การประชุมนักวิชาการหลังการก่อการร้าย ที่นครนิวยอร์ก

การประชุมนักวิชาการหลังการก่อการร้ายที่นครนิวยอร์ก
ที่เมืองบอสตัน มลรัฐแมสซาจูเซต มีการประชุมนักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์ในเรื่องเกี่ยวกับการก่อการร้าย ที่ตึกเวิร์ลเทรด (WTC) นครนิวยอร์ก 2-3 วัน หลังจากเหตุการณ์อันเศร้าสลดนี้ โดยมีการหยิบยกประเด็นว่า หากการระเบิดนี้เป็นอาวุธนิวเคลียร์ ป่านนี้นครนิวยอร์กคงเหลือแต่ชื่อแล้ว และเป็นการแสดงให้เห็นว่าหลักการของสงครามได้เปลี่ยนแปลงโฉมโดยกฎเกณฑ์ที่ห้ามการฆาตรกรรมหมู่ (Mass Killing) ประชาชนผู้บริสุทธิ์ได้ถูกยกเลิกไป์

ปัจจุบันสหรัฐฯให้งบประมาณมากกว่า 500 ล้านเหรียญสหรัฐฯต่อปี ในการวิจัยพัฒนาเพื่อป้องกันตนเองต่อการก่อการร้ายโดยใช้อาววุธที่มีการทำลายประชาชนจำนวนมาก (Mass Destruction) งบประมาณเพิ่มจาก 240 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี ค.ศ. 1998 ซึ่งครอบคลุมการวิจัยพัฒนาในหลายสาขา ตั้งแต่การตรวจจับและวิเคราะห์ การทำแบบจำลองคณิตศาสตร์การแพร่กระจาย การป้องกันส่วนบุคคล การบำบัดรักษา วัคซีน และการกำจัดออกจากสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

อาวุธที่มีอำนาจการทำลายล้างมนุษยชาติ มีอยู่ 3 ประเภท ประเภทแรก คือ อาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งตั้งแต่ปี ค.ศ. 1992 มีการตรวจจับการลักลอบนำสารยูเรเนียม หรือพลูโตเนียมบริสุทธิ์ เข้าออกประเทศสหภาพโซเวียตได้ถึง 6 ครั้ง และไม่ทราบว่าปริมาณที่ถูกลักลอบ ไปสู่กลุ่มผู้ก่อการร้าย เป็นจำนวนเท่าใด การสร้างอาวุธ Nuclear Fission ต้องการผู้เชี่ยวชาญระดับสูง ห้องปฏิบัติการทันสมัยและงบประมาณ แม้ไม่ง่ายนัก แต่คงไม่ยากเกินไปเช่นกันสำหรับกลุ่มผู้การร้าย อาวุธประเภทที่สอง ได้แก่ อาวุธเคมี (Chemical Weapon) ซึ่งยุ่งยากด้านเทคนิคต้องใช้วิทยาศาสตร์ทางเคมี ประเภทท้ายสุด อาวุธชีวภาพ (Biological Weapon) จำพวกเชื้อฝีดาษ แอนแทรค และกาฬโรค ซึ่งมีศักยภาพทำลายมากกว่าอาวุธเคมี

สำหรับในด้านมาตรการป้องกันสำหรับสหรัฐฯเอง ปัจจุบันมีหลายงานเกี่ยวข้อง มีการเสนอแนะให้ตั้งหน่วยงานระดับ Cabinet-level เพื่อต่อกรกับการก่อการร้าย ตลอดจนสนับสนุนให้เพิ่มงบประมาณวิจัยพัฒนามากขึ้นเป็น 2 เท่า เพื่อเตรียมรับสถานการณ์ก่อการร้ายโดยใช้อาวุธทำลายล้างดังกล่าว และคาดว่าใน 25 ปีข้างหน้า ผู้ก่อการร้ายจะใช้อาวุธดังกล่าวในการโจมตี ขณะเดียวกันจากรายงานของ National Academy of Science (NAS) ในปี ค.ศ. 1998 ได้แสดงจำเป็นในการวิจัยพัฒนา เพื่อปรับปรุงการเตรียมการทางการแพทย์ฝ่ายพลเรือน (Civilian Medical Response) ต่ออาวุธเคมีและชีวภาพ โดยการเตรียมวัคซีน เพื่อต่อต้านเชื้อแอนแทรคและเชื้อฝีดาษ การจัดหาเครื่องตรวจจับและวิเคราะห์ที่สามารถพกพาได้ (Portable) และมีขนาดกระทัดรัด ตลอดจนการสื่อสารคมนาคมที่มีประสิทธิภาพกว่าเดิม ในขณะที่รายงานของ Defense Science Board (2001) เสนอให้เก็บสะสมวัคซีนและอุปกรณ์ป้องกัน เช่น หน้ากาก ตลอดจนมีระบบเตือนภัย (Early Warning System) เพื่อรายงานเหตุการณ์

นอกจากนี้นักวิชาการยังเสนอแนะว่า การวิจัยพัฒนาไม่สามารถหยุดยั้งการก่อการร้ายได้ ดังนั้นจึงต้องหาหนทางหยุดการแพร่กระจายของอาวุธและนักวิทยาศาสตร์ที่ร่วมพัฒนาอาวุธเหล่านั้น

(ที่มา : Science, Volume 293, No. 5538, September 21, 2001)

ข่าวสารเพิ่มเติม