัตต์ และจะลดลงเหลือ 1200 เหรียญสหรัฐต่อกิโลวัตต์ในเครื่องถัดมา ซึ่งจะใช้เวลาในการก่อสร้าง 48 เดือน
ญี่ปุ่นมีเครื่องปฏิกรณ์ที่กำลังก่อสร้างอยู่ 1 เครื่อง และอีก 1 เครื่องที่พร้อมจะเริ่มการก่อสร้าง ส่วนในแผนงาน มีการออกแบบสถานที่ก่อสร้างและกำหนดขั้นตอนเวลา (timetable) ในการก่อสร้างเครื่องปฏิกรณ์ฯ อีก 11 เครื่อง ซึ่งมีกำลังการผลิตรวมมากกว่า 13,000 MWe ตอนต้นปี 2001 โรงไฟฟ้าของ Tepco ได้ชะลอแผนการของโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงฟอสซิล 12 แห่ง และมีกำหนดที่จะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใหม่อีก 4 แห่ง
ปัจจุบัน ประเทศจีนมีการเดินเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์อยู่ 10 เครื่อง CNNC ได้ปรับเข้าสู่ระยะของโครงการพลังงานนิวเคลียร์ โดยมีการก่อสร้างเครื่องปฏิกรณ์แบบ PWRs ของรัสเซียขนาด 950 MWe จำนวน 2 เครื่อง ที่ Jiangsu Tianwan ใน Lianyungang ซึ่งใกล้เสร็จสมบูรณ์แล้ว NNC ของจีนและ Guangdong NPC กำลังก่อสร้างเครื่องปฏิกรณ์แบบของจีนเองที่ Lingdong กับ Qinshan จำนวน 4 เครื่อง และจะเริ่มสร้างอีก 4 เครื่องที่มีขนาดใหญ่กว่าเดิมที่ Sanmen กับ Yangjiang โดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มกำลังการผลิตด้วยพลังงานนิวเคลียร์ให้เพิ่มขึ้น 4 เท่าในปี 2020 ส่วนที่ใต้หวัน Taipower กำลังก่อสร้างเครื่องปฏิกรณ์แบบ advanced BWRs อีก 2 เครื่องที่ Lungmen
อินเดียมีเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่กำลังก่อสร้าง 7 เครื่อง คาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ในปี 2010 ซึ่งรวมถึงเครื่องปฏิกรณ์ขนาดใหญ่แบบรัสเซีย 2 เครื่อง และเครื่องต้นแบบของเครื่องปฏิกรณ์แบบ fast breeder reactor ซึ่งอยู่ในยุทธศาสตร์การพัฒนาเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ให้สามารถใช้เชื้อเพลิงทอเรียม (thorium )
ปากีสถานกำลังก่อสร้างเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์เครื่องที่สองขนาด 300 MWe ที่ Chasma โดยได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากจีน
คาซัคสถาน (Kazakhstan) ได้ร่วมลงทุนกับ Russia’s Atomstroyexport ในการพัฒนาและทำการตลาดเครื่องปฏิกรณ์ขนาดกลางและขนาดเล็ก โดยเริ่มที่การออกแบบเครื่องปฏิกรณ์แบบรัสเซียขนาด 300 MWe สำหรับติดตั้งที่ Kazakh
โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ของอิหร่านได้ชะงักลงตั้งแต่ปี 1979 แต่ในปี 1995 อิหร่านได้ลงนามตกลงความร่วมมือกับรัสเซีย ในการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบ PWR ขนาด 1000 MWe ที่ Bushehr การก่อสร้างได้คืบหน้าไปมากแล้ว
รัฐบาลตุรกี (Turkish) มีแผนที่จะมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 3 แห่ง มีกำลังการผลิตรวม 4500 MWe ซึ่งจะเดินเครื่องในปี 2012-15 โดยใช้เงินลงทุน 10.5 พันล้านเหรียญ
อินโดนีเซียมีแผนที่จะเริ่มการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่มีกำลังการผลิต 2000 MWe ในปี 2010
เวียดนามมีแผนที่จะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งแรกโดยคาดว่าจะอนุมัติให้เดินเครื่องในปี 2017
|