วันที่ 20 กันยายน 2565 การสัมมนาย่อยหัวข้อ “SMR Technology for Carbon Neutrality, Security and Sustainable Energy of Thailand”

การสัมมนาย่อยหัวข้อ:
“SMR Technology for Carbon Neutrality, Security and Sustainable Energy of Thailand”

วันที่ 20 กันยายน 2565 ดร.ปานทิพย์ อัมพรรัตน์ กอญ. ปส. ดร.นทีกูล เกรียงชัยพร กฟผ. รศ.ดร.สัญชัย นิลสุวรรณโฆษิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ดร.อุษา กัลลประวิทย์ กพป. กพม. ปส. ร่วมเป็นวิทยากรในการสัมมนาย่อยหัวข้อ “SMR Technology for Carbon Neutrality, Security and Sustainable Energy of Thailand” จัดโดย กระทรวงพลังงานร่วมกับสมาคมนิวเคลียร์แห่งประเทศไทย ในงาน SETA2022, Solar+Storage Asia2022 และงาน Enlit Asia2022 ณ BITEC CONVENTION CENTER งานดังกล่าวเป็นการประชุมผู้นำด้านพลังงานระดับสูงในระดับผู้กำหนดและวางแผนนโยบายจากทั้งในและต่างประเทศ

 ดร.สัญชัย นิลสุวรรณโฆษิต “ความยากลำบากในการปฏิบัติตามแผนเพื่อบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน คือ การลดการใช้ถ่านหินหรือก๊าซธรรมชาติลงทำให้ต้นทุน ค่าไฟฟ้าแพงขึ้น การใช้อีวีและไฮโดรเจนต้องพัฒนาระบบเพื่อรองรับทั้งซัพพลายเชนต้องลงทุนค่อนข้างมากและใช้เวลา ส่วนการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์และพลังงานลมต้องใช้พื้นที่มากและต้องมีระบบแบตเตอรี่กักเก็บพลังงาน” ดร.นทีกูล เกรียงชัยพร “ความท้าทายของการเลือกใช้เทคโนโลยี SMR คือ เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ยังไม่มีการใช้อย่างแพร่หลาย ยังมีราคาแพง ความเชื่อมั่นในประสบการณ์ของผู้พัฒนาเทคโนโลยียังมีน้อย ประเทศไทยยังต้องการความรู้จากการวิจัยและพัฒนามาสนับสนุนอีกพอสมควร” ดร.ปานทิพย์ อัมพรรัตน์ “การนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ ปส. ต้องตรวจสอบความปลอดภัยก่อนอนุญาตให้ดำเนินการได้ เพื่อให้มั่นใจว่ามีความปลอดภัยตามมาตรฐานการป้องกันอันตรายของประชาชนและสิ่งแวดล้อม”

ข่าวสารเพิ่มเติม